Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorสุรีย์พร เทพาอมรเดช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-08T08:57:02Z-
dc.date.available2008-04-08T08:57:02Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741757794-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6552-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อความสามารถในการทำหน้าที่และความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ที่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 ราย จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกำหนดเรื่องเพศ อายุ และประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายเหมือนกันใน 2 กลุ่มโดยการจับคู่ ได้กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดของชมรมฟื้นฟูหัวใจ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (2542) ประกอบด้วยการออกกำลังกาย การให้ความรู้ในการปฏิบัติตนหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ และการสนับสนุนด้านจิตใจ ดำเนินกิจกรรมจำนวน 4 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยกิจกรรมการออกกำลังกายนั้น ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดของบราวน์และคณะ (Brown et al., 1994) แผนการสอนของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ คู่มือการปฏิบัติตนหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แนวทางการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ และการสนับสนุนทางด้านจิตใจนั้นผู้วิจัยได้แนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของดุ๊ก และแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ ซึ่งเครื่องมือ ทุกชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงแบบวัดซ้ำของแบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของดุ๊กเท่ากับ .99 ส่วนแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ ค่าความเที่ยงเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมีความสามารถในการทำหน้าที่ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมีความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of using cardiac rehabilitation program on functional capacity, and anxiety in patients after coronary artery bypass graft. Samples were 40 patients who followed up at Chest Disease Institute, Bhumibol Adulyadej Hospital and General Police Hospital. The subjects were sampled by a matched and selected into an experimental group and a control group with 20 patients in each group. The two groups were similar in sex, age and left ventricle ejection fraction. The experimental group received a cardiac rehabilitation program, while the control group received a routine nursing care. The research instuments were cardiac rehabilitation program, whild the control group received a routine nursing care. The research instruments were cardiac rehabilitation program developed based on Cardiac Rehabilitation Society of Thailand Guideline (1999) and a literature review. The cardiac rehabilitation program consists of exercise, health education, a lifestyle change and psychological support. The exercise was developed and based on Brown et al. (1994). The health education, a handbook of caring after coronary artery bypass graft, a lifestyle change and psychological support were developed based on literature reviewed. Instruments used were a demographic data form, the Duke Activity Status Index (DASI) and the State Anxiety Inventory (STAI). The instruments were test for the content validity by experts. The reliability were .99 and .85 respectively. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test statistic. Major findings were as follows: 1. The functional capacity of the patients after coronary artery bypass graft receiving the cardiac rehabilitation program was significantly higher than those who received routine nursing care at the .05 level. 2. The anxiety of the patients after coronary artery bypass graft receiving the cardiac rehabilitation program was significantly lower than those who received routine nursing care at the .05 level.en
dc.format.extent5237275 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความวิตกกังวลen
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ผิดปกติen
dc.subjectการฟื้นฟูสมรรถภาพen
dc.subjectศัลยกรรมทางเบี่ยงหลอดเลือดโคโรนารีย์en
dc.titleผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อความสามารถในการทำหน้าที่ และความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจen
dc.title.alternativeEffects of cardiac rehabilitation program on functional capacity, and anxiety in patients after coronary artery bypass graften
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sureeporn.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.