Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6232
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorเบญจมาภรณ์ วงษ์ไกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-03-13T01:29:10Z-
dc.date.available2008-03-13T01:29:10Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741739176-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6232-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะก่อนและหลัง ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัว และการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระหว่างกลุ่มที่ได้รับ โปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บ ที่ศีรษะระยะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท 1 ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท 2 และห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม อุบัติเหตุ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุม 20 คนและกลุ่มทดลอง 20 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่าง ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในด้านอายุของสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างสมาขิกในครอบครัวของผู้ป่วยกับผู้ป่วย และระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนความ ต้องการของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นจาก การทบทวน วรรณกรรมโดยดัดแปลงจากแนวคิดความต้องการของครอบครัวของ Daley (1984) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบวัดการปรับตัว ของ Derogatis (1986) ซึ่งได้ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 ท่าน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirmov test และสถิติทดสอบที่ (Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวมีการปรับตัวหลังการทดสองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.5 2. สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวมีการปรับตัวหลัง การทดลองสูงหว่าสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of the family needs supporting program on adjustment of family members of patients with traumatic brain injury. The sample consisted of 40 family members, and patients with traumatic brain injury admitted to the neurosurgery intensive care unit 1, neurosurgery intensive care unit 2, and trauma intensive care unit at Sappasittiprasong Hospital, Ubonrachatani province. Participants were selected into an experimental group and a control group. The groups were similar in age of family members, relationship between family members with traumatic brain injury patients, and level of consciousness of the patients. The experimental group received a family needs supporting program, while the control group received a conventional care. The research instruments were family needs supporting program developed based on family need concept (Daley, 1984). Instrument used were a demographic data form, and Psychosocial Adjustment to Illness Scale: PAIS (Derogatis, 1986). The instruments were tested for content validity by 8 experts. The reliability of the PAIS were .81. The data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, Kolmogorov-Smirnov test statistic and t-test statistic (Paired t-test and Independent t-test). Results were as follows: 1. The adjustment of family members of patients with traumatic brain injury receiving the family needs supporting program at posttest was significantly higher than that of pretest at the .05 level. 2. The adjustment of family members of patients with traumatic brain injury receiving the family needs supporting program at posttest was significantly higher than those who receiving a conventional care at the .05 level.en
dc.format.extent2538092 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.864-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครอบครัวen
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)en
dc.subjectศรีษะ -- บาดแผลและบาดเจ็บ -- ผู้ป่วยen
dc.titleผลของโปรแกรมการสนับสนุนความต้องการของครอบครัวต่อการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะen
dc.title.alternativeThe effect of family needs supporting program on adjustment of family members of patients with traumatic brain injuryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.864-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
benjamaporn.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.