Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63688
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา เชาวลิตวงศ์-
dc.contributor.authorปิยวรรณ ปราณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T04:47:16Z-
dc.date.available2019-09-14T04:47:16Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63688-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่ซึ่งสามารถลดเวลา ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน และลดต้นทุนค่าดำเนินงานได้ โดยข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่(NCP Survey) เป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์ลักษณะกลุ่มลูกค้าของรถยนต์แต่ละรุ่นเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด จากวิธีการทำงานในปัจจุบันพบปัญหาข้อมูลล่าช้า ข้อมูลไม่ครบถ้วน และมีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ผู้วิจัยจึงได้นำแนวความคิดเรื่อง 8 Waste, 3 GEN แผนผังก้างปลา FMEA และWhy-Why Analysis มาใช้ในการหาสาเหตุของปัญหา พบว่าสาเหตุหลักมาจากวิธีการได้มาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบกระดาษ นำไปสู่การหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขจึงได้มีการศึกษาเรื่องการทำแบบบสอบถามออนไลน์(Online Survey) ข้อดีข้อเสียต่างๆ ซึ่งสุดท้ายได้เลือกทำเป็น Web Application เนื่องจากสอดคล้องกับความต้องการของระบบและเกณฑ์ของบริษทัท จึงทำการออกแบบระบบใหม่โดยการสร้างแผนผังการทำงาน(Process flow) และแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow) เพื่อจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ มีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน(User Interface) และออกแบบส่วนแสดงผล(Output Design) ซึ่งผลการออกแบบระบบได้ถูกทดสอบโดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์กับวิธีการเดิมพบว่าได้รับข้อมูลเร็วขึ้นจากเดิมใช้เวลาเฉลี่ย 108 วันเหลือ 0 วันหรือเป็นแบบ Realtime และได้ข้อมูลครบถ้วนมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อนได้ และสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้จากปีละ 1,440,000 บาท เหลือเพียงค่าดูแลรักษาระบบปีละ 55,000 บาท โดยมีค่าพัฒนาระบบ 450,000 บาทในปีแรก-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research aims to design a customer surveying and data processing system of new car buyers, which reduce time, recurring work process and operating cost. The New Customer Profile or NCP Survey provides important information for analyzing of the customer group characteristics in order to determine the customer’s target and marketing strategy planning.  The as-is analysis of current method has revealed some problems such as data delay, incomplete information and redundant work procedures. Therefore, the 8 Waste, 3GEN, Fishbone diagram, FMEA and Why-Why analysis have been applied to investigate causes of problems. The major cause is how the data has been acquired from the questionnaire.  Currently, paper format is in use.  Thus, the advantages and disadvantages of several online survey options have been explored.  As a result, the web application is selected based on systems requirements.  The proposed systems design includes process flow, data flow, design user interface, and output report. The proposed systems is tested by users.  The results show that the proposed systems can acquire data faster than the original method which uses an average time of 108 days to receive data.  In addition, it can enhance to get more complete information, to reduce recurring process, and to reduce annual operating cost from 1,440,000 baht to 55,000 baht plus the one-time systems development cost of 450,000 baht.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1320-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการออกแบบระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่-
dc.title.alternativeA Design Of Customer Surveying And Data Processing System Of New Car Buyers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPaveena.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1320-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070940021.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.