Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63851
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between breastfeeding behaviors and early childhood caries in Bangkok
Authors: พิเชฐ จันปุ่ม
Advisors: สมหมาย ชอบอิสระ
ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Chutima.t@chula.ac.th
Subjects: เด็ก -- การเลี้ยงดู
ฟันผุในเด็ก
Dental caries in children
Child rearing
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางถึงความสัมพันธ์ของความสะอาดของฟันเด็กและโรคฟันผุในเด็กกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย โดยศึกษาในเด็กอายุ 9-18 เดือน ที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว ในคลินิกสุขภาพเด็กดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2554 ถึง 31 ต.ค. 2555 โดยสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูเด็กถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และตรวจหาระดับคราบจุลินทรีย์สะสมที่ฟันกับรอยโรคฟันผุ ผลการวิจัย มีเด็กเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 513 คน พบความชุกของโรคฟันผุในเด็กกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นร้อยละ 42.50 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ กับโรคฟันผุแบบพหุปัจจัย พบปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ได้แก่ เด็กที่มีคราบจุลินทรีย์สะสมมากกว่า 1 ใน 3 ของตัวฟัน มีโอกาสเสี่ยงเป็น 59.19 เท่า อายุเด็กที่เริ่มทำความสะอาดช่องปากช้า มีโอกาสเสี่ยงเป็น 7.34 เท่า การดูดนมแม่คาเต้าหรือคาขวดหลับกลางคืนมีโอกาสเสี่ยงเป็น 3.26 เท่า การดูดนมแม่ได้บ่อยเท่าที่ต้องการมีโอกาสเสี่ยง 2.09 เท่าและเด็กที่อายุมากขึ้นทุก 1 เดือน จะเสี่ยงต่อโรคฟันผุเริ่มขึ้น ร้อยละ 8 โดยที่ปริมาณคราบจุลินทรีย์สะสม และการดูดนมแม่คาเต้าหรือคาขวดหลับกลางคืน สัมพันธ์กับดัชนีฟันผุถอนอุดเป็นด้าน และคราบจุลินทรีย์สะสมเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่สัมพันธ์กับค่าความเข้มของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย โดยปริมาณคราบจุลินทรีย์สะสมเป็นปัจจัยเสี่ยงบ่งชี้ที่สัมพันธ์ต่อโรคฟันผุมากที่สุดแม้จะมีหรือไม่มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เสี่ยงร่วมด้วย ในเด็กกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว มีหลายปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ แต่คราบจุลินทรีย์สะสมมากกว่า 1 ใน 3 ของตัวฟันเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์สูงสุดการสอนให้แม่ทำความสะอาดฟันให้เด็กอย่างมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีของลูก
Other Abstract: The relationship between breastfeeding and early childhood caries (ECC) is still a controversy. There have not been extensive studies on the cleanliness of chid's teeth and ECC in breastfed children. The objective of this study was to correlate breastfeeding behaviors and ECC. We studied 9-18 month-old exclusively breastfed children in the Well Baby Clinic at Queen Sirikit National Institute of Child Health, Bangkok, Thailand; from October 1, 2011 until October 31, 2012. Caregivers were interviewed to identify risk factors and the child's level of plaque accumulation and caries lesions were examined. There were 513 subjects. The prevalence of ECC in breastfed children was 42.50 percent. The multivariate analysis indicated that the factors related to a higher risk of having dental caries were children with > 1/3 of crown length plaque (OR 59.15); delayed onset of first oral cleaning age (OR 7.34); nocturnal breastfeeding (OR 3.26); and ad-libitum breastfeeding (OR 2.09). The risk of dental caries increased 8% with each month of increased age. The level of plaque accumulation and nocturnal breastfeeding were related to dmfs index. The level of plaque accumulation was the only factor strongly related to the intensity ECC (I-ECC), even with or without having risk behavior. In breastfed children there are multiple factors related to the risk of ECC, but plaque accumulation >1/3 of crown length was the most highly related risk. Educating breastfeeding mothers to clean the children's teeth will be the important factor in promoting good oral hygiene in children.
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63851
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1825
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1825
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichet Chanpum.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.