Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62066
Title: ผลของการฝึกเตะเท้าที่มีต่อความเร็วในการว่ายน้ำแบบวัดวา
Other Titles: The effects of kicking practices on the speed of crawl stroke swimming
Authors: นิพนธ์ กิติกุล
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การว่ายน้ำ
Swimming
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะศึกษาผลของการฝึกเตะเท้า 3 แบบที่มีต่อความเร็วในการว่ายน้ำแบบวัดวาระยะทาง 50 เมตร และพัฒนาการด้านความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อขาและความยืดหยุ่นของข้อเท้า ดำเนินการวิจัยโดยใช้ตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นนิสิตชายระดับปริญญาตรี แผนกวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 56 คนแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น กลุ่มทดลอง 3 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันให้กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกเตะเท้าในแนวตั้ง โดยเตะเท้าแบบตัดสลับกันขึ้นลงและแบบปลาโลมา กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกเตะเท้าในแนวนอนโดยเตะเท้าแบบกบและแบบกรรไกร และกลุ่มทดลองที่ 3 ฝึกเตะเท้าในแนวตั้งผสมแนวนอน สำหรับกลุ่มควบคุมไม่มีการฝึก กลุ่มทดลองทำการฝึกเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ๆละ 4 วัน คือวันอังคาร พุธ พฤหัสบดีและศุกร์ ระหว่างเวลา 13.00 – 15.00 น. แต่ละกลุ่มฝึกเตะเท้าวันละ 20 ยกๆละ 30 วินาที พักระหว่างยกเป็นเวลา 30 วินาที ก่อนและหลังการฝึก (Pre – Post Test ) ทดสอบความเร็วในการว่ายน้ำแบบวัดวาระยะทาง 50 เมตร โดยการจับเวลา วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยไดนาโมมิเตอร์ ทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อขาด้วยสคว็อทจัมป์ วัดความยืดหยุ่นของข้อเท้าด้วยแบบวัดความยืดหยุ่นของข้อเท้าแบบประยุกต์และวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนด้วยการดึงข้อ เพื่อควบคุมผลการวิจัยที่อาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน อันเนื่องมาจากการเกาะขอบสระในการฝึกเตะเท้า นำข้อมูลที่ได้รับจากการทดสอบมาวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance ) ในกรณีที่ค่าเอฟ ( F ) มีนัยสำคัญทางสถิติ จะนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยค่าที ( t – test ) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเร็วในการว่ายน้ำแบบวัดวาระยะทาง 50 เมตรของกลุ่มทดลองทั้งสามไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 2 ) กลุ่มทดลองทั้งสามกลุ่มมีความเร็วในการว่ายน้ำแบบวัดวาระยะทาง 50 เมตร สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความยืดหยุ่นของข้อเท้าของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4 ) กลุ่มทดลองทั้งสามกลุ่มมีความอดทนของกล้ามเนื้อขาแตกต่างกัน กลุ่มทดลอง 1 มีคะแนนความอดทนของกล้ามเนื้อขาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ของกลุ่มทดลอง 3 สูงกว่ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และของกลุ่มทดลอง 3 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5 ) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การฝึกเตะเท้าทั้ง 3 แบบให้ความเร็วในการว่ายน้ำแบบวัดวาระยะทาง 50 เมตร และความอดทนของกล้ามเนื้อขาดีขึ้น แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความยืดหยุ่นของข้อเท้าและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the effects of kicking practices on the speed of fifty-metre crawl stroke swimming the development of static strength of the legs, and the muscular endurance of the leg and ankle flexibility. The fifty-six subjects were undergraduate students of the Department of Physical Education, the Faculty of Education, Chulalongkom University. They were divided into three experimental groups and one control group. The first experimental group practiced vertical kicking using the flutter and dolphin kicks. The second practiced horizontal kicking by the frog and scissors kicks. The third practiced both vertical and horizontal kicking. The control group got no practice. The period of practice covered four weeks with the following four days in each week :Tuesday, Wednesday, Thursday and Friday. Each experimental group practiced its own kicking types twenty sets per day. Each set lasted thirty-seconds, with a thirty-second rest period between sets. Before and after the period of practice, the speed of fifty-metre crawl stroke swimming, the static strength of the legs, the muscular endurance of the legs, and the ankle flexibility were measure. Moreover, pull ups were used as a control to-measure the strength of the arms. Analysis of covariance and the t-test were employed to analyze the data. The findings were : 1) The speed of fifty-metre crawl stroke swimming of the three experimental groups were improved. However, there were insignificant differences at the .01 level. 2) The three experimental groups achieved higher speed in fifty-metre crawl stroke swimming than the control group. This result was significant at the .01 level. 3) The static strength of the legs and ankle flexibility of both the experimental and the control. groups were insignificantly different. 4) The muscular endurance of the legs of the experimental and the control group were insignificantly different. The first experimental group demonstrated significant improvement exceeding the control group at the .05 level. The third experimental group demonstrated significant improvement exceeding the first and second experimental group at the .05 level. And the third experimental group also showed sig¬nificant improvement exceeding the control group at the .01level. 5) The strength of the arms of both the experimental and control groups were insignificantly different. In conclusion, the types of kicking improved the speed of fifty-metre crawl stroke swimming and the muscular endurance o£ the legs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62066
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipon_Ki_front.pdf911.93 kBAdobe PDFView/Open
Nipon_Ki_ch1.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Nipon_Ki_ch2.pdf821.87 kBAdobe PDFView/Open
Nipon_Ki_ch3.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Nipon_Ki_ch4.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Nipon_Ki_back.pdf997.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.