Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64816
Title: การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด
Other Titles: Data usage and management in building information modelingfor condominium facility management
Authors: มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาความต้องการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) ในการบริหารจัดการอาคารชุด (Condominium) จากปัญหาปัจจุบันในการกำหนดระดับการพัฒนาตามทฤษฎีจะเป็นแบบจำลองที่มีความละเอียดสูงสุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการอาคารชุด เพื่อทราบลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้จริง และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการข้อมูลด้วยกระบวนการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารที่คาดว่าเหมาะสมกับการบริหารจัดการอาคารประเภทอาคารชุด ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีลักษณะงานการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพอาคารชุด และทฤษฎีการใช้ประโยชน์แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Uses) ในช่วงการบริหารจัดการอาคาร เพื่อใช้ในการสร้างแบบสอบถามและนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างในองค์กรที่มีแนวโน้มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการบริหารจัดการอาคารชุด โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี จาก ผู้จัดการอาคารชุด จำนวน 35 คน และผู้จัดการวิศวกรรม จำนวน 30 คน เพื่อทราบถึงลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้เพื่อการบริหารจัดการอาคาร รวมถึงได้ทำการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคารจำนวน 5 คน เพื่อทราบถึงแนวทางการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคารในช่วงการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษา ชี้ว่าผู้จัดการอาคารชุดจากกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอาคารชุด โดยมีมุมมองที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการซ่อมบำรุง ลักษณะข้อมูลที่ผู้จัดการอาคารเลือกใช้ในวางแผนการบริหารจัดการอาคารชุดมากที่สุดคือเรื่อง กราฟิกในแบบ 2 มิติ ส่วนผู้จัดการวิศวกรรมอาคารเลือกลักษณะข้อมูลในวางแผนการปฏิบัติงานมากที่สุดคือเรื่อง ที่ไม่ใช่กราฟิก คือเอกสารข้อมูล และผลจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านแบบจำลองสารสนเทศอาคาร พบว่าการจัดการข้อมูลในช่วงบริหารจัดการอาคารควรมีลักษณะที่ต้องลดทอนข้อมูลให้น้อยเฉพาะที่ต้องการใช้ เพื่อการจัดการข้อมูลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This study aims to survey the requirements for BIM uses in condominium facilities management.  The purpose is to find the conclusion for the development of BIM data preparation for condominium management. The author studied theory of condominium facilities management and theory of BIM uses in building management for formulating a questionnaire.  The survey was conducted among 35 facilities managers who have more than 5-years work experience in organizations as well as the 30 engineering managers that tend to use BIM in facility management. In order to find out the trend of BIM facility management the 5 BIM consultants were also interviewed. The questionnaire focused on their opinions on the importance of applying BIM technology in condominium facilities management. The results showed that the facilities managers realized the importance of BIM usage in condominium facility management. The main aspects from the feedback were the using technologies to support for the maintenance planning. In their view BIM would be most useful for preventative maintenance planning and 2D graphic was the most chosen data format for condominium facilities planning and management.  Meanwhile, most of the engineering managers preferred data format instead of graphic.  From the results of interview, using only needed data could be the most effective for BIM in condominium facilities management.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64816
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1386
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1386
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073369325.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.