Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63783
Title: สื่อออนไลน์กับการสื่อสารทางการเมืองของเยาวชนไทย
Other Titles: Online media and political communication of Thai youth
Authors: พิมลพรรณ ไชยนันท์
Advisors: พิรงรอง รามสูต
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@Chula.ac.th
Soraj.H@Chula.ac.th
Subjects: เยาวชน -- ไทย
สื่อมวลชนกับเยาวชน
สื่อสังคมออนไลน์
การสื่อสารทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
Youth -- Thailand
Mass media and youth
Social media
Communication in politics
Political participation
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนไทยในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมทางการเมือง รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในบริบทออนไลน์โดยศึกษาเยาวชนทั่วไป และกลุ่มเยาวชนที่รวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมทางการเมืองและสังคม ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ คือ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาชนอายุ 18-30 ปี ที่อาศัยอยู่ใน 4 พื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมจำนวน 736 คน ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือกรณีศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มเยาวชนที่มีวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบ กลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทย และเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในบริบทออนไลน์ ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางการเมืองในบริบทออฟไลน์ การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อเดิม ความสนใจในการเมือง การรับรู้ความสามารถทางการเมืองของตนเอง ความเชื่อถือในการเมือง และทัศนคติที่มีต่อศักยภาพของสื่ออินเทอร์เน็ตในการส่งเสริมการสื่อสารและมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้ยังพบว่า ปัจจัยการเรียนรู้ทางสังคมเกี่ยวกับการเมืองผ่านครอบครัวและสถาบันการศึกษา และทุนทางสังคม มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในบริบทออนไลน์ โดยมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองในบริบทออฟไลน์เป็นตัวแปรส่งผ่าน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กลุ่มเยาวชนที่มีการร่วมกลุ่มกันเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองเลือกใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมอย่างเฟสบุคเป็นช่องทางหลักของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต โดยมีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองและสังคม 2) การสื่อสารและประสานงานภายในกลุ่ม 3) การสื่อสารกับสาธารณะ 4) การสร้างเครือข่าย 5) การระดมสรรพกำลังในการเคลื่อนไหว 6) การสร้างพื้นที่สาธารณะเฉพาะ และ 7) การสร้างและพัฒนาอัตลักษณ์ทางการเมือง โดยพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตของกลุ่มเยาวชน ดังนี้ 1) ข้อจำกัดด้านบุคลากร 2) ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 3) ข้อจำกัดด้านเวลา 4) ความสามารถในการเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ต 5) การตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของสื่ออินเทอร์เน็ต 6) ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อประเภทอื่นนอกเหนือจากสื่ออินเทอร์เน็ต 7) ลักษณะกิจกรรมของกลุ่ม และ 8) ลักษณะของมวลชนเป้าหมาย หรือกลุ่มคนที่เยาวชนร่วมทำกิจกรรมด้วย
Other Abstract: This study aims at examining how young people in Thailand use new media to participate in politics, and relevant factors that influence online political participation of young people. Two major groups of youth are targeted for the study – the general youth citizens, and youth groups who are politically active and have assembled based on common political interests. The study uses both quantitative and qualitative methodologies in data collection. For the quantitative part, data was collected using self-administered questionnaire survey with 736 young people, aged between 18 – 30 years old in four regions across Thailand -- Central, North, Northeast, and South. As for the qualitative part, a case study approach was used pursue the above inquiry. The case studies are drawn from interviews and unobtrusive observations of activities of members belonging to four politically active youth groups: 1) Student Federation of Thailand, 2) Youth Cares for Thailand, and 3) Student Alliance against Autonomous University, and 4) Youth Conserve Environment Prachuap Khiri Khan. Based on the quantitative research, six factors are found to directly influence online political participation: offline political participation, political participation via traditional media, interest in politics, political self-efficacy, political trust, and attitude towards the Internet’s potentials in facilitating political communication and participation. Moreover, the findings indicate that political socialization from family and educational institutions as well as social capital influence online political participation, but through mediation of offline political participation. The findings from qualitative research show that these youth groups employ online social media in political communication in seven ways: 1) access to information, 2) communicating and coordinating among group members, 3) public communication and information dissemination, 4) networking, 5) mobilization of resources, 6) building alternative public sphere and, 7) constructing political identity. How these young activists use online social media in political participation depends on different factors including shortage of human and financial resources, internet access capability, timing, the group’s recognition of the Internet’s political capacity, availability of other communication channels, as well as the types of activity and the target group of participants whom the young activists aim to communicate with and mobilize.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63783
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimonpan Chainan.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.