Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63524
Title: ความสามารถในการเข้าถึงด้านการมองเห็นในที่ทำการไปรษณีย์ของไทยสำหรับคนสายตาเลือนราง
Other Titles: Visual accessibility in Thai post office for people with low vision
Authors: อภิมุข ซุยยะกิจ
Advisors: พิชญดา เกตุเมฆ
โทโมโกะ โอบามา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กลุ่มคนสายตาเลือนรางมีการมองเห็นด้อยประสิทธิภาพกว่าคนสายตาปกติอย่างมาก ทำให้ขาดความสะดวกและความปลอดภัยในการทำกิจกรรมประจำวันทั้งภายในและภายนอกอาคาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบ ขนาด และสีของลูกศรบอกทิศทางที่เห็นได้ชัดและสื่อความหมายได้ชัดเจนสำหรับผู้ที่มีการมองเห็นเลือนราง เพื่อนำไปใช้ในที่ทำการไปรษณีย์ไทย งานวิจัยได้ออกแบบลูกศร 8 แบบ ให้ผู้สังเกตที่มีสายตาปกติสวมใส่แว่นตาจำลองการมองเห็นเลือนราง 3 ชนิด ได้แก่ การมองเห็นแบบลานสายตาแคบ (NV) ที่ให้ค่าลานสายตา 10 องศา การมองเห็นแบบตามัว (BL) และการมองเห็นเลือนรางเนื่องมาจากหลอดเลือดจอประสาทตาอุดตัน (OLS) ที่ให้ค่าสายตา 0.04 ขั้นแรกให้ผู้สังเกตจำนวน 20 คนเลือกแบบลูกศรที่สังเกตได้ชัดเจนและสื่อสารบอกทิศทางได้ดีที่สุด โดยได้ลูกศรแบบที่ 1 จากนั้นนำลูกศรที่ได้มาปรับการนำเสนอด้วยสีแดง สีเขียว สีน้ำเงินและสีเหลือง ตามที่ระบุในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย เลขที่ มอก. 635-2554 และออกแบบให้เป็นพอสิทิฟ และเนกาทิฟ และนำไปหาขนาดที่เหมาะสมที่ทำให้คนสายตาเลือนรางทั้ง 3 แบบมองเห็นได้ชัดเจน พบว่ามีขนาด 5.5 องศาเมื่อมองห่างจากภาพลูกศร 1 เมตร จากนั้นเพิ่มจำนวนแบบโดยเพิ่มขอบเครื่องหมายลูกศรรวม 8 แบบให้ผู้สังเกตระบุทิศทางและบันทึกเวลาตอบสนอง ผลที่ได้ถูกนำไปจำลองวางบนภาพที่ถ่ายจากที่ทำการไปรษณีย์จริง ตรวจสอบระยะเวลาการตอบสนองของลูกศรเปรียบเทียบกันระหว่างในกลุ่มผู้สังเกตที่สายตามีความคมชัดน้อยกว่า 0.05 กับสายตาปกติที่สวมแว่นตาจำลอง และกลุ่มผู้สังเกตที่มีสายตาเลือนรางกับสายตาปกติที่สวมแว่นตาจำลอง ซึ่งพบว่าผู้สังเกตสายตาเลือนรางมีการตอบสนองต่อลูกศรไวกว่าผู้สังเกตสายตาปกติที่สวมแว่นตาจำลองและ  ผู้สังเกตสายตามีความคมชัดน้อยกว่า 0.05 ตามลำดับ โดยผู้สังเกตสายตาเลือนรางตอบสนองต่อกลุ่มลูกศรสีน้ำเงินได้ดีกว่าลูกศรในกลุ่มสีอื่น
Other Abstract: This research focused on the determination of optimized arrow sign that could be clearly seen, by people with low vision, in Thai post office. Three main optimized aspects of the arrow sign were pattern, size and enhancement using outline, color (colorimetric values of red, green, yellow and blue obtained from Industrial Standard Act), negative and positive appearances. The normal vision observers, wearing 3 types of simulated low vision glasses: narrow vision (NV), occlusion vision (OLS) and blur vision (BL), participated in the experiment. The visual acuity of the last two types was 0.04. The response time was recorded and analyzed. It was found in the first stage that the simple pattern of arrow having head and tail out of 8 types was significantly preferred, 20 observers participated. Subsequently, the selected type of arrow was used for size optimizing in the 2nd stage. We found that the optimized size of arrow, measured from head to tail, for NV, OLS and BL were subtended angles of 2.0 degrees (for the sample sizes of 3.5 cm), 5.0 degrees (8.8 cm) and 5.5 degrees (9.6 cm) respectively, at 100 cm viewing distance. The maximum size from the second stage was used for testing enhancement effect in the 3rd stage. The results showed that 1) only blue arrows with and without outline were significantly different 2) yellow and green arrows showed significantly different response time (green arrow gave less response time than others) and 3) NV had less response time than BL and OLS. The last stage, the optimum arrows of all 4 colors were chosen and located on the floor of the captured Post Office scene. The Post Office images with selected arrow signs were used as stimuli, response time was recorded and low vision people participated. They responded fast to blue arrow.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63524
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.622
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.622
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5872092723.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.