Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63562
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธิติ บวรรัตนารักษ์ | - |
dc.contributor.author | จิตรเทพ สุกุลธนาศร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T04:06:56Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T04:06:56Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63562 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความแปรปรวนความหนาแน่นของผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกในกระบวนการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการเบรกในเรื่องลดการเกิดเสียงเบรกและคุณภาพของชิ้นงานโดยมุ่งหวังที่จะลดปริมาณของเสียจากการผลิตอันเกิดจากปัญหาชิ้นงานนิ่มลง กระบวนการที่เลือกมาทำการศึกษาคือ กระบวนการอัดขึ้นรูปแบบเย็นของผ้าเบรกรถยนต์โมเดล X1725 การขึ้นรูปผ้าเบรกเริ่มต้นจากการทำให้ผงเคมีผสมที่ใช้ในผ้าเบรกอัดแน่นกันในแม่พิมพ์ที่มีรูปร่างต่าง ๆ โดยผงเคมีผสมจะถูกเติมลงในช่องว่างในแม่พิมพ์หลังจากนั้นอัดขึ้นรูปเคมีผสมด้วยแรงดันจากตัวกดจนเป็นรูปร่างของผ้าเบรกที่มีความหนาแน่นที่สม่ำเสมอ ทุก ๆ ส่วนในหลุมแม่พิมพ์จะถูกเติมด้วยเคมีผสมจนเต็มเพื่อให้เคมีผสมยึดเกาะกันได้ดีที่สุด โดยการควบคุมขั้นตอนการเกลี่ยเคมีผสมให้ความหนาของชิ้นงานหลังอัดขึ้นรูป อยู่ระหว่าง 16.6-16.7 มิลลิเมตร ขั้นตอนการศึกษาทั้งหมดแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา และการวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์ทีละสาเหตุ ทีละปัจจัย 2) ขั้นตอนการทดสอบ โดยศึกษาจากคุณสมบัติการไหลของเคมีผสมในผ้าเบรก การควบคุมค่าการอัดที่เหมาะสม และคุณสมบัติความหยืดหยุนของชิ้นงานอัดขึ้นรูปเย็น 3) ขั้นตอนปรับปรุงกระบวนการ หลังการปรับปรุงกระบวนการผลิต ทำให้พบว่าความแปรปรวนของความหนาในกระบวนการอัดขึ้นรูปเย็นขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งการอัด ในจำนวนตัวอย่าง 82 ตัวอย่าง กระบวนการนี้มีความคลาดเคลื่อนจากความหนาที่กำหนด 1% ในช่วงระดับความเชื่อมั่น 95% และความหนาแน่นชิ้นงานอัดรูปร้อนมีความแปรปรวนลดลง | - |
dc.description.abstractalternative | This research aims to reduce the thickness and density variations generated within the process of brake pad manufacturing. According to the case study company's targets, the brake noise and the amount of defect caused by weak pad problem should be decreased. The cold-pressing or preform process of disc pad model X1725 production is selected for this study. The forming of a brake pad begins with densification of friction powder in a rigid mold having a cavity of complicated contour. In this operation, the powder is filled into the cavity of the rigid mold. It is then compacted by vertically compacting punches to form a brake pad shape with uniform density. In all portions of the mold cavity, the densification of the powder should take place simultaneously, in order to ensure a sufficiently good binding. The thickness specification of the preform is controlled between 16.6-16.7 mm. The research methodology consists of 3 steps: 1) Define and analysis phases 2) Measure phase, the flowability of fiction material and elastic property of the preform are investigated and 3) Improve phase. After improvement by implementing, it found that the thickness variation in the preforming processes depended on the cycle of pressing. In the sample of 82 samples, the variation of the brake pad and the thickness of the preform are decreased. The thickness of preform have an error from the target value of 1% in confidence interval 95% | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.947 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.subject.classification | Materials Science | - |
dc.title | การพัฒนากระบวนการอัดขึ้นรูปแบบเย็นสำหรับการผลิตผ้าเบรกที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ | - |
dc.title.alternative | Development of Cold-pressing Process for Producing Brake Pad with Uniform Density | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Thiti.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.947 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6072163123.pdf | 8.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.