Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62513
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์-
dc.contributor.authorศักดิ์สิทธิ์ ลิมกุลาคมน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-07-23T03:35:00Z-
dc.date.available2019-07-23T03:35:00Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745796727-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62513-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์กลวิธีการใช้คำในภาษาโฆษณาของไทยทางสื่อโทรทัศน์และนิตยสาร และเปรียบเทียบกลวิธีเหล่านั้นในสื่อ 2 ชนิดดังกล่าว ในการวิจัย ผู้วิจัยใช้ข้อมูลโฆษณาทางโทรทัศน์จำนวน 120 เรื่อง และโฆษณาทางนิตยสาร จำนวน 120 เรื่องของสินค้าเดียวกัน ซึ่งเป็นโฆษณาสินค้าทั่วๆไป ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2530-31 ธันวาคม 2532 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้เขียนคำโฆษณามีกลวิธีการใช้คำในภาษาโฆษณาต่างๆกันหลายวิธี ได้แก่ การใช้คำสัมผัส พบว่ามีการใช้สัมผัส 2 ชนิด คือ สัมผัสสระและสัมผัสพยั[ญ]ชนะ ซึ่งทำให้ภาษาโฆษณามีลักษณะเป็นร้อยแก้วที่มีสัมผัส การซ้ำรูปคำมี 3 ชนิด คือ ซ้ำคำทันที ซ้ำคำที่คั่นด้วยคำ และซ้ำคำที่คั่นด้วยการหยุด การใช้คำแสลงมี 2 ชนิด คือ สแลงแท้ และสแลงไม่แท้ การใช้คำต่างประเทศ และการใช้คำที่มีความหมายไม่สอดคล้องกัน กลวิธีเหล่านี้ทำให้ภาษาโฆษณาน่าสนใจและจดจำง่าย เพราะลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากภาษาปกติ จากการเปรียบเทียบกลวิธีเหล่านี้ในสื่อ 2 ชนิดดังกล่าว พบว่าไม่ว่าจะพิจารณาโดยรวมกลวิธีทุกชนิดหรือแยกพิจารณาทีละชนิด ความถี่ในการใช้มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นการใช้คำต่างประเทศเท่านั้นที่โฆษณาทางนิตยสารใช้มากกว่าทางโทรทัศน์ เพราะโฆษณาทางโทรทัศน์ถูกจำกัดการใช้คำต่างประเทศ โดยข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบอีกว่า การใช้คำในภาษาโฆษณาในสื่อโทรทัศน์มิได้แปรตามประเภทของสินค้าที่โฆษณา แต่ในสื่อนิตยสารกลวิธีการใช้คำส่วนใหญ่แปรตามประเภทของสินค้าที่โฆษณา ซึ่งได้แก่ การใช้คำสัมผัส การซ้ำรูปคำและการใช้คำต่างประเทศ ส่วนกลวิธีในนิตยสารที่ไม่แปรตามประเภทของสินค้า คือ การใช้คำสแลง และการใช้คำที่มีความหมายไม่สอดคล้องกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to analyze strategies of word use in Thai in television and magazine advertising and to compare the strategies in both media. The analysis is based on 120 television commercials and 120 magazine advertisements of the same products dated from January 1, 1987 to December 31, 1989. The results reveal that in creating a copy, the copywriter uses several various linguistics strategies; namely rhyming, which is divided into two types: rhyme and alliteration; repetition, which is classified into three types : immediate repetition of word, word-block repetition, and repetition interrupted by a pause; slang usage divided into slang proper and slang by context; use of foreign words; and incongruity of collocative meaning. All these strategies make the Thai advertising language deviate from the normal variety of Thai. In comparing the use of the strategies, either altogether or one by one, it is found that there is no statistical difference among the frequencies of strategies used in the two media, with only exception, i.e. the use of foreign words, which occurs more in magazine advertising than in television advertising. This may be because using foreign words in the TV commercials is limited by the Board of Radio and Television Administration. In addition, it is found that the language in the TV commercials does not vary according to the kind of product advertised. However, in the magazing advertising, most of the strategies, i.e. rhyming, repetition, and the use of foreign words, vary according to kind of products advertised. The strategies which do not vary according to the kind of products advertised in magazine are slang usage and incongruity of collocative meaning.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโฆษณาทางโทรทัศน์ -- ไทย-
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษา-
dc.subjectภาษาไทย -- คำและวลี-
dc.subjectโฆษณาทางวารสาร -- ไทย-
dc.subjectTelevision advertising -- Thailand-
dc.subjectThai language -- Terms and phrases-
dc.subjectThai language -- Usage-
dc.subjectAdvertising, Magazine -- Thailand-
dc.titleกลวิธีการใช้คำในภาษาโฆษณาภาษาไทยทางโทรทัศน์และนิตยสารไทย-
dc.title.alternativeStrategies of word use in Thai in television and magazine advertising-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saksith_li_front_p.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Saksith_li_ch1_p.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Saksith_li_ch2_p.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open
Saksith_li_ch3_p.pdf9.04 MBAdobe PDFView/Open
Saksith_li_ch4_p.pdf8.7 MBAdobe PDFView/Open
Saksith_li_ch5_p.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Saksith_li_back_p.pdf9.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.