Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63342
Title: การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา
Other Titles: Development Of Behavior Modification Program To Prevent Diabetes And Hypertension Of Risk In Education Institutions
Authors: สุตาภัทร ประดับแก้ว
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.S@Chula.ac.th
Thanomwong.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) พัฒนาโปรแกรมโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นบุคลากรในสถานศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 40 คน ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ สร้างสัมพันธ์ เสริมพลังบวก ความหวัง สุขภาพองค์รวม ทบทวนตนเอง เป้าหมายมีไว้พุ่งชน โยคะคลายเครียด Let’s relax โภชนาการต้องรู้ เมนูที่รัก และMy Idol โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.88 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าความดันโลหิตของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล และบุคลากรกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าความดันโลหิตลดลง
Other Abstract: The purpose of this study were to develop and evaluate the effectiveness of program to prevent diabetes and hypertension of risk staff in education institutions. The method included: 1) The development of program was based upon the Health Belief Model and Health Literacy and determine the quality of the program by analyzed the IOC. 2) The effectiveness of program was assessed using 40 purposively selected staff at risk in education institutions. Data were collected three times, before the experiment, after the experiment 8 weeks and follow-up 4 weeks, and were analyzed by means, standard deviation, MANOVA with repeated measures at statistical significance level of 0.05. The research findings were as follows: 1) The develop program consisted of 10 intervention activities: Build up friendship to promote positive power; Hope; Holistic health; Self-review; Right on the target; Yoga for relax; Let’s relax: Nutrition knowledge; My favorite menu and My Idol. The ten activities had an aggregate IOC of 0.88. 2) The effectiveness of the develop program were found that the average scores of knowledge, the attitude, practice prevention of diabetes and hypertension to reduce the risk of the experimental group were significantly different at 0.05 levels from those of the control group in posttest and follow up. The experimental group had lower level of blood glucose and blood pressure.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63342
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1444
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1444
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884228827.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.