Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63324
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชญาพิมพ์ อุสาโห | - |
dc.contributor.author | เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T03:08:42Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T03:08:42Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63324 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประชากรคือ โรงเรียนคาทอลิกในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 34 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายงานต่างๆ และครูปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 409 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของบริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯในปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยคุณลักษณะย่อยของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสุภาพถ่อมตน รองลงมาคือ การยึดหลักคุณธรรม การเห็นประโยชน์ของผู้อื่น การสร้างทีม การส่งเสริมการพัฒนาส่วนบุคคล การเห็นใจและการเยียวยาผู้อื่น ความถูกต้องและความยุติธรรม และ การให้อำนาจ ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วิธีการพัฒนาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ การพัฒนาเพื่อกำจัดอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสร้างกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึก และการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึก ตามลำดับ ได้แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ 20 แนวทาง | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to present the conditions and guidelines for development of the servant leadership for school administrators in Bangkok Archdiocese. There are 34 schools under this organization. There will be administrators, heads of department and teachers with a total of 409 respondents. The researcher used a structured questionnaire for the respondents to identify the condition of a servant leadership and the guidelines for development of the school administrators in Bangkok Archdiocese. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results were as follows: The conditions scores were based on eight characteristic factors which includes; Integrity, Altruism, Humility, Empathy and Healing, Personal growth, Fairness and Justice Empowerment and Build a team The guidelines for development scores were based on five characteristics, which include; Change education, Breakthrough training, Building change strategy, Conscious process design and Conscious process facilitation. There are 20 guidelines for the servant leadership development. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ | - |
dc.title.alternative | Guidelines for development of a servant leadership of school administrators under the Bangkok Archdiocese | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Chanyapim.U@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783390427.pdf | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.