Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6541
Title: การบริบาลทางเภสัชกรรมในทีมสหสาขาวิชาชีพในหอผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Other Titles: Pharmaceutical care in multidisciplinary team in pediatric ward at Maharat Nakornratchasima hospital
Authors: โสภิตา กีรติอุไร
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
รัตนาพร ภิญโญสโมสร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Aphirudee.H@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เภสัชกรรมคลินิก
การบริบาลทางเภสัชกรรม
เด็ก -- โรค -- การรักษา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพสำหรับผู้ป่วยเด็ก โดยทำการศึกษาในหอผู้ป่วยเด็กเล็ก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ถึง 30 มกราคม 2547 ประชากรตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยในรับใหม่ ณ หอผู้ป่วยเด็กเล็ก การดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมตามรูปแบบที่กำหนดประกอบด้วย การติดตามการใช้ยาโดยการค้นหา แก้ไข หรือป้องกันปัญหาจากการใช้ยา บริการสืบค้นข้อมูลด้านยา การให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผลการยอมรับจากแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และผู้ดูแลผู้ป่วย เวลาที่เภสัชกรใช้ในแต่ละขั้นตอนในการบริบาลทางเภสัชกรรม รวมทั้ง สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรม ผลการวิจัยพบว่าในช่วงเวลาที่ศึกษาเภสัชกรสามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเด็ก 119 ราย โดยสามารถค้นหาปัญหาจากการใช้ยาตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ทั้งหมด 173 ปัญหา ในผู้ป่วย 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.3 ของผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ปัญหาจากการใช้ยาที่พบโดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 ปัญหาต่อผู้ป่วย 1 ราย ปัญหาจากการใช้ยาที่พบได้บ่อย คือ ความคลาดเคลื่อนทางยาจำนวน 39 ปัญหา (ร้อยละ 22.54) การได้รับขนาดยาที่สูงเกินไป 29 ปัญหา (ร้อยละ 16.76) การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา 27 ปัญหา (ร้อยละ 15.61) และการได้รับขนาดยาที่ต่ำเกินไป 25 ปัญหา (ร้อยละ 14.45) ตามลำดับ เภสัชกรให้ข้อเสนอแนะทั้งหมด 205 ครั้ง จำนวนข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับปัญหาจากการใช้ยา 134 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นการให้ข้อเสนอแนะในการปรับเปลี่ยนขนาดยามากที่สุด อัตราการยอมรับข้อเสนอแนะจากทีมสหสาขาวิชาชีพพบว่า เห็นด้วยทั้งหมดร้อยละ 85.82 เห็นด้วยบางส่วนร้อยละ 2.99 และไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะร้อยละ 11.19 เวลาที่เภสัชกรใช้ในการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมมีค่าเฉลี่ยประมาณ 40.9 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย เมื่อนำมาคำนวณหาความต้องการกำลังคนเภสัชกรในการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมในหอผู้ป่วยเด็กเล็กมีค่าเท่ากับ 0.83 คน ส่วนผลสำรวจความคิดเห็นของแพทย์ 10 ราย พยาบาล 16 ราย และเภสัชกร 2 ราย เกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเห็นด้วยกับบทบาทของเภสัชกรที่มีต่อการติดตามความคลาดเคลื่อนในกระบวนการใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา และการจัดทำแบบบันทึกการใช้ยาของผู้ป่วย ในส่วนของความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการดำเนินงานของเภสัชกรในทีมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 82.14
Other Abstract: The purpose of this study was to determine the role of pharmacist in providing pharmaceutical care in multidisciplinary team. This study was done at pediatric ward of Maharat Nakornratchasima Hospital between November 1, 2003 to January 30, 2004. Subjects consisted of pediatric patients who were newly admitted to this ward. The pharmaceutical care services included drug therapy monitoring to identify, resolve or prevent drug therapy problems, drug information services and discharge counseling. The success of implementation was evaluated by physicians, nurses and caregivers in term of their acceptance rate. Time study in each step of pharmaceutical care services was determined. Survey on attitude of heath care team toward the implementation of pharmaceutical care services was also assessed. The service was provided to 119 children, 173 potential or actual drug therapy problems were identified in 67 patients (56.3%); an average of 2.58 problems per patient. The common category of drug therapy problems were medication errors [39 (22.54%)], over-dosage [29 (16.76%)], drug interactions [27 (15.61%)] and subtherapeutic dosage [25 (14.45%)], respectively. Pharmacist performed 205 interventions. Among the 134 interventions were resolved or prevented drug therapy problems, the main interventions were changing of the dose. Most of the interventions were fully accepted (85.82%), whereas 2.99% and 11.19% were partially accepted and unaccepted, respectively. The mean time in providing pharmaceutical care of each patient was 40.9 minutes. Full time equivalent of pharmacist staff in pediatric ward based on time study result was 0.83. Survey on attitude of 10 physicians, 16 nurses and 2 pharmacists toward pharmacist's role and implementation of this service revealed a high acceptance rate for pharmacist's role in monitoring medication errors and creating patient medication record. As many as 82.14% of reporters satisfied to have this model implemented in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6541
ISBN: 9741755899
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sopita.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.