Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62674
Title: การออกแบบและสร้างแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับหัววัดรังสีเอกซ์
Other Titles: Design and construction of a high voltage power supply for x-ray detectors
Authors: วิบูลย์ ลีฬหาพัฒนาเลิศ
Advisors: วิรุฬห์ มังคละวิรัช
สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: หัววัดรังสีเอกซ์
แหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง
วงจรทวีความต่างศักย์
เครื่องวัดนิวเคลียร์
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ คือ การพัฒนาแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง โดยใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่หาซื้อได้ง่ายในประเทศ และมีเสถียรภาพพอที่นำไปใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงให้กับหัววัดรังสี เช่น หัววัดแบบพรอพอร์ชันแนล (proportional detector) หัววัดรังสีแบบซินทิลเลชัน (scintillation detector) แหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงที่ออกแบบขึ้นนี้ ใช้หลักการกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงแบบดริเวณ ไทป์ ดีซี ทู เอซี คอนเวอเตอร์ (driven type DC to AC converter) ความถี่ 10 กิโลเฮิรตซ์และทวีศักดาขึ้นเป็นสองเท่า การปรับศักดาไฟฟ้าแรงสูง ในช่วง 0 ถึง 3000 โวลต์ และควบคุมให้ศักดาทางออกคงที่ตามค่าที่ตั้งไว้ ทำงานแบบสวิตชิง ระบบพัลล์วิดมอดูเลอเตอร์ สามารถจ่ายกระแสได้สูงสุด 5 มิลลิแอมแปร์ จากการทดสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง พบว่าการใช้ระบบควบคุมศักดาค่าคงที่แบบสวิตชิงให้ประสิทธิภาพ 77% แต่การควบคุมศักดาทางออกให้คงที่ ที่ต้องการแปรเปลี่ยนค่าในช่วงกว้าง จะมีเสถียรภาพไม่ดีและขณะเปลี่ยนศักดาไฟฟ้าแต่ละครั้งจะเกิดทรานเชียนซ์สูง เครื่องที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นนี้มีแรงดันระลอกคลื่นถึง 45 มิลลิโวลต์ ในการใช้งานนั้นถ้าเลือกช่วงใช้งานให้แคบลง และปรับค่าวงจรชดเชยกระแสของสวิ-ตชิงให้เหมาะกับช่วงนั้นจะให้ผลการทำงานที่ดี
Other Abstract: The objective of the thesis is to develop a high voltage power supply utilizing electronic parts mainly available locally. The development should provide stable output voltage suitable for radiation detectors like proportional and scintillation detectors. The circuit of the power supply is based on a driven type DC to AC converter operated at 10 kHz with a voltage doubler at the output. The high voltage output is adjustable within the range of 0 to 3000 V and regulated by a switching pulse-width modulation circuit yielding a maximum output current of 5 mA. Performance test of the power supply shows an efficiency of 77%. However, voltage regulation is rather poor owing to too wide output range and large transient occurs at the change of voltage setting. Voltage ripple of 45 mV exists at full load presenting a severe drawback of the circuit. It is suggested that through narrowing the output voltage range and modification of the switching circuit improvement in high voltage stability and ripple reduction can be made.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62674
ISBN: 9745761206
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiboon_le_front.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_le_ch1.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_le_ch2.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_le_ch3.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_le_ch4.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_le_ch5.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_le_back.pdf10.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.