Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64898
Title: Policy for sustainable informal transport - a case study of feeder services in Bangkok, Thailand
Other Titles: นโยบายเพื่อความยงั่ยนืของระบบขนส่งอย่างไม่เป็นทางการ กรณีศึกษาการให้บริการเชื่อมต่อในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
Authors: Chutaporn Amrapala
Advisors: Kasem Choocharukul
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Kasem.Choo@Chula.ac.th
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: One informal public transport service in Bangkok is Silor (SR), given the meaning in Thai as four-wheeler.  SR facilitates urban mobility both in terms of major travel mode and feeder bus and mass transit lines in the city.  This research aims to investigate service characteristics and challenges of SR service, identify factors affecting the use and non-use of SR, explore travel behavior and attitudes to determine service delivery gaps in order to propose policy recommendations for the better functioning of SR service.  Interviews are conducted through questionnaire survey to collect data from supply side, including drivers and regulators, and demand sides, which involves both users and non-users.  Five SR routes are selected for study namely, Bangbon-Taladplu, Siriraj-Taladplu, Charansanitwong-Klongsan, Vibhavadi-Rachadapisek, and Sukhumvit Soi 39.  Findings from supply side reveal challenges in terms of work hour, working condition, registration of vehicles and drivers, experiences when called by polices as well as competitions among transport modes.  For demand side, reasons for using SR are convenience, accessibility, and cheap fare whereas difficulties for non-users seem to associate with connection, transfer and crowdedness.  Importance-performance analysis are performed with users’ attitudes on service quality and found that reliability, connection and transfer, seat availability and fare are the aspects of high importance and highly satisfied while safety and security seem to be of high importance but low satisfaction.  In addition, exploratory factor analysis and logistic regression model illustrate the four service factors that significantly affect the overall satisfaction of users, including reliability, in-vehicle environment, comfort and convenience, and environmental impact.  Further, the study applies user segmentation through cluster analysis based on the obtained factors which results in four user subgroups having diverse profiles and expectations.  Moreover, travel behavior and perceptions of Thai and Japanese SR users are comparatively analyzed and considerable variations among them are found.  For sustainability aspects, travelling by SR is more desirable than alternative modes in terms of less commute time, more affordable, less energy consumption and emissions; however, there still need more attention on provision of affordable, reliable, comfort and convenient services to users of all socioeconomic groups.  Most feasible options for future policy suggest transport authorities and relevant sectors in formalizing and integrating SR into urban transportation network in order to provide society with efficient alternative mode for a sustainable means of travelling.
Other Abstract: รถสี่ล้อเล็กเป็นบริการรูปแบบหนึ่งของระบบขนส่งอย่างไม่เป็นทางการในกรุงเทพมหานคร อำนวยความสะดวกทั้งในการเดินทางหลักและการเดินทางสำหรับเชื่อมกับระบบขนส่งอื่น เช่น รถเมล์และระบบขนส่งมวลชน  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะรูปแบบการให้บริการรถสี่ล้อเล็ก ปัญหา ความท้าทายในการให้บริการ ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการและไม่ใช้บริการรถสี่ล้อเล็ก ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางและทัศนคติเพื่อทราบปัจจัยที่สามารถนำไปปรับปรุงการให้บริการ และเสนอแนะแนวทางสำหรับจัดทำนโยบายการพัฒนาการให้บริการรถสี่ล้อเล็กต่อไป งานวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามจากผู้ให้บริการรถสี่ล้อเล็ก ผู้ใช้บริการรถสี่ล้อเล็ก และผู้ที่ไม่ใช้บริการ รวมทั้งสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) จากหน่วยงานที่กำกับดูแลสี่ล้อเล็ก การศึกษาครอบคลุมการให้บริการรถสี่ล้อเล็ก จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ บางบอน-ตลาดพลู  ศิริราช-ตลาดพลู  จรัญสนิทวงศ์-คลองสาน วิภาวดี-รัชดาภิเษก และ สุขุมวิท ซอย 39 พบว่าประเด็นที่น่าสนใจจากผู้ให้บริการรถสี่ล้อเล็ก ประกอบด้วย ระยะเวลาในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน การขึ้นทะเบียนรถและผู้ให้บริการ ประสบการณ์ตำรวจเรียกจับ และการทับซ้อนเส้นทางกับรูปแบบการให้บริการขนส่งสาธารณะอื่นๆ ผู้ใช้บริการเลือกใช้บริการรถสี่ล้อเล็กเนื่องด้วยเหตุผลอันดับแรก คือ ความสะดวกสบาย การเข้าถึงได้ง่าย และราคาถูก ตามลำดับ สำหรับผู้ที่ไม่ใช้บริการรถสี่ล้อเล็กมีเหตุผลอันดับแรก คือ การต่อรถ การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง และผู้โดยสารหนาแน่น ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความสำคัญ-ผลการดำเนินงาน (Importance-Performance Analysis) จากทัศนคติของผู้ใช้บริการรถสี่ล้อเล็ก พบว่าปัจจัยความน่าเชื่อถือของการบริการ การเชื่อมต่อ การได้ที่นั่ง และค่าโดยสาร เป็นปัจจัยที่ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญและมีความพึงพอใจ  ส่วนปัจจัยด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นปัจจัยที่ผู้ใช้บริการเห็นว่ามีความสำคัญแต่พึงพอใจระดับต่ำ  การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และโมเดลการถดถอยโลจิสติก (Logistic regression model) พบว่าปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความพึงพอใจในการให้บริการโดยรวม ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือของการให้บริการ สภาพแวดล้อมภายในรถ ความสะดวกสบาย และผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  ต่อจากนั้น ได้วิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster Analysis) ผู้ใช้บริการ ได้จำนวน 4 กลุ่ม โดยใช้ตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มมีข้อมูลการเดินทางและความคาดหวังที่แตกต่างกัน  นอกจากนี้ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเดินทางและทัศนคติต่อการให้บริการระหว่างผู้ใช้บริการรถสี่ล้อเล็กชาวไทยและชาวญี่ปุ่น พบว่าผู้ใช้บริการทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างในปัจจัยต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ด้านความยั่งยืนของการให้บริการ เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบทางเลือกอื่นพบว่าการเดินทางโดยรถสี่ล้อเล็กใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่า ค่าโดยสารอยู่ในระดับที่สามารถจ่ายได้มากกว่า การสิ้นเปลื้องน้ำมันเชื้อเพลิงและการปล่อยมลพิษน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาปัจจัยการให้บริการรถสี่ล้อเล็กเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ในด้านความสามารถในการจ่ายค่าโดยสาร ความน่าเชื่อถือของการให้บริการ และความสะดวกสบาย  ทั้งนี้ ได้เสนอแนะแนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนนโยบายในอนาคตเพื่อจัดระเบียบและรวมประสานรถสี่ล้อเล็กเข้ากับระบบโครงข่ายการเดินทางในเมือง เพื่อให้สังคมมีทางเลือกการเดินทางที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environment, Development and Sustainability
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64898
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.220
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.220
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987760920.pdf14.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.