Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65556
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ-
dc.contributor.authorนิธิรัชต์ สงวนเดือน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-26T21:32:57Z-
dc.date.available2020-04-26T21:32:57Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741709579-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65556-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงความสามารถและประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนัก โดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากซังข้าวโพด เปลือกถั่วเหลือง และก้านดอกทานตะวัน ชนิดไม่ปรับสภาพ ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริก ปรับสภาพด้วยฟอร์มัลดีไฮด์ 5% และปรับสภาพด้วยฟอร์มัลดีไฮด์ 37% ความเข้มเข้มข้นของโลหะหนัก (นิกเกิล ทองแดง และสังกะสี) ที่ทำการศึกษา ได้แก่ 5 10 20 และ 50 มก./ล. โดยทำการทดลองแบบแบตช์ จากการศึกษาประสิทธิภาพไนการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียสังเคราะห์ พบว่า เรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากเปลือกถั่วเหลืองมีประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักมากที่สุด รองลงมาคือก้านดอกทานตะวัน และซังข้าวโพด ตามลำดับ ผลของการปรับสภาพทางเคมีไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักเพิ่มมากขึ้นเรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำการศึกษาสามารถกำจัดทองแดง ได้มากกว่า สังกะสี และนิกเกิล ตามลำดับ เรซินแลกเปลี่ยนไอออนมีประสิทธิภาพไนการกำจัดโลหะหนักดีที่สุด ที่ความเข้มข้นเริ่มต้นของโลหะหนักในน้ำเสีย 5 มก./ล. โดยเมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักจะลดลง กลไกหลักในการกำจัดโลหะหนัก คือ การแลกเปลี่ยนไอออนระหว่างเรซินแลกเปลี่ยนไอออนกับไอออนของโลหะหนักในน้ำเสีย และอาจเกิดการดูดติดผิวประกอบด้วย โดยกลไกการดูดติดผิวเป็นไปตามสมการของแลงมัวร์ เรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากเปลือกถั่วเหลือง และก้านดอกทานตะวัน ชนิดไม่ปรับสภาพ มีแนวโน้มสามารถนำมาใช้ทดแทนเรซินสังเคราะห์ได้ โดยมีความสามารถทั้งหมดในการแลกเปลี่ยนไอออน เท่ากับ 5.4 และ 4.5 meq./g. ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThis research investigated the efficiency of heavy metal removal by ion exchange resin made from corn cob, soybean hull and sunflower stalks which was both untreated and treated with hydrochloric, treated with formaldehyde 5% and treated with formaldehyde 37%. The concentration of heavy metals studied (nickel, copper and zinc) was varied at 5,10, 20 and 50 mg./l. by batch experiment. The efficiency of heavy metal removal in synthetic wastewater indicated that the highest efficiency was ion exchange resin made from soybean hull, sunflower stalks and corn cob, respectively. The result indicated that chemical treatment did not enhance the removal efficiency of heavy metal. The aforementioned ion exchange resin had higher efficiency of copper removal than the efficiencies of zinc and nickel, respectively. Ion exchange resin had the highest efficiency at an initial concentration 5 mg./l. When the concentration of heavy metal in wastewater was increased, the efficiency of heavy metal was decreased. The major mechanism of heavy metal removal was ion exchange. The ion exchange resin made from untreated soybean hull and untreated sunflower stalks has possible application for heavy metal removal. Ion exchange resin made from untreated soybean hulls and untreated sunflower stalks had total capacities of 5.4 and 4.5 meq/g., respectively.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนักen_US
dc.subjectการแลกเปลี่ยนไอออนen_US
dc.subjectเรซินแลกเปลี่ยนไอออนen_US
dc.subjectของเสียทางการเกษตรen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Heavy metals removalen_US
dc.subjectIon exchangeen_US
dc.subjectIon exchange resinsen_US
dc.subjectAgricultural wastesen_US
dc.titleการกำจัดโลหะหนักโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากซังข้าวโพด เปลือกถั่วเหลือง และก้านดอกทานตะวันen_US
dc.title.alternativeHeavy metal removal by ion exchange resin made from corn cob, soybean hull and sunflower stalksen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPetchporn.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitirach_sa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ903.58 kBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1668.83 kBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.41 MBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_ch3_p.pdfบทที่ 3840.73 kBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_ch4_p.pdfบทที่ 43.01 MBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_ch5_p.pdfบทที่ 5641.97 kBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_ch6_p.pdfบทที่ 6615.43 kBAdobe PDFView/Open
Nitirach_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.