Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63908
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอินทิรา พรมพันธุ์-
dc.contributor.advisorอำไพ ตีรณสาร-
dc.contributor.authorวรพรรณ สุรัสวดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-13T11:26:31Z-
dc.date.available2019-11-13T11:26:31Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63908-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาอนาคตภาพของวิชาถ่ายภาพ สำหรับหลักสูตรศิลปศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตในทศวรรษหน้า โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเลือกโดยวิธี แบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร 3 คน 2) คณาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา 3 คน 3) ผู้สอนในรายวิชาถ่ายภาพระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา 3 คน 4) ครูผู้สอนรายวิชาถ่ายภาพ จบการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา 3 คน 5) ครูผู้สอนรายวิชาถ่ายภาพ จบการศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต 6 คน และ 6) ผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านถ่ายภาพ จบการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา 2 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แล้วสรุปหาฉันทามติ ผลการวิจัยพบว่าอนาคตภาพของวิชาถ่ายภาพ สำหรับหลักสูตรศิลปศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตใน ทศวรรษหน้าควรมีลักษณะดังนี้ 1) ด้านจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ มีองค์ความรู้ด้านการถ่ายภาพ สร้างสรรค์ผลงานอย่างมีสุนทรียภาพ ทันต่อเทคโนโลยี สามารถถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ได้ 2) ด้านเนื้อหาควรมี เนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพเบื้องต้น องค์ประกอบศิลป์ การปรับแต่งภาพ ประวัติศาสตร์และการวิจารณ์ โดย เน้นการปฏิบัติและการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนควรประกอบด้วยภาคบรรยายและ ปฏิบัติ 4) ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ควรจัดให้มีกล้องถ่ายภาพ อินเตอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ โปรแกรมนำเสนอผลงาน เครื่องฉายภาพและโปรแกรมตกแต่งภาพที่เกี่ยวข้อง 5) ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนควรมีการ เรียนทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนและห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ 6) ด้านการวัดประเมินผล ประเมินจากโครงงาน พฤติกรรม ผลงานและพัฒนาการ โดยการสังเกต การทดสอบและการพูดคุย ครูและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ ประเมิน 7) ด้านผู้สอนควรพัฒนาตัวเอง ติดตามเทคโนโลยี รอบรู้ เข้าใจผู้เรียน มีประสบการณ์การถ่ายภาพ มี คุณธรรมจริยธรรม 8) ด้านผู้เรียนควรมีพื้นฐานศิลปะและการถ่ายภาพ มีความสนใจในการเรียน ศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองได้ 9) ด้านแหล่งค้นคว้าควรจัดให้มีแหล่งค้นคว้าที่พอเพียง เช่น สื่อวีดีโอ ห้องสมุด หนังสือและ ตัวอย่างถ่ายภาพ 10) ด้านความต้องการของอาชีพคือเมื่อจบแล้วทำให้เป็นครูศิลปะที่มีความรู้รอบ 11) ด้าน อุปสรรค พบว่ายังขาดแคลนอุปกรณ์ การบำรุงรักษา งบประมาณ บุคลากรที่มีความสามารถ การเห็น ความสำคัญของวิชาจากสถาบัน การออกแบบรายวิชาให้ตรงกับความต้องการของสังคมและความเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ สถาบันการศึกษาจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้าน เทคโนโลยี สถานที่ สื่อและแหล่งค้นคว้าที่ทันสมัย ผู้สอนควรมีความเข้าใจบริบทของศิลปศึกษา การถ่ายภาพ เทคโนโลยี การประเมินผลและเนื้อหาควรมีการบูรณาการแกนความรู้ของวิชาศิลปศึกษาแบบยึดหลักเกณฑ์เป็น พื้นฐาน (DBAE)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the future of Photography Course for the Art Education Programs at the undergraduate level in the next decade. The researcher used In-Depth Interview technique for this research. The research samples consisted of 3 specialists from Academic Course Development Field, 3 instructors in Art Education Field, 3 instructors teaching courses in relation to Photography in Art Education Programs, 3 Photographic instructors with the Bachelor Degree in Art Education, 6 Photographic instructors with Fine Art Degree and 2 professional photographers with the Bachelor Degree in Art Education. The data were analyzed by means of the consensus from the interviews. The results shown that the future of Photography Course for the Art Education Programs at the undergraduate level in the next decade were 1) the objectives were to gain knowledge and skills in photography, to be able to create aesthetic products, to be prepared for technological changes, 2) the contents should cover of the basic photography, art composition, history of photograph, art criticism, retouch techniques, and the emphasis on practical and project-based learning, 3) the teaching methods should be both lecturing and practicing, 4) the instructional media were cameras, the internet, online social networks, presentation programs, high-quality projectors and related software, 5) the learning environments should include learning in the classroom, field trips and photography studios, 6) the evaluation should be considered from the project, the behavior, the product and the students' development by means of observing, testing and group discussion, 7) the instructors should be selfdevelopment, keep track with technology, be intelligent, understand student differences, obtain photography experiences, goodness and morality, 8) the students should know basics of art and photography, concentrate on studying, self-study, and research, 9) the learning resources were videos, library, books and sample photographs, 10) the occupational demand was being capable art teachers, and 11) the barriers were the lacks of equipment, maintenance, budget, competent instructors, realization of the importance of the course by the institution, and the course design that matched social demand and technological change. The research suggests that the institutions should be prepared technologies, learning environment, media and up-to-date information resources, the teachers should understand the context of Art Education, Photography, Technology and Evaluation, and the courses should be integrated with Discipline-Based Art Education approach.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2256-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectศิลปกรรม -- หลักสูตรen_US
dc.subjectการถ่ายภาพen_US
dc.subjectการวางแผนหลักสูตรen_US
dc.subjectArt -- Study and teachingen_US
dc.subjectArt -- Education -- Curriculaen_US
dc.subjectPhotographyen_US
dc.subjectCurriculum planningen_US
dc.titleอนาคตภาพของวิชาถ่ายภาพ สำหรับหลักสูตรศิลปศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิตในทศวรรษหน้าen_US
dc.title.alternativeA future scenario of photography course for art education programs at the undergraduate level in the next decadeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorIntira.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorAmpai.Ti@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2256-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worapun Surasawadee.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.