Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63675
Title: นวัตกรรมกระบวนการเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนการบริการอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล
Other Titles: Process Innovation for In-patient Food Administration Errors Prevention
Authors: สืบสกุล โทนแจ้ง
Advisors: ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Natcha.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบริการอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาลนับว่าเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเพราะอาหารนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาและถือเป็นยาชนิดหนึ่ง ในโรงพยาบาลที่ผ่านมาตรฐานคุณภาพระดับนานาชาติแห่งหนึ่ง พบว่าในปี 2017 มีจำนวนข้อร้องเรียนเรื่องได้รับอาหารไม่ตรงตามที่ระบุ 217 ราย คิดเป็น 37.4% ของข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในงานโภชนาการซึ่งถือว่ามีความผิดพลาดสูง แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่เคยได้รับการศึกษาหรือแนวทางแก้ไข งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาสาเหตุและกระบวนการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการบริการอาหารผู้ป่วยแล้วนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนการให้บริการอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล การศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนการบริการอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาลโดยประยุกต์แนวทางมาจากความคลาดเคลื่อนในการให้ยาเนื่องจากกระบวนการมีลักษณะคล้ายกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ เปอร์เซ็นข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นใน 1 ปี (แบบสอบถาม ก) และคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นถึงสาเหตุของความคลาดเคลื่อนจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบริการอาหาร (แบบสอบถาม ข) โดยพบว่าความคลาดเคลื่อนมีสาเหตุจาก 1.) การคัดลอกคำสั่งให้อาหาร (ก=61.3%, ข=4.63) 2.) การให้บริการอาหาร (ก=25.8%, ข=2.45) 3.) การจ่ายอาหาร (ก=10.1%, ข=2.31) 4.) การสั่งให้อาหาร (ก=2.7%, ข=1.02). ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบการบริการอาหารจำนวน 4 กลุ่ม จึงสามารถสรุปได้ว่า ความคลาดเคลื่อนมีสาเหตุหลักมาจากการคัดลอกคำสั่งให้อาหาร เมื่อวิเคราะห์กระบวนการคัดลอกโดยใช้พิมพ์เขียวบริการ พบว่าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นที่กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลทางด้านโภชนาการของผู้ป่วยระหว่างแผนก จากนั้นหาวิธีการที่จะช่วยตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายและวิเคราะห์โดยใช้ผังต้นไม้แล้วนำมาใส่ในตารางเมตริกซ์แสดงเป็นรายการทางเลือกและเลือกแนวคิดที่น่าสนใจออกมา 5 แนวคิด แล้วให้บุคลากรในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องให้คะแนนนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรม ในรูปของ Mobile Application สำหรับระบบปฏิบัติการ Android ชื่อว่า “Gourmet Nutri” ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านอาหารโดยโปรแกรมสามารถดึงข้อมูลทางโภชนาการของผู้ป่วยจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลได้ทันทีและอัพเดทอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะผู้ป่วย เมื่อได้ข้อมูลแล้วพนักงานสามารถนำโปรแกรมดังกล่าวไปรับรายการอาหารผู้ป่วยได้บน Tablet และส่งข้อมูลรายการอาหารไปยังครัวเพื่อจัดเตรียมอาหารได้ทันที โดยโปรแกรมดังกล่าวช่วยลดขั้นตอนการทำงานจาก 26 ขั้นตอนคิดเป็น 1,304 นาที เหลือ 17 ขั้นตอนคิดเป็น 985 นาที แสดงให้เห็นถึงเวลาการทำงานที่ลดลง 24.46% ผลการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยผู้ใช้งานจริงพบว่ามีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.14 ถือว่าอยู่ในระดับดีมาก เมื่อประเมินประสิทธิภาพการลดความคลาดเคลื่อนการบริการอาหารโดยการทดสอบสมมติฐานค่าสัดส่วนกรณี 2 กลุ่มประชากร คือสัดส่วนความผิดพลาดก่อนใช้โปรแกรมมีค่า 6.22x10-4 ต่อถาด และสัดส่วนความผิดพลาดหลังปรับปรุง 2.26x10-4 ต่อถาด ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่น 95%
Other Abstract: Food service provided in hospitals has considerable significance, as it is part of the medical treatment. In a sample hospital, food delivery error occupied 37.4% which was the highest complaint among all problems in 2017. This problem has never been investigated for its root causes and there has been no measures established against it. Therefore, the purpose of this research is to investigate for the causes of the discrepancies in the food service provided for the inpatients. The three methods showed consensus results. Both survey (A) and complaint results revealed that the error (B) were caused by 1) transcribing (A=61.3%, B=4.63) 2) administration error (A=25.8%, B=2.45) 3) dispensing error (A=10.1%, B=2.31) 4) prescription error (A=2.7%, B=1.02). Furthermore, focus group interview with the 71 hospital staff confirms the finding. Transcribing error included miscommunication and data transference across the departments. The author conducted in-depth case study analysis by using service blueprint with 217 food delivery case studies. We found that the root cause was in data transference operation across the departments. The author then finds a way to help the users’ demand be met and analyzes it by using Tree concept. Ideas are put in the matrix table, presented as alternatives and five interesting ideas to be chosen from. Hospital personnel rate the ideas, leading to the development of Mobile Application called "Gourmet Nutri" working with Android operation. The application serves as a hub of information about food. It can immediately retrieve patients’ data from the hospital’s database, which is also automatically if there are any changes in patients’ status. Waitresses can take down food orders directly on the application and send the information to the kitchen, which will prepare the food instantly. The program reduced the processes from 26 steps to 17 steps, also the time used for processing decreased from 1,304 minutes to 985 minutes. Consequently, this program helped users save time for 24.5%. Real users’ evaluation of the program’s effectiveness showed that the average satisfaction level is 4.1, a level considered very good. The results of the evaluation of the effectiveness of reducing service errors by testing the hypothesis shows that the ratio of the two groups is proportional; the error occurring before the program was used was 6.22x10-4 per tray and the ratio of the errors after the improvement was 2.26x10-4 per tray. The error rate has significantly decreased at the 95% confidence level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63675
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1333
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1333
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070341121.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.