Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64393
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์-
dc.contributor.authorเกียรติพิเชษฐ์ โคมิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทย์ศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-22T08:19:13Z-
dc.date.available2020-03-22T08:19:13Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740302521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64393-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544-
dc.description.abstractการผ่าตัดแก้ไขข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัขเพื่อให้เบ้ากระดูกเชิงกรานสวมคลุมหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นได้มากขึ้นโดยประยุกต์ใช้สกรู 2 ตัว ในการยึดกระดูกเชิงกรานที่ปรับแนวกระดูกภายหลังการตัดที่ pubis ischium และ ilium การศึกษาทำในสุนัข 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสุนัขทดลองที่มีข้อสะโพกปกติจำนวน 5 ตัว และกลุ่มที่สองเป็นสุนัขป่วยที่มีข้อสะโพกเจริญผิดปกติจำนวน 8 ตัว การประเมินผลพิจารณาจากอาการเดิน การตรวจคลำข้อสะโพก และลักษณะของข้อสะโพกจากภาพถ่ายรังสีในท่ามาตรฐานที่ 0, 2, 4, 6, 8,12,16, 20 และ 24 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด โดยสังเกตอาการของสุนัขที่ 8 และ 12 สัปดาห์ ในการเดิน และการรับนํ้าหนักของขาหลังข้างที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกเชิงกราน ตรวจคลำ ortolani sign และอาการเจ็บเมื่อหุบ (adduction) หรือกาง (abduction) ข้อละโพกข้างที่ผ่าตัด รวมทั้งตรวจการบิด (rotation) เข้า (inward) และออก (outward) ของขาหลังข้างที่ผ่าตัด จากการคำนวณ Dorsolateral Subluxation score (DLS score) เพื่อประเมินการสวมคลุมหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นของเบ้ากระดูกเชิง กรานจากภาพถ่ายรังสีของสุนัขทุกตัวก่อนและภายหลังผ่าตัด พบว่าค่าเฉลี่ยของ DLS score ในกลุ่มสุนัขทดลองก่อนผ่าตัดมีค่าเท่ากับ 64 และภายหลังผ่าตัดที่ 0, 2, 4, 6, 8, 12,16, 20 และ 24 สัปดาห์ มีค่าเท่ากับ 89, 89, 89, 90, 90, 88, 90, 90 และ 87 ตามลำดับ ในกลุ่มสุนัขป่วยมีค่าเฉลี่ย DLS score ก่อนผ่าตัดเท่ากับ 39 และภายหลังผ่าตัดมีค่าเท่ากับ 80, 92, 95, 97, 99, 98, 97, 97 และ 93 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติโดย paired t-test พบว่า ค่าเฉลี่ย DLS score ภายหลังผ่าตัดของสุนัขทั้งสองกลุ่มแตกต่างจากค่าเฉลี่ย DLS score ก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) จากการวิเคราะห์การเดินของสุนัข พบว่าในสัปดาห์ที่ 8 ภายหลังผ่าตัดสุนัขทดลองเดินได้ดี 4 จาก 5 ตัว (80%) ส่วนสุนัขป่วยที่มารับการตรวจ 7 ตัว เดินได้ดี 2 ตัว (25%) สุนัขทดลองทุกตัว (100%) เดินได้ดีตั้งแต่สัปดาห์ที 12 ในขณะที่ลุนัขป่วยเดินได้ดี 5 จาก 8 ตัว(62.5%) ส่วน 2 ใน 3 ตัวที่เหลือเดินได้ดีเมื่อ 16 สัปดาห์ และอีก 1 ตัว เดินได้ดีที่ 24 สัปดาห์ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการใช้สกรูเพียงอย่างเดียวสามารถตรึงกระดูกเชิงกรานที่ถูกปรับแนวกระดูกภายหลังการตัด 3 แห่งได้อย่างมั่นคงในการแก้ไขข้อสะโพกเจริญผิดปกติ ถึงแม้ว่าจะมีสกรูทอนในสุนัขป่วย 2 ราย แต่หัวกระดูกขาหลังส่วนต้นยังคงอยู่ในเบ้ากระดูกเชิงกราน และสุนัขสามารถใช้ขาได้เป็นปกติ-
dc.description.abstractalternativeThe correction of canine hip dysplasia in order to increase the covering area of the acetabulum over the femoral head by using 2 screw fixation of the plane-adjusted pelvis after pubic, ischial and ilial osteotomies was studied in 2 groups of dogs. The first group consisted of 5 normal experimental dogs while the second group was a group of 8 hip dysplatic dogs. The result was evaluated from animal gait, hip palpation and radiographic findings in standard position at 0, 2, 4, 6, 8. 12, 16, 20 and 24 weeks after the operation. At 8 and 12 weeks after the operation, animal gait and weight bearing of the operated hind limbs were evaluated. Ortolani sign, pain during adduction and abduction, inward and outward rotation of the operated hip were also examined. To evaluate the degree of acetabular covering over the femoral head, dorsolateral subluxation (DLS) scores of the operated hips were calculated from the radiographic findings before and after the operation. The DLS score mean of the experimental group before the operation was 64 and means after the operation were 89, 89, 89, 90, 90, 88, 90, 90 and 87 at 0, 2, 4, 6, 8,12, 16, 20 and 24 weeks respectively. In the patient group, the DLS score mean before the operation was 39 and means after the operation were 80, 92, 95, 97, 99, 98, 97, 97 and 93 at 0, 2, 4, 6, 8, 12, 16, 20 and 24 weeks respectively. By paired t-test, the DLS score means at every intervals after the operation of both groups were significantly (p<0.05) different from the DLS score means before the operation. At 8 weeks after the operation, 4 experimental and 2 hip dysplatic dogs had normal gait of the operated limbs. All experimental dogs (100%) and 5 of 8 hip dysplatic dogs (62.5 %) had normal gait of the operated limbs at 12 weeks. 2 of the rest 3 dysplatic dogs had normal gait at 16 weeks while the last one walked normally at 24 weeks. In conclusion, screw fixation can be solely used to stabilize the osteotomized pelvis for the correction of canine hip dysplasia. Although 2 dogs had screws loosen, the femoral heads still stayed within the acetabuli and they could use their limbs normally.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสุนัข -- กระดูกเชิงกราน-
dc.subjectสุนัข -- ศัลยกรรม-
dc.subjectDogs -- Pelvic bones-
dc.subjectDogs -- Surgery-
dc.titleการประยุกต์การยึดกระดูกเชิงกรานภายหลังตัดเพื่อแก้ไขข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัข-
dc.title.alternativeModified fixation of osteotomized pelvis for hip dysplasia repair in dogs-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kiatpichet_ko_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ831.08 kBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1701.6 kBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_ch3_p.pdfบทที่ 3957.77 kBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_ch4_p.pdfบทที่ 41.63 MBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_ch5_p.pdfบทที่ 5776.29 kBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_ch6_p.pdfบทที่ 6659.12 kBAdobe PDFView/Open
Kiatpichet_ko_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.