Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6427
Title: | การวิเคราะห์แบบจำลองฟันในทันตกรรมจัดฟันด้วยคอมพิวเตอร์ |
Other Titles: | Computerized orthodontic model analysis |
Authors: | อัญจิดา ทองทิอัมพร |
Advisors: | กนก สรเทศน์ พรทิพย์ ชิวชรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanok.S@chula.ac.th Porntip.C@chula.ac.th |
Subjects: | ฟัน -- ฐานข้อมูล ทันตกรรมจัดฟัน -- ฐานข้อมูล ฟัน -- แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ทันตกรรมจัดฟัน -- แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บฐานข้อมูลผู้ป่วย สามารถสืบค้นได้และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยในการวิเคราะห์แบบจำลองฟัน ซึ่งมีวิธีวิเคราะห์ที่มีความหลากหลาย เช่น การวิเคราะห์ขนาดฟันด้วยวิธีวิเคราะห์ของบอลตัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทันตแพทย์จัดฟันส่วนใหญ่นิยมใช้ และมีประโยชน์ในการวางแผนการรักษา การทำนายผลรวมของขนาดฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งและฟันกรามน้อยซี่ที่สองในฟันชุดผสม การวิเคราะห์ขนาดของแนวโค้งฟันซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับ ค่ามาตรฐานของคนไทยและคนผิวขาวได้ รวมทั้งวิเคราะห์เนื้อที่สำหรับการเรียงตัวของฟันด้วย เพื่อผู้ใช้สามารถเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งมีแฟ้มรูปภาพของผู้ป่วย ที่มีการแบ่งแยกจัดเก็บอย่างชัดเจนครอบคลุมทั้งรูปภาพใบหน้าผู้ป่วย รูปภาพในช่องปากผู้ป่วย และรูปภาพแบบจำลองฟัน พร้อมกันนี้ได้มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีการจัดแบ่งความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลควรมี เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเก็บข้อมูลแบบจำลองฟันในคอมพิวเตอร์ของ ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในอนาคตอาจมีการพัฒนาให้มีการจัดเก็บแบบจำลองฟันสามมิติต่อไป |
Other Abstract: | To design a database software for orthodontic patients. The main facility of this software is model analysis such as Bolton's analysis, a tooth-size analysis commonly used as a diagnostic tool in orthodontic treatment. Furthermore, there are many analyses for prediction of unerupted teeth in mixed dentition and arch size analysis for Thai and White patients. Various analyses in the software is helpful for orthodontist to choose appropriate outcome for patients. Moreover, there are photograph files for dental models, extraoral and intraoral photographs for each patient divided into pretreatment, during-treatment and posttreatment photographs. In addition, there is a security system for the database, dividing the access to the data by appropriated group which is usually available in regular database software. However, this is the first attempt to transfer database of orthodontic patients in Orthodontic Department of the Faculty of Dentistry in Chulalongkorn University. Perhaps there will be three-dimensional orthodontic model analysis in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ทันตกรรมจัดฟัน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6427 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1300 |
ISBN: | 9741741561 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1300 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anjida.pdf | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.