Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64448
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorธิดารัตน์ บุญนุช-
dc.contributor.authorภัทริยา งามมุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-25T14:27:56Z-
dc.date.available2020-03-25T14:27:56Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741705425-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64448-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 10 ด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 1. ด้านจารีตประเพณี 2. ด้านขนบประเพณี 3. ด้านธรรมเนียมประเพณี 4. ด้านการเรียน 5. ด้านสังคมและเพื่อน 6. ด้านศาสนา 7. ด้านศิลปะ 8. ด้านการเมือง 9. ด้านการใช้ภาษา 10. ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน ใช้วิธีดำเนินการ'วิจัยเชิงบรรยาย โดยวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างแบบประเมินคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษา และนำไปใช้กับนิสิตนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,070 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที (t-test) และสถิติทดสอบเอฟ (f-test) ผลการ วิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาในปัจจุบัน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยด้านการชื่นชม เทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้านการมีนํ้าใจ การยิ้มแย้มแจ่มใส ความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา ครูอาจารย์ สุภาพ อ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ อยู่ในระดับมาก โดยมีคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยด้านการเมืองมีค่าเฉลี่ยสุงสุดคือ 4.15 2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาพบว่า 2.1 คุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยส่วนกลางและกรุงเทพมหานครกับมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค พบว่านิสิตนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านิสิตนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในส่วนกลางและกรุงเทพมหานครทุกด้านคุณลักษณะและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งสิ้น 8 ด้านคุณลักษณะและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งสิ้น 2 ด้านคุณลักษณะ 2.2 คุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน พบว่านิสิตนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของเอกขนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านิสิตนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 9 ด้านคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งสิ้น 9 ด้านคุณลักษณะ และมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งสิ้น 1 ด้านคุณลักษณะ 2.3 คุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยของนิสิตนักศึกษาระหว่างสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่านิสิตนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาที่แตกต่างกันมีคุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้านคุณลักษณะ-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study Thai cultural characteristics of students in higher education institutions under the supervision of the Ministry of University Affairs. The quantitative research methodology was implemented. Content analysis was first conducted, and then a questionnaire evaluating students’ ten aspects of cultural characteristics was adopted. The ten characteristics include i) behavior trait, ii) social convention, iii) tradition, iv) study habit, v) social and peer system, vi) religion, vii) arts, viii) political aspect ix) language usage and x) daily’s life routine. The samples of 3.070 students were tested. T-test and f-test were employed. The following results were yielded. 1. The present student population was found to earn high score levels in a number of Thai cultural characteristics, especially deep appreciation and respect for the three principal institutions, namely the nation, the religion, and the monarchy; generosity; amiability; deep gratitude to parents as well as teachers; courtesy; and timeliness as well as propriety. Of all the characteristics, the political aspect ranked the highest at 4.15. 2. The results of the comparison revealed that 2.1 Students in the regions obtained higher score levels than those เท Bangkok and Central region in all aspects. There were statistically significant differences for eight characteristics (p<0.05), while there was no statistical difference at the level of 0.05 for the other two characteristics. 2.2 Students in private universities and colleges obtained higher score levels than those in public ones. There were statistically significant differences for nine Thai cultural characteristics (p<0.05). However, there was no statistically significant difference at the level of 0.05 for one characteristic. 2.3 When comparing students studying in different fields of studies, it was found that there were statistically significant differences for all characteristics (p<0.05).-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.265-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวัฒนธรรมen_US
dc.subjectวัฒนธรรมไทยen_US
dc.subjectนักศึกษา--ไทยen_US
dc.subjectCultureen_US
dc.subjectStudents--Thailanden_US
dc.titleการวิเคราะห์คุณลักษณะทางวัฒนธรรมไทย ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeAn analysis of Thai cultural characteristics of students in higher education institutions under the Ministry of University Affairsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisordwallapa@dpu.ac.th-
dc.email.advisorThidarat.B@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.265-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patariya_ng_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ930.74 kBAdobe PDFView/Open
Patariya_ng_ch1_p.pdfบทที่ 11.3 MBAdobe PDFView/Open
Patariya_ng_ch2_p.pdfบทที่ 23.26 MBAdobe PDFView/Open
Patariya_ng_ch3_p.pdfบทที่ 31.04 MBAdobe PDFView/Open
Patariya_ng_ch4_p.pdfบทที่ 42.76 MBAdobe PDFView/Open
Patariya_ng_ch5_p.pdfบทที่ 51.74 MBAdobe PDFView/Open
Patariya_ng_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.