Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63888
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชติกา ภาษีผล-
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.authorมัฮดี แวดราแม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-11T10:49:14Z-
dc.date.available2019-11-11T10:49:14Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63888-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบ (Model) การประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4) เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในที่พัฒนาขึ้นในด้านอรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้องและความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารหรือบุคลากรที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประเมินในระดับอุดมศึกษารวมทั้งสิ้น 400 คนโดยมีการทดลองใช้รูปแบบที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์วิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) ผลการสังเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของแต่ละมหาวิทยาลัยมีจุดร่วมกันที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินงานประกันคุณภาพมีประสิทธิภาพนั้นได้แก่ การมีบริบทองค์กรที่ผู้บริหารมีความเอาใจใส่ มีความมุ่งมั่นและเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพ การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการดำเนินงานที่เน้นคุณภาพเป็นสำคัญ การมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์กรทุกภาคส่วน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการกับระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องซึ่งช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและช่วยให้การประกันคุณภาพสามารถดำเนินการและบูรณาการกับงานปกติได้ 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติประกอบด้วย ปัจจัย 5 ด้านได้แก่ ปัจจัยด้านบริบทองค์กร ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านคุณลักษณะของบุคลากร ปัจจัยด้านระบบฐานข้อมูล และปัจจัยด้านการสื่อสารภายในองค์กร โดยปัจจัยด้านระบบฐานข้อมูล ปัจจัยด้านผู้บริหารและการสื่อสารในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติมากที่สุดตามลำดับ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่าหลังจากทดลองใช้มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจต่อปัจจัยและรูปแบบที่พัฒนาเพิ่มขึ้นในทุกปัจจัย และผลการประเมินรูปแบบตามมาตรฐานการประเมินด้านอรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้องและความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากในทุกมาตรฐานการประเมินen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop a model of work-integrated internal quality assurance for Faculties of Education. The specific objectives were: 1) to study best practices in internal quality assurance of higher education both in Thailand and abroad.2) to analyze factors that affect the success of work-integrated internal quality assurance. 3) to develop a model of work- integrated internal quality assurance for Faculties of Education 4) to implement and evaluate the internal quality assurance model in terms of utility, feasibility, propriety, accuracy, and user satisfaction. The sample in this study (n = 400) consisted of a group of administrators or personnel, responsible for the internal quality assurance of the university, experts, and evaluators of higher education. The implementation site was the Faculty of Education, Prince of Songkhla University. Instruments used for data collection included interviews, questionnaires, and evaluation form. Data were analyzed by using content analysis, descriptive statistics, and analysis of the path (Path Analysis) using LISREL. The key findings were as follows: 1) the synthesis of best practices in internal quality assurance revealed that the key to the effective implementation of internal quality assurance included: an organizational context that administrators take care of, commit, and aware the importance of internal quality assurance, staff members who possessed knowledge and awareness of quality-emphasis operations, participation from all sectors of the organization, effective communication, and effective IT to manage convenient and fast database, integrated in the routine works. 2) factors affecting the success of work-integrated internal quality assurance were: organizational context factors, administrators factors, organizational staff factors, database factors an organizational communication factors. The database factors, administrator factors, and organizational communication factors have the most direct effect on the work-integrated internal quality assurance. 3) After the implementation, the researcher found that the user’s satisfaction increased in all factors. The evaluation model assessing by the standards of utility, feasibility, propriety, accuracy and user satisfaction with the high level in all evaluation standards.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครุศาสตร์en_US
dc.subjectประกันคุณภาพen_US
dc.subjectประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาen_US
dc.subjectQuality assuranceen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติ สำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์en_US
dc.title.alternativeDeveloping a model of work-integrated internal quality assurance for faculties of educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAimorn.J@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mahdee Waedramae.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.