Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62654
Title: การเปรียบเทียบตัวสถิติสำหรับทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน
Other Titles: Comparison of the test statistics for homogeneity of variances
Authors: วินัย โพธิ์สุวรรณ์
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ความน่าจะเป็น
Analysis of variance
Probabilities
Homoscedasticity
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตัวสถิติสำหรับทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวนของประชากรสามกลุ่ม และสี่กลุ่ม โดยใช้ตัวสถิติทดสอบบาร์ตเลต สถิติทดสอบโอบรีนและสถิติทดสอบสแควร์แรงค์ จะศึกษาถึงความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจของการทดสอบของสถิติทดสอบทั้งสามประเภท เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเหมือนกัน และเมื่อบางกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่ไม่ใช่การแจกแจงแบบปกติขนาดตัวอย่างเท่ากัน และขนาดตัวอย่างไม่เท่ากัน เมื่ออัตราส่วนของความแปรปรวนต่าง ๆ กันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 การทดลองโดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลซึ่งกระทำซ้ำ 1,000 ครั้ง ในแต่ละกรณี ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. เมื่อกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติ สถิติทดสอบทั้งสามประเภทสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้เท่า ๆ กัน เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล สถิติทดสอบโอบรีนเท่านั้นที่สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบที สถิติทดสอบโอบรีนและสถิติทดสอบสแควร์แรงค์สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ดีกว่าสถิติทดสอบบาร์ตเลต 2. เมื่อกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติและมีบางกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบไวบูลล์ สถิติทดสอบทั้งสามประเภทสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้เท่า ๆ กัน แต่ถ้ากลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติและ[มี]บางกลุ่มสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล หรือการแจกแจงแบบที สถิติทดสอบโอบรีนสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้มากกว่าสถิติทดสอบบาร์เลตและสถิติทดสอบสแควร์แรงค์3. อำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบขึ้นอยู่กับ อัตราส่วนความแปรปรวนของประชากรเป็นอันดับแรก และรองลงมาคือการแจกแจงของประชากร และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามลำดับ 4. เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ สถิติทดสอบบาร์ตเลตมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือสถิติทดสอบโอบรีนและสถิติทดสอบสแควร์เรงค์ ตามลำดับ เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล หรือ ที สถิติทดสอบโอบรีนจะมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือสถิติทดสอบสแควร์แรงค์ เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบไวบูลล์ และขนาดตัวอย่างเท่ากัน สถิติทดสอบสแควร์แรงค์จะมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือสถิติทดสอบโอบรีน และบาร์เลต แต่ถ้าขนาดตัวอย่างไม่เท่ากัน สถิติทดสอบบาร์เลตจะมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด 5. ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติและมีบางกลุ่มตัวอย่างมีการแจกแจงเอกซ์โปเนนเชียล หรือ ที สถิติทดสอบโอบรีนจะมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด แต่ถ้ามีบางกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบไวบูลล์ สถิติทดสอบบาร์ตเลตจะมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือสถิติทดสอบโอบรีน ดังนั้นในการเลือกสถิติทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวนเมื่อทราบลักษณะการแจกแจงของประชากรแน่ชัดก็เลือกสถิติทดสอบตามผลข้างต้นนี้ แต่ถ้าไม่ทราบลักษณะการแจกแจงของประชากรอย่างแน่ชัดควรเลือกใช้สถิติทดสอบโอบรีน
Other Abstract: The purpose of this research is to study the probability of type I error and the power of the test statistics for homogeneity of variances of three and four populations by using Bartlett’s test, O’Brien’s test and Squared Rank test when all samples were taken from the same parent distributions and some samples were taken from different one. Equal and unequal sample sizes were studied at 0.01 and 0.05 significance level with difference variance ratio. Data for the study were generated by using the Monte Carlo technique. Each condition was replicates 1,000 times. Results of the study are as follow:- 1. O’Brien’s test, Bartlett’s test and Squared Rank test had probability of type I error closed to the 0.01 and 0.05 significance levels for the normal distribution. For many cases of the nonnormal distribution O’Brien’s test could control the probability of type I error while the other tests could not. 2. When some samples were taken from the normal and only one sample was taken from Weibull distribution, all three tests could control the probability of type I error. The power of Bartlett’s test was found to be higher than other tests. 3. When some samples were taken from the normal and only one sample was taken from exponential distribution or t-distribution O’Brien’s test and Squared Rank test could control the probability of type I error. The power of O’Brien’s test was a little higher than the power of Squared Rank test. 4. The power of the test depended on the variance ratio, distribution of the population and sample sizes respectively. 5. The power of Bartlett’s test was found to be generally high in the cases of normal distribution. The power of O’Brien test was found to be generally higher than others in the case of nonnormal distribution.Consequently, when the distribution of population is known, the test should be followed from the results above. If the distribution of population is not known, the O’Brien test should be chosen.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62654
ISBN: 9745790788
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winai_Bo_front.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Bo_ch1.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Bo_ch2.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Bo_ch3.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Bo_ch4.pdf21.07 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Bo_ch5.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Bo_back.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.