Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62790
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรัช ภัทราดูลย์-
dc.contributor.advisorสุมน มาลาสิทธิ์-
dc.contributor.authorสุเนตร กัลยาณสันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-23T09:09:30Z-
dc.date.available2019-08-23T09:09:30Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745644643-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62790-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528-
dc.description.abstractการศึกษาการดำเนินงานของกิจการขนาดใหญ่ที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในด้านการผลิตและการใช้วัตถุดิบ 2. ศึกษาปัญหาในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมนี้ 3. เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งการวิจัยได้กำหนดสมมติฐานไว้ดังนี้คือ 1. การดำเนินงานของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีปัญหาเรื่องการผลิต เนื่องจากวัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญในการผลิตส่วนใหญ่ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ 2. อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ทำให้ต้นทุนผลิตสูงกว่าการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป ในการวิจัยได้ออกแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการของกิจการขนาดใหญ่ 9 แห่ง สำหรับผลิตภัณฑ์ 5 ชนิด คือ เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลมไฟฟ้า ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัญหาสำคัญด้านการผลิตเป็นปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ ซึ่งยังต้องอาศัยวัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์จากต่างประเทศ เนื่องจากวัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศมีคุณภาพไม่ดีและหรือยังไม่มีการผลิตในประเทศ สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 35.1 และจากต่างประเทศร้อยละ 64.9 เครื่องปรับอากาศมีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 42.6 และจากต่างประเทศร้อยละ 57.4 เครื่องรับวิทยุมีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 60 และจากต่างประเทศร้อยละ 40 ตู้เย็นมีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 65.7 และจากต่างประเทศร้อยละ 34.3 ส่วนพัดลมไฟฟ้ามีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 85.5 และจากต่างประเทศร้อยละ 14.5 ซึ่งจากผลิตภัณฑ์ 5 ชนิด คือ เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และพัดลมไฟฟ้า มีผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ เครื่องรับโทรทัศน์และเครื่องปรับอากาศมีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ และมีผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดคือ เครื่องรับวิทยุ ตู้เย็น และพัดลมไฟฟ้า มีปริมาณการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์จากต่างประเทศน้อยกว่าในประเทศ นอกจากนั้นโดยส่วนรวมแล้วอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในหมู่บ้านก่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนอุปกรณ์ในประเทศมากกว่าต่างประเทศ กล่าวคือ เป็นร้อยละ 57.78 และร้อยละ 42.22 ตามลำดับ จึงสรุปว่าสมมติฐานข้อแรกไม่เป็นความจริง ในเรื่องต้นทุนการผลิตปรากฏว่าจากแบบสอบถามที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการของกิจการขนาดใหญ่ทั้ง 9 ชุด มี 4 ชุดที่ได้รับกลับคืนมา และตอบตรงกันว่าการผลิตสินค้าในประเทศมีต้นทุนต่ำกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่มาจากต่างประเทศ จึงสรุปว่าสมมติฐานข้อสองไม่เป็นความจริง-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study on the operations of large manufacturers of household electrical appliances are:- 1) To study the characteristics of business operations particularly with regard to production and use of raw materials. 2) To study the major operational problems of the industry. 3) To propose guidelines for improvement and finding solutions to the problems identified. For the purpose of this research two hypotheses were established:- 1) Production problems arise from the fact that most of the major raw materials and component parts have to be imported. 2) Production costs of locally produced finished goods are higher than the costs of their import counterparts. Data were collected through the use of questionnaires and interviews. Operators of nine large manufacturers were interviewed and requested to respond to the questionnaires. The selection of manufacturers covered five major products ie., radios, televisions, airconditioners, refrigerators and electric fans. The results of the research indicate the major problems on production as being related to raw materials whereby reliance has to be placed on imported raw materials and component parts due to the low quality of locally produced materials and parts and/or the lack thereof. The research indicates that production of television sets uses 35.1 % local contents, airconditioners 42.6%, radios 60 % refrigerators 65.7 %, and electric fans 85.8 %. It appears therefore that production of televisions and airconditioners uses mors imported materials and component parts than local materials and parts, whilst production of radios, refrigerators and electric fans uses more local contents. However, the household electrical appliances industry as a whole uses more local contents than imports ie., local contents account for 57.78 % of total materials and parts. Consequently the first hypothesis is proven untrue. With regard to production costs, a total of four out of nine manufacturers who were interviewed responded to the questionnaires. All four respondents indicated that the costs of locally produced goods are lower than their import counterparts, thereby confirming that the second hypothesis is also untrue.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า-
dc.subjectเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า-
dc.titleการศึกษาการดำเนินงานของกิจการขนาดใหญ่ ที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน-
dc.title.alternativeStudy on the operations of multi-line producers of household electrical appliances-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunetr_ka_front_p.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open
Sunetr_ka_ch1_p.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open
Sunetr_ka_ch2_p.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open
Sunetr_ka_ch3_p.pdf62.83 MBAdobe PDFView/Open
Sunetr_ka_ch4_p.pdf29.29 MBAdobe PDFView/Open
Sunetr_ka_ch5_p.pdf10.5 MBAdobe PDFView/Open
Sunetr_ka_back_p.pdf65.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.