Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65049
Title: | การใช้เถ้าแกลบผสมปูนซีเมนต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของคอนกรีต |
Other Titles: | Use of rice husk ash blended with cement for quality improvement of concrete |
Authors: | ภาณุพงศ์ พงษ์พิทักษ์กุล |
Advisors: | ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล ศักดิ์ประยุทธ สินธุภิญโญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tawatchai.C@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งการนำเถ้าแกลบมาผสมในปูนซีเมนต์โดยทำการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการวิจัย เพื่อปรับปรุงคุณภาพคอนกรีต โดยอาศัยกลไกการเกิดปฏิกิริยาปอซโซลานนิก และ การปรับปรุงคุณสมบัติการกระจายตัวของเถ้าแกลบที่เหมาะสม เถ้าแกลบที่ใช้มีโครงสร้างที่ได้มีปริมาณซิลิกาที่เป็นอสัณฐานร้อยละ 96.96 โดยมวล ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความละเอียดของเถ้าแกลบและสัดส่วนการผสมเถ้าแกลบต่อปูนซีเมนต์โดยมวล มีผลต่อการปรับปรุงคุณภาพของคอนกรีต ซึ่งพิจารณาจากความต้านแรงอัดของคอนกรีตที่อายุ 3, 7 และ 28 วัน ความต้านแรงอัดของมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกที่อายุ 1, 3, 7 และ 28 วัน และระยะเวลาก่อตัวของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกโดยใช้เข็มไวแคต ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของความละเอียดของเถ้าแกลบด้วยหม้อบดในห้องปฏิบัติการ (Lab mill) ตั้งแต่ค่าความละเอียด 3,200 ถึง 5,100 ตารางเซนติเมตรต่อกรัม และค่าสัดส่วนการผสมเถ้าแกลบต่อปูนซีเมนต์ร้อยละ 5 ถึง 20 โดยมวล พบว่าค่าความละเอียดของเถ้าแกลบและสัดส่วนการผสมเถ้าแกลบในปูนซีเมนต์มีผลต่อความต้านแรงอัดของคอนกรีตที่อายุ 3, 7 และ 28 วัน ความต้านแรงอัดของมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกที่อายุ 1, 3, 7 และ 28 วัน และระยะเวลาก่อตัวของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกโดนใช้เข็มไวแคต ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่าความละเอียดที่ 5,100 ตารางเซนติเมตรต่อกรัมจะให้ค่ากำลังอัดของคอนกรีตและมอร์ตาร์ ที่มากที่สุดในทุกช่วงอายุที่ค่าสัดส่วนการผสมผสมเถ้าแกลบต่อปูนซีเมนต์ร้อยละ 10 ถึง 15 โดยมวล โดยที่ระยะเวลาก่อตัวของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกโดยใช้เข็มไวแคตยาวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณและขนาดของซิลิกาที่เป็นอสัณฐานที่เหมาะสมทำให้เกิดปฏิกิริยาปอซโซลานนิกและลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีตผสมเสร็จลง ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพของคอนกรีตเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าประเภทมูลค่าเพิ่มสูง นอกจากนี้เป็นการใช้เถ้าแกลบที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
Other Abstract: | This research aims to improve the quality of concrete by mixing rice husk ash (RHA) with cement by making use of Pozzolanic reaction mechanism and the fineness suitable for RHA. The RHA mainly consists of 96.96 percent by weight of amorphous silica. The relationship between RHA fineness and mixing ratio of RHA content affects concrete quality. A ball mill was employed to prepare RHA samples with controlled fineness with a range of 3,200 to 5,100 cm2/g because compressive strength of ready-mixed concrete, mortar compressive strength and hydraulic cement setting time could be affected by the fineness of main constituents . In addition, the mixing ratio of RHA and cement was varied from 5 to 20 percent by weight. Consequently, the effects of RHA fineness and the mixing ratio of RHA and cement on the 3, 7 and 28-day compressive strength of ready-mixed concrete, the 1, 3, 7 and 28-day compressive strength of mortar, and the time of setting of hydraulic cement by Vicat Needle were investigated. With regards to experimental results, RHA with fineness 5,100 cm2/g results in the highest compressive strength of concrete and mortars while the proportion of mixing RHA with cement was 10 to 15 percent by weight. However, this approach took little longer setting time of hydraulic cement due to the fact that amorphous silica within ground RHA was generated by the pozzolanic reaction and reduced water demand in ready-mixed concrete. The improvement of concrete quality to enhance the properties and qualities of the concrete surface, minimize production expenses, and increase the value of high value-added products were experimentally confirmed. As a result, the mixing of RHA, with control of the RHA fineness and mixing ratio between RHA and cement could benefit in production, and environment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65049 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.875 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.875 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870954321.pdf | 8.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.