Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65549
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญเรือง เนียมหอม | - |
dc.contributor.author | ชมพูนุท สามารถ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-26T18:31:31Z | - |
dc.date.available | 2020-04-26T18:31:31Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.issn | 9741713363 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65549 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการนำเสนอภาพและข้อความในบทเรียนบนเว็บ เรื่อง พืช ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีรูปแบบการคิด ต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงรียนราชวินิต มัธยม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการให้นักเรียนทั้งหมดทำแบบทดสอบเดอะกรุ๊ป เอมเบดเดดฟิกเกอร์เทสท์(The Group Embedded Figures Test :GEFT) ของโอลท์แมนแรสกินและวิทกิน เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟิลด์ อิรดิเพนเดนซ์ (Field Indipendence : Fl) และกลุ่มฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ (Field Dependence : FD) มากลุ่มละ 45 คน จนได้กลุ่มที่ใช้ในการ ทดลองจำนวนทั้งสิ้น 90 คน แล้วจึงแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน ดังนี้ 1) นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพทีละภาพและข้อความทั้งหมด 2) นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพทั้งหมดและข้อความทีละส่วน 3) นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพและข้อความพร้อมกันทั้งหมด 4) นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพทีละภาพและข้อความทั้งหมด 5) นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพทั้งหมดและข้อความทีละส่วน 6) นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FD เรียนบทเรียนบนเว็บที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพและข้อความพร้อมกันทั้งหมดนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนลองทาง (Two-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่อง พืช ที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพและข้อความที่ต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่อง พืช มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่มีรูปแบบการคิดต่างกันเมื่อเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บเรื่อง พืช ที่มีรูปแบบการนำเสนอภาพและข้อความต่างกันไม่มีผลร่วมกันต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the effects of presentation formats of picture and text in web-based lesson on plant upon learning achievement and retention of mathayom suksa three students with different cognitive styles. The samples were 90 students of Rachwinit Mathayom School in Bangkok 1 They were given the Group Embeded Figures Test (GEFT) to measure field dependence/ independence and randomly divided into SIX experimental groups, each group consisted of 15 students as follows: (1) students with FI studying the presentation format of single picture with full text, (2) students with FI studying the presentation format of all pictures with partial text, (3) students with FI studying the presentation format of all pictures with full text, (4) students with FD studying the presentation format of single picture with full text, (5) students with FD studying the presentation format of all pictures with partial text, and (6) students with FD studying the presentation format of all pictures with full text. The collected data were analyzed using Two - Way Analysis of Variance. The results were as the follows : 1. There was no statistically significant difference at 0.05 level on learning achievement and retention of students learning from web-based lesson with different presentation formats of picture and text. 2. There was statistically significant difference at 0.05 level on learning achievement and retention of students with different cognitive styles learning from web-based lesson . 3. There was no interaction between cognitive styles and presentation formats of picture and text in web-based lesson upon achievement and retention . | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.705 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเรียนการสอนผ่านเว็บ | en_US |
dc.subject | แบบการคิด | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | Web-based instruction | en_US |
dc.subject | Cognitive styles | en_US |
dc.subject | Academic achievement | en_US |
dc.title | ผลของรูปแบบการนำเสนอภาพและข้อความในบทเรียนบนเว็บเรื่อง พืช ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีรูปแแบบการคิดต่างกัน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of presentation formats of picture and text in web-based lesson on plant upon learning achievement and retention of mathayom suksa three students with different cognitive styles | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Boonruang.N@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.705 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chomphoonut_sa_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 786.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chomphoonut_sa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 793.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chomphoonut_sa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chomphoonut_sa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 763.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chomphoonut_sa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 696.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chomphoonut_sa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 833.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chomphoonut_sa_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.