Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63057
Title: การพัฒนาไมโครอิมัลชันเอคโทอินสำหรับนำส่งทางผิวหนัง
Other Titles: Development Of Ectoin Microemulsions For Skin Delivery
Authors: นงราม จันทเวช
Advisors: ดุษฏี ชาญวานิช
วราภรณ์ สุวกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Dusadee.V@Pharm.Chula.ac.th
Swarapor@Chula.ac.th.
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอคโทอินเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสารสำคัญทางเครื่องสำอางที่ให้ผลการปกป้องผิว ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น และให้ผลชะลอการแก่ที่เนื่องมาจากแสงแดด อย่างไรก็ตาม เอคโทอินมีคุณสมบัติในการละลายน้ำที่ดีมาก มีค่า log P เท่ากับ -0.8 และมีจุดหลอมเหลวสูง ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ อาจทำให้เอคโทอินมีข้อจำกัดในการซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนัง จึงได้นำระบบไมโครอิมัลชันมาศึกษาเพื่อแก้ปัญหานี้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาและประเมินตำรับไมโครอิมัลชันที่บรรจุเอคโทอิน   โดยศึกษาผลของชนิดไมโครอิมัลชัน ชนิดน้ำมันกระจายในน้ำและชนิดน้ำกระจายในน้ำมัน และชนิดน้ำมัน (ไอโซโพรพิลไมริสเตท (IPM) และกรดโอเลอิค) ต่อคุณสมบัติชองไมโครอิมัลชันที่บรรจุเอคโทอิน  การประเมินคุณสมบัติของเอคโทอินไมโครอิมัลชัน ได้แก่ คุณสมบัติทางกายภาพ การปลดปล่อยและการซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังแบบนอกกายของเอคโทอินจากระบบไมโครอิมัลชัน    โดยมีสารละลายของเอคโทอินในน้ำเป็นกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ ยังศึกษาความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีของเอคโทอินไมโครอิมัลชันที่สภาวะเร่ง ผลการศึกษาพบว่า ตำรับเอคโทอินไมโครอิมัลชันชนิด ชนิดน้ำมันกระจายในน้ำและชนิดน้ำกระจายในน้ำมัน สามารถเตรียมได้โดยใช้ส่วนประกอบชนิดและอัตราส่วนที่เลือกมา ทุกตำรับมีความคงตัวดีหลังจากเก็บที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 เดือน ยกเว้นตำรับ “IPM o/w” ซึ่งเหลือเอคโทอิน 88 เปอร์เซ็นต์ ตำรับไมโครอิมัลชันชนิดน้ำมันกระจายในน้ำ สามารถละลาย ectoin ได้มากกว่าชนิดน้ำกระจายในน้ำมัน ที่มีน้ำมันชนิดเดียวกัน ความหนืดของตำรับ ชนิดน้ำมันกระจายในน้ำ จะมีค่ามากกว่าชนิดน้ำกระจายในน้ำมัน ผลการศึกษาการปลดปล่อยเอคโทอินพบว่า ตำรับ “oleic o/w” จะแสดงการปลดปล่อยที่สูงที่สุดซึ่งใกล้เคียงกับสารละลายเอคโทอิน และพบว่าการปลดปล่อยของทุกสูตรตำรับแสดงผลการปลดปล่อยอย่างรวดเร็วในช่วงแรกและการปลดปล่อยเป็นไปตามจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าคงที่อัตราการปลดปล่อยแบบจลนศาสตร์อันดับหนึ่งของไมโครอิมัลชันทุกสูตรตำรับ (p > 0.05) ผลการศึกษาการซึมผ่านผิวพบว่า ระบบไมโครอิมัลชันสามารถช่วยเพิ่มการซึมผ่านชั้นผิวหนัง (%Q24) ของเอคโทอินได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสารละลายเอคโทอิน (p < 0.05) ยกเว้น ตำรับ “IPM w/o” ที่ให้ผลแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ ตำรับไมโครอิมัลชันชนิดน้ำกระจายในน้ำมัน ช่วยเพิ่มการสะสมของเอคโทอินในชั้นผิวหนัง (%Qs) ได้ดีกว่าไมโครอิมัลชันชนิดน้ำมันกระจายในน้ำ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)  โดยไม่คำนึงถึงชนิดของน้ำมัน ดังนั้น ไมโครอิมัลชันจึงเป็นระบบที่น่าสนใจสำหรับการนำส่งเอคโทอินเข้าสู่ผิวหนังซึ่งจะพัฒนาต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมเครื่องสำอางต่อไป
Other Abstract: Ectoin is renowned as an active cosmetic ingredient with skin protection, moisturizing and anti-photoaging effects. However, ectoin is a compound with high water solubility, a log P value of -0.8 and high melting point. These properties of ectoin are limitations of skin permeability. Microemulsion has been studied to conquer these problems. The purpose of the present study was to develop and characterize microemulsions containing ectoin. Furthermore, effects of microemulsion type (o/w and w/o) and oil type (isopropyl myristate (IPM) and oleic acid) on properties of ectoin microemulsions were also investigated. Evaluation of properties of ectoin microemulsions included physical properties, in vitro release and skin permeability of ectoin from the microemulsion system. Aqueous solution of ectoin was prepared as a control group. In addition, physical and chemical stability tests of ectoin microemulsions were also performed at the accelerated condition. Results showed that o/w and w/o microemulsions containing ectoin could be prepared from type and ratio of the components chosen. All formulations were stable after storage at 45°C for two months, except formulation “IPM o/w” that remained ectoin of 88%. The o/w type of microemulsions could dissolve ectoin more than the w/o type of microemulsions with the same oil. Viscosity of the o/w type was more than the w/o type. Release study of ectoin was found that the formulation “oleic o/w” showed the maximum release which was close to the ectoin solution. Release of all formulations presented burst effect and followed the first-order kinetics. However, no significant difference among first-order release rate constants of all formulations was observed (p > 0.05). For skin permeation study, it was found that the microemulsion system could significantly improve skin permeability of ectoin (%Q24) compared to the ectoin solution (p < 0.05), except for the formulation “IPM w/o” showing no significant difference. The w/o microemulsions gave significantly greater skin deposition (%Qs) of ectoin than the o/w microemulsions regardless of oil type (p < 0.05). In conclusion, microemulsion is a promising system for dermal delivery of ectoin developed for further application in cosmetic industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63057
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.761
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.761
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5676237033.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.