Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62870
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพล สูอำพัน-
dc.contributor.authorสุดา ศาสนัส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-09-03T07:37:21Z-
dc.date.available2019-09-03T07:37:21Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745798452-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62870-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบต่างๆ คือ เพศ อายุ ระยะเวลาที่เร่ร่อน ภูมิลำเนา ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางการศึกษา กับลักษณะความคาดหวังในชีวิตด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ครอบครัว สังคมของเด็กเร่ร่อน และรวมทั้งศึกษาถึงแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตของเด็กเร่ร่อน ประชากรเป็นเด็กเร่ร่อนในมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS-X (.Statistical Package for Social Science) ผลการวิจัยพบว่า เด็กเร่ร่อนมีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านการศึกษาในระดับต่ำร้อยละ 76.0 ระดับปานกลางร้อยละ 20.0 ระดับสูงร้อยละ 4.0 มีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านการประกอบอาชีพ ในระดับต่ำร้อยละ 60.0 ระดับปานกลางร้อยละ 40.0 มีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านครอบครัวในระดับต่ำร้อยละ 76.0 ระดับปานกลางร้อยละ 24.0 มีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านสังคม ในระดับต่ำร้อยละ 38.0 ระดับปานกลางร้อยละ 62.0 และมีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตรวมทุกด้านในระดับต่ำร้อยละ 64.0 ระดับปานกลางร้อยละ 36.0 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบต่างๆ กับความคาดหวังในชีวิตของเด็กเร่ร่อน พบว่า องค์ประกอบทางสถานภาพส่วนบุคคลกับความคาดหวังในชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบทางสถานภาพด้านเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวของเด็กเร่ร่อนกับความคาดหวังในชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาตามภูมิลำเนาพบว่า ความคาดหวังในชีวิตด้านสังคมระหว่างเด็กเร่ร่อนที่มีภูมิลำเนาในภาคกลางกับภาคเหนือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to ascertain the life expectations of street children. Structured in-depth interviews, containing questions on personal characteristics, life history and parental background as well as educational, occupational, family expectations, were administered to a sample of 36 male and 14 female street children who were provided refuge at the Foundation for The Better Life of Children. Indices of education, occupation family and community life expectations were constructed. The responses were analyzed by using SPSS-X. The results show that 76% of the children have low educational expectations, 20% have moderate and 4% high expectations, Sixty percent of the children have low occupational expectations. The remaining 40% have moderate expectations. With respect to family, 76% have low expectation; 24% have moderate expectations. Community life expectations are somewhat higher with 38% of the sample having low expectations and 62% having moderate expectations Overall, however, 64% of the children have low life expectations and the rest (36%) have moderate life expectations. The sex and age of respondents did not significantly (p < .05) affect their life expectations. Parental characteristics wee also found to have no significant (p < .05) effect. When disaggregated by birth place, however, it is found that there is a significant difference in the life expectations of those from the Central and Northern parts of country.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเด็กจรจัด -- ไทย-
dc.subjectการศึกษา-
dc.subjectVagrant children -- Thailand-
dc.subjectEducation-
dc.titleความคาดหวังในชีวิตของเด็กเร่ร่อน-
dc.title.alternativeLife expectations of street children-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตเวชศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_sa_front_p.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Suda_sa_ch1_p.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open
Suda_sa_ch2_p.pdf14.12 MBAdobe PDFView/Open
Suda_sa_ch3_p.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Suda_sa_ch4_p.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Suda_sa_ch5_p.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open
Suda_sa_back_p.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.