Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-07-08T08:07:35Z-
dc.date.available2019-07-08T08:07:35Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745824798-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62377-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนในการพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปีกกระดูกสันหลังต่อระดับความวิตกกังวลและแบบแผนการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด ตัวอย่างประชากรประกอบด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปีกกระดูกสันหลัง จำนวน 32 คน จัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการจับคู่ ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ทั้งในขณะที่อยู่ที่หอผู้ป่วยและขณะรอผ่าตัดที่ห้องผ่าตัดตามแผนการพยาบาลที่ได้สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย แบบประเมินสภาพผู้ป่วยและแผนการทดลองผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปีกกระดูกสันหลังตามทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน แบบวัดความวิตกกังวล แบบสังเกตพฤติกรรมที่พบบ่อยในผู้ที่มีความวิตกกังวล และแบบวัดแบบแผนการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดซึ่งประกอบด้วย แบบการวัดการเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบวัดการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเอง และแบบวัดความเจ็บปวด ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลหลังการทดลองในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนความวิตกกังวลก่อนและหลังผ่าตัดของตัวอย่างประชากรในกลุ่มทดลองสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนความวิตกกังวลก่อนและหลังผ่าตัด ของตัวอย่างประชากรในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบแผนการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด ในด้านความเจ็บปวดในวันที่ 3 หลังผ่าตัดของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบแผนการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดด้านการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบแผนการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดด้านอื่นๆ ของตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi experimental research was to identify the effects of the use of Neuman’s nursing theory in preoperative nursing care of laminectomy patients on anxiety level and recovery patterns after operation. The research samples consisted of 32 laminectomy patients selected by purposive sampling and assigned to one experimental group and one control group by matched pair technique. The experimental group received the planned preoperative nursing care, including preoperative visit and supportive care in the waiting area. Research instruments, developed by the researcher, were the assessment form and nursing care plan, an anxiety questionnaire and check list, and a tool to measure recovery patterns. Mean, standard deviation and t-test were used in analyzing the gathered data. Major findings were as followes : 1. The mean score of postoperative anxiety of the experimental group after receiving preoperative nursing care as planned, was significantly lower than the preoperative anxiety, at the .05 level. 2. The mean of gain score of anxiety of the experimental group was significantly higher than that of the control group, at the .05 level. 3. Recovery patterns in the aspect of pain in the 3rd day after surgery of the experimental group was significantly lower than that of the control group, whereas, that in the aspect of self care was significantly higher, at the .05 level. There is no significant difference between the recovery patterns of the experimental group and the control group in the remaining aspects.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectแบบจำลองทางการพยาบาล-
dc.subjectแบบจำลองระบบนิวแมน-
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแล-
dc.subjectNursing models-
dc.subjectNeuman systems model-
dc.subjectCare of the sick-
dc.titleผลของการใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ในการพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปีกกระดูกสันหลัง ต่อระดับความวิตกกังวลและแบบแผนการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด-
dc.title.alternativeEffects of the use of neuman's nursing theory in preoperative nursing care of laminectomy patients on anxiety level and recovery patterns after operation-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาล-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_cha_front_p.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_cha_ch1_p.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_cha_ch2_p.pdf16.49 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_cha_ch3_p.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_cha_ch4_p.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_cha_ch5_p.pdf11.69 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_cha_back_p.pdf10.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.