Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62537
Title: สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของแบคทีเรียชอบเค็ม ที่ผลิตโปรติเอส
Other Titles: Optimal conditions for growth of protease-producting halophilic Bacteria
Authors: ศิริเพ็ญ เวชชการัณย์
Advisors: ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แบคทีเรียชอบเค็ม
เอนไซม์โปรติเอส
อาหารเลี้ยงเชื้อ
การหมัก
น้ำปลา -- การผลิต
Halophilic microorganisms
Proteolytic enzymes
Culture media (Biology)
Fermentation
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการลดระยะเวลาหมักเพื่อผลิตน้ำปลา อาจเติมแบคทีเรียชอบเค็มที่ผลิตโปรติเอสที่มีแอคติวิตีสูงลงในถังหมัก ได้แยกแบคทีเรียชอบเค็มสูง 13 ไอโซเลท จากถังหมักน้ำปลาหลังการหมัก 2 เดือน เป็นเชื้อที่ผลิตทั้งเอนไซม์เคซิเนสและเจลลาทินเนสบนอาหารวุ้นมีเดียม 73 ทึ่ความเข้มข้นโซเดียมคลอไรด์ 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 5 ไอโซเลท มีเพียง 1 ไอโซเลท คือแบคทีเรียชอบเค็มหมายเลข 8 ที่ผลิตเอนไซม์เคซิเนสในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว แบคทีเรียนี้เจริญได้ดีและผลิตโปรติเอสในรูปเคซิเนสที่มีแอคติวิตีสูงในอาหารเลี้ยงเชื้อมีเดียม 73 ที่ความเข้มข้นโซเดียมคลอไรด์ 25 เปอร์เซ็นต์ ผลการแปรชนิดและความเข้มข้นของแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนพบว่า แบคทีเรียชอบเค็มหมายเลข 8 ต้องการแหล่งไนโตรเจนอื่น เพิ่มเติมจากเจลลาทิน เช่น กรดแคสอะมิโน, ผงสกัดจากยีสต์ หรือแอมโมเนียมคลอไรด์ เมื่อเติมแหล่งไนโตรเจนเหล่านี้ลงในมีเดียม 73 ที่มีเจลลาทิน 0.5 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่าแอมโมเนียมคลอไรด์ทำให้การเจริญลดลง แต่โปรติเอสแอคติวิตีใกล้เคียงกับเมื่อเติมกรดแคสอะมิโน หรือผงสกัดจากยีสต์ที่ความเข้มข้นเดียวกัน ผลการทดลองนี้แสดงว่าแอมโมเนียมคลอไรด์เพิ่มแอคติวิตีของโปรติเอส หลังจากแปรชนิดและความเข้มข้นของแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจน, เกลือแร่, ความเป็นกรดด่างเริ่มต้นและอุณหภูมิพบว่า อาหารเลี้ยงเชื่อที่เหมาะสมที่จะทำให้แบคทีเรียชอบเค็มหมายเลข 8 เจริญได้ใกล้เคียงและผลิตโปรติเอสได้สูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับคอนโทรล (มีเดียม 73) ประกอบด้วย เจลลาทิน 1.0 เปอร์เซ็นต์ กรดแคสอะมิโน 0.05 เปอร์เซ็นต์ แอมโมเนียมคลอไรด์ 0.05 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมคลอไรด์ 25 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียมคลอไรด์ 0.5 เปอร์เซ็นต์และแคลเซียมคลอไรด์ 0.02 เปอร์เซ็นต์ pH 7.0 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส กลูโคสทำให้แบคทีเรียเจริญและมีแอคติวิตีน้อยกว่าเจลลาทิน ผลการทดลองพบว่าโปรติเอสของแบคทีเรียนี้เป็นอัลคาไลด์โปรติเอส มีแอคติวิตีสูงสุดที่ pH 8.0-9.0 จากการจัดจำแนกแบคทีเรียชอบเค็มหมายเลข 8 นี้พบว่ามีสมบัติใกล้เคียงกับแบคทีเรียในกลุ่ม Halobacterium แบคทีเรียนี้มีรูปร่างเป็นแท่ง โคโลนีกลม โปร่งแสงและมีสีชมพู ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน แสดงให้เห็นถึงผนังเซลล์มีลักษณะหยัก มีเยื่อหุ้มเซลล์เมมเบรน นิวคลีโอพลาสึมและออร์กาแนลลักษณะเป็นแถบทึบอิเล็คตรอน
Other Abstract: In order to reduce the fermentation time required for the production of fish sauce, halophilic bacteria with proteolytic activity may be added into the fermentor. Thirteen isolates of halophilic bacteria were isolated from a fermentor after a two-month fish sauce fermentation. Of the five isolates which were found to produce both the gelatinase and caseinase enzymes on an agar medium only one isolate (halophilic bacteria number 8) was found to produce caseinase in liquid culture. This bacterial isolate grew well and exhibited high protease in the form of caseinase activity in liquid culture (medium 73) at 25 per cent sodium chloride concentration. The results of the variations in the types and concentrations of carbon and nitrogen sources revealed that halophilic bacteria number 8 required supplementary nitrogen sources in addition to gelatin. When a supplementary nitrogen source such as cas-amino acids or yeast extract or ammonium chloride was added to medium 73 with 0.5 per cent gelatin, the results showed that the availability of ammonium chloride led to a lower extent of growth but the same extent of proteolytic activity when compared with the same concentrations of the other two organic nitrogen sources. These results suggested that ammonium chloride increased the proteolytic activity. After the variations in the types and concentrations of carbon and nitrogen sources, mineral salts, initial pHs, and experimental temperatures it was found that a suitable medium which yielded comparable growth but significantly higher proteolytic activity for the halophilic bacterial isolate number 8 when compared to the control (medium 73) was 1.0 per cent gelatin, 0.05 per cent cas-amino acids, 0.05 per cent ammonium chloride, 25 per cent sodium chloride, 0.5 per cent potassium chloride and 0.02 per cent calcium chloride, pH 7.0, growth temperature 37 ◦C. Glucose was found to yield less growth and proteolytic activity when compared to gelatin. The protease of this bacterium was found to be an alkaline protease which exhibited maximum activity at pH 8.0-9.0. This halophile was tentatively identified as Halobacterium sp. It was rod-shaped with round, transparent and pink colonies. Electron micrographs showed wavy cell wall with cell membrane, nucleoplasm and a striated electron-dense organelle.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62537
ISBN: 9745772445
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siripen_ve_front_p.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_ve_ch1_p.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_ve_ch2_p.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_ve_ch3_p.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_ve_ch4_p.pdf15.76 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_ve_ch5_p.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_ve_back_p.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.