Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62143
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิศณุ ทรัพย์สมพล | - |
dc.contributor.author | เจนวิทย์ พงศ์จรรยานุกูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-06-19T07:48:00Z | - |
dc.date.available | 2019-06-19T07:48:00Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62143 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดให้ส่วนราชการถ่ายโอนภารกิจการดูแลสายทาง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เนื่องจากการขาดความสามารถ และความพร้อมในการดูแลงานทางของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดปัญหาด้านงานบำรุงรักษาทางในปัจจุบัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ปัญหาในการดำเนินงานบำรุงรักษาทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการงานบำรุงรักษาทางที่สอดคล้องกับปริมาณงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ และสอดคล้องกับข้อจำกัดของการดำเนินงานในปัจจุบัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับจำนวน 11 แห่ง พบว่าปัญหาในการดำเนินงานบำรุงรักษาทางในปัจจุบัน ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรเมื่อเทียบกับปริมาณงาน การขาดแคลนเทคนิคด้านงานบำรุงรักษาทาง (การจัดเก็บข้อมูล การสำรวจทาง การประเมินสภาพทาง และการเลือกวิธีการบำรุงรักษา) การขาดแคลนงบประมาณและเครื่องจักร การดำเนินงานภายในหน่วยงานช่าง (การวางแผนงานบำรุงรักษา การจัดทำรายงานเสนอผู้บริหาร ความรับผิดชอบต่อสายทาง) และการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของสายทาง นอกจากนี้ผลของแบบสอบถามจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด 35 แห่ง และเทศบาลนคร 10 แห่ง แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของปัญหาระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลนคร โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีจำนวนบุคลากรน้อย และอำนาจความรับผิดชอบด้านปริมาณสายทางและอาณาเขตความดูแลที่มีจำนวนมากกว่าเทศบาลนครผลการศึกษาปัญหา และวิธีการดำเนินงานด้านงานบำรุงรักษาทางได้ถูกนำมาวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดปัญหาโดยใช้แผนภาพแสดงเหตุและผล และนำรูปแบบของการจัดการงานบำรุงรักษาทางในอดีต และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยกระบวนการจัดการ โดยพัฒนาขึ้นเป็นแนวทางการจัดการงานบำรุงรักษาทางโดยประกอบไปด้วย6 องค์ประกอบ โดยแต่ละองค์ประกอบสามารถแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ (1) การจัดเก็บฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินงานในปัจจุบันในเรื่องข้อมูลกระจัดกระจายและสูญหาย (2) การสำรวจสภาพทาง และ (3) การประเมินสภาพความเสียหายเพื่อแก้ไขปัญหาบุคลากรมีจำนวนจำกัด และลดขั้นตอนในการทำงาน (4) การวิเคราะห์ทางเลือกในการซ่อมบำรุงเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการขาดแคลนเครื่องจักรและการเลือกวิธีการบำรุงรักษาให้เหมาะสมกับความเสียหาย (5) การวางแผนและตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหางบประมาณบำรุงรักษาไม่เพียงพอและช่วยจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และ (6) การปฏิบัติและตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาการวางแผนการบำรุงรักษาและติดตามผลการบำรุงรักษา แต่เนื่องจากความแตกต่างของปัญหาระหว่างองค์กร จึงทำให้องค์ประกอบด้านการสำรวจสภาพทาง และการประเมินสภาพความเสียหายแตกต่างกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีในการสำรวจสภาพทางมากกว่าเทศบาลนคร โดยวิธีการที่เหมาะสมกับเทศบาลนครคือ การสำรวจและประเมินสภาพทางด้วยสายตา เนื่องจากโครงข่ายสายทางที่อยู่ในความดูแลอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด จึงสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการจัดการดังกล่าวต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีและเทศบาลนครนนทบุรี เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พบว่าหน่วยงานทั้งสองเห็นด้วยกับแนวทางการจัดการและคิดว่าสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยแก้ไขเพียงรายละเอียดของวิธีการให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยเทศบาลนครนนทบุรีที่มีความเห็นเพิ่มเติมว่าขั้นตอนการวางแผนและตัดสินใจ และการปฏิบัติการและตรวจสอบยังไม่เหมาะสมในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานภายในที่รับผิดชอบเฉพาะงานบำรุงรักษาทาง อีกทั้งข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Act of Decentralized Planning Process B.E. 2542(1999) reinfores to transfer road maintenance responsibilities to the local governments. However, there are problems from the lack of ability and readiness to take care of the roads by local governments. Thus, the objective of the research is to analyze the problems by interview and questionnaire in order to propose guideline for managing the maintenance workload in responsibilities and consistent with the limitation of current operations. The conclusion form the interviews of 11 local governments at all levels can be drawn as a result of lack of staff with overwhelm workload, lack of technical in road maintenance (data collection, condition Inspection, performance analysis, and maintenance analysis), lack of funding and equipments, internal operations (planning and maintenance operation, report preparation, road supervision) and rapid deterioration of roads are the problems in current operations. Questionnaires results from 35 of Provincial Administrative Organizations (PAOs) and 10 of Municipalities showed the difference between two organizations. PAOs have staff less than Municipalities and they also have authority in territory more than Municipalities. The results from studying of problems and current maintenance operations have been analyzed by using Cause and Effect diagram. Then, the past pavement maintenance management systems and technology were used to solve the problems. In addition, a developed guideline was used which consists of 6 components as follows: (1) Database, which solves operational issues in the data collection, scattered and lost of information (2) Conditions Inspection and (3) Performance Analysis, which solve the lack of staff and reduce the work process (4) Maintenance Analysis, which solves the lack of machine and proper maintenance (5) System Planning, which solves the lack of funding and allocation of the limited budget (6) Implementation and Monitoring which solve planning and monitoring of maintenance process. Due to the difference of problems between two organizations, the composition of the Conditions Inspection and Performance Analysis are different. PAOs were found to be appropriate with inspection technology to examine the damage. However, since roads are limited to the area and taken care of thoroughly, the visual inspection is the best procedure for Municipalities. In addition, researcher proposes the guideline to Nontaburi PAO and Nontaburi Municipality to determine the feasibility in practice and had accepted the guidelines. However, Nontaburi Municipality realized that System Planning and Implementation with Monitoring are not appropriate in present because there is no responsible department for maintenance, and the complaints from the public must be the first priority. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | - |
dc.subject | Roads -- Maintenance and repair | - |
dc.title | แนวทางการจัดการงานบำรุงรักษาทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลนคร | en_US |
dc.title.alternative | A guideline of road maintenance management for provncial administratve organization and municipality | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wisanu.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
janewit_ph.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.