Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63800
Title: อิทธิพลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรม
Other Titles: Effects of state enterprises' information technology utilization on being a learning organization and an innovative organization
Authors: วรธรรม พงษ์สีชมพู
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: รัฐวิสาหกิจ
ภาวะผู้นำ
การเรียนรู้องค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Government business enterprises
Leadership
Organizational learning
Information technology
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการความรู้ขององค์กรรัฐวิสาหกิจ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรม 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร ได้แก่ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการความรู้ ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 29 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับกลางขององค์กรรัฐวิสาหกิจ 24 องค์กร จำนวนทั้งสิ้น 805 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS for Windows วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการความรู้ขององค์กรรัฐวิสาหกิจโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับน้อย 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า χ2 = 43.91, df = 73, p = 1.00, χ2 / df = 0.60, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00, LSR = 1.98 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ได้ร้อยละ 66 และร้อยละ 82 ตามลำดับ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจมีอิทธิพลทางตรงต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมผ่านวัฒนธรรมองค์กร นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ผ่านภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการความรู้
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study the level of a learning organization, an innovative organization, information technology utilization, leadership, organizational culture and knowledge management practice in state enterprises 2) to develop causal relationship model of state enterprises’ information technology utilization on being a learning organization and an innovative organization and 3) to validate consistency of empirical data with causal relationship model of state enterprises’ information technology utilization on being a learning organization and an innovative organization. The model consisted of six latent variables: learning organization, innovative organization, information technology utilization, leadership, organizational culture and knowledge management, and 29 observed variables measuring those six latent variables. The sample consisted of 805 personnel in 24 state enterprises. Data were analyzed by descriptive statistics, exploratory factor analysis, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient analysis with SPSS for Windows, confirmatory factor analysis and structural equation model analysis with LISREL. The result indicated that 1) state enterprise personnel rated level of a learning organization, an innovative organization, leadership, organizational culture and knowledge management practice in moderate level, while information technology utilization was in low level. 2) The adjusted model was consistent with empirical data. Model validation of a good fitted model provided χ2 = 43.91, df = 73, p = 1.00, χ2 /df = 0.60, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00, and LSR = 1.98. The variables in the model accounted for 66 and 82 percent of the total variance of a learning organization and an innovative organization. Information technology utilization has a direct effect on an innovative organization and indirect effect through organizational culture. Informational technology utilization has an indirect effect on a learning organization through leadership, organizational culture and knowledge management practice.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63800
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.155
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woratham Phongsichomphu.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.