Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณศิลป์ พีรพันธุ์-
dc.contributor.authorวิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-07-18T03:52:04Z-
dc.date.available2019-07-18T03:52:04Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62457-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528-
dc.description.abstractกลยุทธสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยปัจจุบันก็คือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพราะในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนปีละมากๆ จนกระทั่งเป็นตัวทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่งสูงกว่าข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล และสินค้าส่งที่สำคัญอื่นๆ นอกจากนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังก่อให้เกิดการลงทุนในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ในประเทศ จะเห็นได้ว่ามีจังหวัดในภูมิภาคหลายจังหวัดที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะผลพวงจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ดังนั้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) จึงได้มีนโยบายและเป้าหมายมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เพื่อหาเงินตราต่างประเทศมาแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของประเทศที่กำลังประสบอยู่ จังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศได้พยายามบรรจุการพัฒนการท่องเที่ยวลงในแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และถือเป็นกลยุทธสำคัญในการพัฒนาความเจริญของจังหวัดด้วย ในกรณีภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคที่สำคัญ นับวันตลาดการท่องเที่ยวที่กำลังเจริญเติบโตก็จะขยายตัวออกไปสู่บริเวณรอบนอกเพิ่มมากขึ้น จังหวัดลำปาง-ลำพูน ซึ่งนับเป็นจังหวัดที่ตั้งใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด จึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดการท่องเที่ยวจะกระจายเข้าไปถึง เพราะในพื้นที่ของจังหวัดลำปาง-ลำพูนมีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ ครบถ้วนในลักษณะเดียวกับจังหวัดเชียงใหม่ จึงควรมีการดำเนินการพัฒนการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง-ลำพูนอย่างจริงจังขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตลาดการท่องเที่ยวดังกล่าว จากการศึกษาเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง-ลำพูนในประเด็นสำคัญๆ ได้แก่ การศึกษาสภาพทั่วไปทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และประชากร การศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาตลาดการท่องเที่ยว การศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยว และการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว สรุปสถานการณ์โดยทั่วไปของจังหวัดลำปาง-ลำพูนจะสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์และสังคมเป็นจังหวัดเอกลักษณ์ของภาคเหนือตอนบนหรือที่เรียกว่า เป็นจังหวัดในกลุ่มลานนาไทย มีที่ตั้งและสะดวกต่อการคมนาคม สามารถเลือกเส้นทางและรูปแบบการคมนาคมตามแต่ระดับของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้มีโครงสร้างพื้นฐานบริการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ในบริเวณศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดได้แก่ ตัวอำเภอเมืองลำปาง อำเภอเมืองลำพูน และอำเภอป่าชาง แต่ที่สามารถรองรับการพักแรมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ก็เฉพาะที่ตัวอำเภอเมืองลำปาง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของจังหวัดลำปาง-ลำพูนเป็นชาวไทยร้อยละ 88 และเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 12 วันพักเฉลี่ยเพียง 1 วัน นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 78 มาจากกรุงเทพฯ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากกลุ่มยุโรปและอเมริกาเหนือ กับประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์เล็กน้อย สิ่งดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ก็คือแหล่งท่องเที่ยวที่แสดงออกทางศิลปและวัฒนธรรมของภาคเหนือ ในด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว จังหวัดลำปาง-ลำพูนมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีการเข้าถึงแล้วและพอเป็นที่รู้จักเป็นจำนวน 42 แห่ง แยกเป็นประเภทธรรมชาติ 12 แห่ง ประเภทประวัติศาสตร์และศาสนา 20 แห่ง ประเภทวิถีชีวิตและวัฒธรรมประเพณี 10 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทั้ง 3 ประเภท กระจายอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูนในสัดส่วนเท่าๆ กัน ลักษณะเด่นของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง-ลำพูนจึงเป็นลักษณะทางศิลปวัฒนธรรม จากการศึกษาประเมินค่าความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวโดยพิจารณาจากค่าตัวแปร 6 ประการ ได้แก่ การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อม ข้อจำกัดในการรับนักท่องเที่ยว ความมีชื่อเสียง และคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว แล้วจัดการแบ่งกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มศักยภาพทางการพัฒนาสูง กลุ่มศักยภาพการพัฒนาปานกลาง และกลุ่มศักยภาพทางการพัฒนาต่ำ พร้อมทั้งพิจารณาการเกาะกลุ่มของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จริง จะพบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพทางการพัฒนาสูงและปานกลาง จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกาะกลุ่มอยู่ในอำเภอเมืองและอำเภอใกล้เคียง ส่วนแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพทางการพัฒนาต่ำจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ในอำเภอรอบนอกที่ห่างไกลตัวเมืองออกไป จากผลการศึกษาในด้านต่างๆ สามารถเสนอแนะแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง-ลำพูน โดยแบ่งพื้นที่การพัฒนาเป็น 4 กลุ่ม และดำเนินการพัฒนาเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะแรกใช้เวลา 5 ปี เร่งพัฒนาแลห่งท่องเที่ยว 2 กลุ่มแรก คือ กลุ่มอำเภอเมืองลำปางและอำเภอใกล้เคียงรอบนอก และกลุ่มอำเภอเมืองลำพูนและอำเภอใกล้เคียงรอบนอก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์สามารถรองรับการขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนบน และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ระยะที่ 2 ใช้เวลา 10 ปี พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2 กลุ่มหลัง คือ กลุ่มอำเภอแจ้ห่ม-เมืองปาน-วังเหนือ และกลุ่มอำเภอบ้านโฮ่ง-ลี้ โดยในระยะ 5 ปีแรกเป็นการควบคุมและป้องกันไม่ให้เสื่อมโทรม และสำรวจหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ในกลุ่ม แล้วในช่วงระยะ 5 ปีหลังเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายของตลาดการท่องเที่ยวจากแหล่งท่องเที่ยว 2 กลุ่มแรก แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางจะดำเนินไปพร้อมกันในหลายด้าน อาทิ การพัฒนาตัวแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาการบริการการท่องเที่ยว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว การส่งเสริมการผลิตสินค้าของที่ระลึก การจัดงานเทศกาลประเพณีเพื่อดึงดูดทางการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ทั้งนี้มีเป้าหมายนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลัก และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเป็นเป้าหมายรอง พร้อมทั้งให้มีการเพิ่มวันพักแรมและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้การพัฒนาจะต้องไม่เกิดผลกระทบด้านลบแก่สภาพสังคมและเศรษฐกิจของท้องถิ่น และยึดหลักการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมเป็นสำคัญ-
dc.description.abstractalternativeThe important strategy employed in economic development in Thailand nowadays is tourism industry promotion. Since last decade tourism industry has proved that it actually brings high revenue into the country. Obviously in the year 1982-1983 tourism ranked first among the other major exports such as rice, rubber, tapioca, sugar etc. Tourism industry initiated investment in tourist enterprises as well as other businesses involved. It also helped create jobs in household industry and results are distribution of revenue among different levels of people. Many provinces has grown up rapidly due the development of tourism industry. Realizing the importance of touring, the government of Thailand mapped out the strategy by including the tourism development plan into the fifth master plan on economic and social development (A.D.1982-1986). It clearly stated in the plan that the government aimed to promote tourism as a means to induce more foreign currency into the country. By doing so it will help counter-balance almost all over the country tried to insert tourism development plan into the provincial development plan, in accordance with the master plan on economic and social development. In northern region, Chiangmai has now become the central city of tourism attraction and the trend of tourism markets is likely to spread and encircle the nearly provinces, like Lampang and Lamphun. And since these two provinces are endowed with tourism resources similar to Chiangmai, the mapping out of tourism plan should be made in advance to ascertain the right and proper development. Preliminary study for tourism development in Lampang and Lamphun provinces specified the general study of the following major factors. - General study on physiography, economy, society and demography. - Study on infra-structure. - Study on tourist markets, tourist assets and the proposal of guidelines in tourism development. Lampang and Lamphun have high tourism potential, suitable to be developed as (new) tourism province. They have not only outstanding cultural heritage known as "Lanna Culture", but also beautiful natural scenery and pleasant climate all year round. The two provinces are well provided with tourism infra-structure and can be conveniently accessed by all kinds of transportations. In the city of Lampang located some tourist-class hotels which can provide good accommodations for both Thai and foreign tourists. Tourists traveling to Lampang and Lamphun are mostly Thai which represent 88% of the total and foreigners represent 12% Both Thai and foreigner tourists have 1 day average length of stay. 78% of Thai tourists came from Bangkok, while the foreign tourist came mostly from Europe, North America, Japan and few from Singapore. The provinces' attractions that highly induced both Thai and foreigner tourists are unique cultural attractions of upper-northern region. There are 42 accessible tourist attractions in Lampang and Lamphun, classified as 12 natural attractions, 20 historical and religious attractions and 10 cultural attractions. These attractions are scatterly and equally located in both Lampang and Lamphun provinces. From the study, evaluations are made on the importance of tourist attraction, based on 6 variable factors : accessibility, tourism facility, environment, limitation of tourist accommodation, the awareness of tourists towards the provinces and the value of tourist assets. The study classified tourist attractions into 3 main groups as follows. - Attractions with high potential for tourism development. - Attractions with medium potential for tourism development. - Attraction with low potential for tourism development. The study reveals that the groups with high and medium potential for tourism development are found in the area of Amphoe Muang and near-by Amphoes. While the group of low potential are located in different places of the outer Amphoes, rather for from the cities. From the results of the study, strategy for tourism development in Lampang and Lamphun provinces, can be proposed as such: - Divide the are to be developed into 4 groups. - Divide the process of development into 2 phases. Phase I which is a 5-year duration aiming at the first development of two first groups of tourist attractions: the group located in Amphoe Muang Lampang - the near-by Amphoes and the group located in Amphoe Muang Lamphun - the near-by Amphoes, These two groups of attractions to be developed as supporting attractions to the expansion of upper-northern tourist market. Phase II A 10-year duration, aiming at fast development of the two latter groups of tourist attractions. They are the group of Amphoe Chae Hom - Muang Pan - Wang Nua and the group of Amphoe Ban Hong - Li. During the first 5 years, stress will be no conservation of tourist attractions from devastation. The latter 5 year will be the fast development on tourist attractions. And again these attractions are to be served as supporting tourist sites for the expansion of tourist markets of the first two groups. Tourism development in Lampang - Lamphun provinces are to be conducted in accordance with other aspects, such as development of tourist attractions, of tourist facilities, of tourist infra-structure, moreover promotion on souvenir productions, on festival and cultural activities and on public relations will also be boosted. The development of tourism in this area aims primarily to promote domestic tourism which tourist market are mostly composed of Thai people It also intends to increase the tourists length of stay as well as their consumption expenditures. Apart from this, the development of tourism must be executed on the basis that it must not generate any unfavorable effects to the economy and society of local people. And the development must be held to the principle of natural and cultural conservation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจ-
dc.subjectลำปาง -- ภูมิประเทศ -- นำเที่ยว-
dc.subjectลำพูน -- ภูมิประเทศ -- นำเที่ยว-
dc.titleการศึกษาเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง-ลำพูน-
dc.title.alternativePreliminary study for tourism development in Lampang-Lamphun-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwatchai_bo_front_p.pdf9.76 MBAdobe PDFView/Open
Wiwatchai_bo_ch1_p.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open
Wiwatchai_bo_ch2_p.pdf47.17 MBAdobe PDFView/Open
Wiwatchai_bo_ch3_p.pdf18.04 MBAdobe PDFView/Open
Wiwatchai_bo_ch4_p.pdf22.49 MBAdobe PDFView/Open
Wiwatchai_bo_ch5_p.pdf37.59 MBAdobe PDFView/Open
Wiwatchai_bo_back_p.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.