Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม-
dc.contributor.authorวีรนุช เหล่าเมธากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-23T07:36:29Z-
dc.date.available2019-11-23T07:36:29Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63994-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการสร้างความหมายในงานภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพ วิททอริโอ สโตราโร วิเคราะห์แนวความคิดด้านจิตรกรรมของศิลปะยุคบาโรกและทราบถึงลักษณะของภาพจิตรกรรมบาโรก ที่ปรากฏในงานกำกับภาพของ วิททอริโอ สโตราโร โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหาจากภาพยนตร์ จำนวน 8 เรื่องที่กำกับภาพโดย วิททอริโอ สโตราโร ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง The Conformist (1971), Last Tango in Paris (1972), Apocalypse Now (1979), Reds (1981), The Last Emperor (1987), Dick Tracy (1990), Little Buddha (1993) และ Caravaggio (2007) ผลการวิจัยพบว่าลักษณะของภาพจิตรกรรมบาโรกที่ปรากฏในงานกำกับภาพของ วิททอริโอ สโตราโร ซึ่งแสดงให้เห็นคู่ขัดแย้งระหว่างแสงและเงา ความสว่างและความมืด การสื่อความหมายผ่านคุณสมบัติของแสงธรรมชาติและแสงสังเคราะห์ คุณสมบัติของสีและการจัดองค์ประกอบภาพแบบจิตรกรรม โดยลักษณะในงานจิตรกรรมบาโรก จิตรกรมุ่งถ่ายทอดความสมจริงและสำรวจการปะทะกันระหว่าง ‘ความเป็นกับความตาย’ ‘ความดีกับความชั่ว’ และ ความเป็นมนุษย์กับพระเจ้า’ ผ่านการใช้มุมมองและเส้นแสงเงาที่อยู่รวมกันอย่างกลมกลืนในภาพ เทคนิคนี้เรียกว่า ”เคียรอสคูโร” ซึ่งแปลตาม ศัพท์ว่า การเขียนแสง ความขัดแย้งระหว่างแสงและเงาที่กระทบวัตถุหรือตัวละครถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์ โดยเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง ‘ความเป็นปัจเจกบุคคลกับระบอบสังคม' ตัวอย่างเช่น ในภาพยนตร์เรื่อง The Conformist (1971) แสงและเงาแบ่งแยกโลกของมาเซลโลที่เขาอยู่กับระบอบฟาสซิสต์ ในภาพยนตร์เรื่อง Reds (1981) แสงและเงาแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “แจ็คกับระบบคอมมิวนิสต์" นอกจากนี้เทคนิคการจัดแสงเคียรอสคูโรยังแสดงถึง ‘ความมีสติกับจิตใต้สำนึก ความคิดที่ซ่อนเร้นของมนุษย์’ การแสดงถึงด้านมืดและความรุนแรงภายในจิตใจ ช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การจมอยู่กับความทุกข์และความโศกเศร้า สภาวะไม่มั่นคงของจิตใจ ความรุนแรงและความทุกข อีกทั้งยังใช้สร้างบรรยากาศของภาพแสดงถึงอันตรายที่แฝงในความมืด ทั้งหมดนี้ปรากฏอย่างชัดเจนในภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องที่กำกับภาพโดย วิททอริโอ สโตราโรen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to understand the meaning construction in the cinematographic work of Vittorio Storaro, to analyze the concept of Baroque painting in order to understand the characteristics of Baroque painting in the work of Storaro. This is a qualitative research, using content analysis of 8 films that have Vittorio Storaro as cinematographer (D.O.P.). These films include The Conformist (1971), Last Tango in Paris (1972), Apocalypse Now (1979), Reds (1981), The Last Emperor (1987), Dick Tracy (1990), Little Buddha (1993) and Caravaggio (2007). The findings of the research are as follows. The characteristics of Baroque painting that appear in the cinematographic work of Vittorio Storaro clearly express the binary oppositionhe lighting pattern in The Conformist (1971) separates Marcello from the real world he lives in and the world of fascism. In Reds (1981), the relationship between “Jack and Communism”. It is conveyed by the light and shadow to suggest “consciousness and sub-consciousness” which is hidden in the human mind. The dark side and brutality in the mind, the changing life style, the saddened world and finally, the unstable state of mind, violence and sadness. Chiaroscuros Lighting can demonstrate the outstanding of danger which is hidden in darkness. All of these films are cinematographic work of Vittorio Storaro.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2229-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสโตราโร, วิททอริโอen_US
dc.subjectภาพยนตร์ -- การผลิตและการกำกับรายการen_US
dc.subjectศิลปกรรมกับภาพยนตร์en_US
dc.subjectจิตรกรรมบาร็อคen_US
dc.subjectStoraro, Vittorioen_US
dc.subjectMotion pictures -- Production and directionen_US
dc.subjectArt and motion picturesen_US
dc.subjectPainting, Baroqueen_US
dc.titleลักษณะของจิตรกรรมบาโรกในงานภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพ วิททอริโอ สโตราโรen_US
dc.title.alternativeCharacteristics of baroque paintings in the cinematographic work of Vittorio Storaroen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการภาพยนตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRuksarn.v@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2229-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weeranuch_Laometakone.pdf10.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.