Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62367
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย รัตนโกมุท-
dc.contributor.authorวราพรรณ ชิณวังโส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-07-08T03:34:44Z-
dc.date.available2019-07-08T03:34:44Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745790257-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62367-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แก่ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาปัจจัยที่กำหนดความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการในแต่ละสาขา โดยประยุกต์จากทฤษฏีอุปสงค์เครดิตใหม่ (New Demand for Credit Theory) เพื่ออธิบายถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความต้องการสินเชื่อ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 สาขา คือ สาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง สาขาการค้า สาขาสาธารณูปโภค สาขาบริการ และสาขาบริโภคส่วนบุคคล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา เป็นข้อมูลสินเชื่อแยกตามงานสาขาการผลิตที่ธนาคารพาณิชย์รายงานให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2521-2531 วิธีการที่นำมาใช้ศึกษาการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์คือ พิจารณาจากอัตราการขยายตัวของสินเชื่อ เทียบกับอัตราการขยายตัวของ GRP หรือพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนสินเชื่อ GRP ส่วนการศึกษาปัจจัยที่กำหนดความต้องการสินเชื่อใช้ข้อมูลจาก การออกแบบสอบถามผู้ประกอบการ และวิธีการทางเศรษฐมิติ ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ คือ วิธี Ordinary Least Square (OLS) จากการศึกษาพบว่า การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เน้นการให้สินเชื่อในสาขาเกษตร ซึ่งเป็นสาขาหลักของภาค ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย รองลงมาคือ สาขาการบริโภคส่วนบุคคล สาขาสาธารณูปโภค สาขาก่อสร้าง สาขาอุตสาหกรรม สาขาบริการ และสาขาการค้า ตามลำดับ สำหรับการศึกษาความต้องการสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ พบว่า ปัจจัยที่กำหนดความต้องการสินเชื่อคือ ระดับรายได้ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และระดับราคาสินค้า โดยแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายสมการได้ด้วยระดับนัยสำคัญที่แตกต่างกัน ส่วนสาขาอุตสาหกรรม ไม่สามารถใช้ตัวแปรเหล่านี้อธิบายได้ อาจเนื่องจากมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทั้ง 4 ดังกล่าว ที่มีอิทธิพลต่อความต้องการสินเชื่อ แต่ไม่ได้นำมาพิจารณาด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are two folds, one is to investigate the lending practice of the commercial banks in the North Eastern Region of Thailand. Another is to investigate factors determining the demand for credit in various economic sectors based on the new demand for credit theory. The study contains 7 important economic sectors, namely, agriculture, manufacturing, construction, wholesale and retail trade, public utilities, services and private consumption. The sectoral lending as reported by the commercial bank during B.E. 2521-B.E. 2531 was investigated together with other factors such as growth of credit, GRP growth and changes in the ratio of credit to GRP. The investigation of factors determining the demand for credit based on the information obtained from 836 questionnaires surveying during December 1990 and January 1991 and the ordinary least square method (OLS). It is found that the commercial banks lending concentrates it the agricultural sector complying the guideline given by the Bank of Thailand. This is followed by private consumption, public utilities, construction, manufacturing, service, and wholesale and retail trade, respectively. For most of the sectors except manufacturing, it was found that income level, the expense or cost of production, the borrowing rate and the product price determine the demand for credit at different levels of significant. The result is not hold for the case of manufacturing sector, i.e. other unknown dominating factor was not taken into consideration.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสินเชื่อ-
dc.subjectธนาคารพาณิชย์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
dc.subjectCredit-
dc.titleพฤติกรรมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : วิเคราะห์รายสาขาการผลิต-
dc.title.alternativeBehavior of commercial banks'credit extension in the northeast region : a sectoral analysis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warapan_ch_front_p.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_ch1_p.pdf8.26 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_ch2_p.pdf12.87 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_ch3_p.pdf12.09 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_ch4_p.pdf20.11 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_ch5_p.pdf11.33 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_ch6_p.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Warapan_ch_back_p.pdf33.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.