Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนา พุ่มไพศาล-
dc.contributor.advisorปาน กิมปี-
dc.contributor.advisorศุภวัลย์ พลายน้อย-
dc.contributor.authorพงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-01T04:03:04Z-
dc.date.available2020-05-01T04:03:04Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741757859-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65608-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนากระบวนการถ่ายทอดความรู้ในชนบทของครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรม โดยศึกษาแบบพหุกรณี ซึ่งศึกษาจากครูภูมิปัญญาไทย จำนวน 6 คน และมีพื้นที่ที่ศึกษาใน 5 ภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก ผู้วิจัยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัย รวมทั้งสิ้น 16 เดือน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แนบเจาะลึก การศึกษาเอกสาร และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในชนบทของครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวิธีการจัดสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในชนบทของครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมนั้น พบว่า ครูภูมิปัญญาไทยเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางการเกษตรระดับสูง เคยประสบปัญหาต่าง ๆ อย่างรุนแรง แต่ด้วยความอุตสาหะอีกทั้งเป็นนักคิดและนักปฏิบัติจึงสามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง และได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยองศ์ความรู้ที่ถ่ายทอดได้เน้นการทำการเกษตรกรรมแบบเกษตรกรรมทางเลือก ซึ่งเป็นการทำการเกษตรที่ปฏิเสธการใช้สารเคมี แต่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและใช้วิธีธรรมชาติเป็นหลัก และใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ผู้รับการถ่ายทอดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ประสบปัญหาต่าง ๆ ด้องการรับความรู้และการแกปฏิบัติให้สามารถทำการเกษตรเพื่อลดรายจ่ายให้แก่ครอบครัว ซึ่งทำให้ผู้รับการถ่ายทอดได้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดมลภาวะ จากสารพิษที่เคยใช้อย่างมาก นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐได้ขอความช่วยเหลือจากครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมในการกำหนดแนวนโยบายและการอบรมประชาชน 2. กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในชนบทของครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรม 6 กรณีศึกษา โดยสรุปพบว่ามี 6 ขันตอนได้แก่การประมวลปัญหาและความต้องการของผู้รับการถ่ายทอด การปรับเปลี่ยนวิธีคิด การพัฒนา โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรม การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ การฝึกปฏิบัติและศึกษาดูงาน และการประเมินผลการนำไปปฏิบัติ โดยครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมแต่ละท่านมีกลวิธีในการถ่ายทอดความรู้ที่แตกต่างกันอาทิ การฝึกอบรมระยะสั้น การสาธิต การบรรยาย การศึกษาดูงาน การแกปฏิบัติ การอภิปรายซักถาม การศึกษาเรียนรู้ ตามอัธยาศัย และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการศึกษาดูงานหรือการฝึกปฏิบัติได้ใช้เครือข่ายของครูภูมิปัญญาไทยที่อยู่ใกล้เคียงร่วมถ่ายทอดในด้านที่เครือข่ายมีความรู้ความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้นำเอาความเชื่อขนบธรรมเนียมในท้องถิ่น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ความเป็นพวกเดียวกัน การไม่เป็นพิธีรีตอง การประเมินด้วยตนเอง การยกย่องให้เกียรติ และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มาใช้ในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study and to develop the knowledge transmission process model of agriculture wisdom holders in multi-cased studies. The samples were 6 agriculture wisdom holders and the study areas were 5 regions of Thailand: the central region, the northern region, the north-eastern region, the southern region and the eastern region. The researcher spent 16 months in data collection, data analysis and reporting procedures. The data collection was done through in-depth interview, documentary study and non-participatory observation. The developed model of the knowledge transmission process of agriculture wisdom holders was evaluated by the experts with focus group discussion method. The research findings were as follows: 1. In the study of the knowledge transmission process of agriculture wisdom holders, the researcher found that those wisdom holders are very experienced and expertise on agriculture. They had encountered many serious problems; but they finally overcome those problems with diligence. As being thinkers and practitioners, they could have stable income and also imparted the body of knowledge emphasizing on alternative agriculture to many people. The alternative agriculture refused the utilization of chemicals; but concerned for the environment by mainly using natural ways of fanning. In addition, they lived on the way of sufficient economic theory. Most trainees were farmers in trouble so that they needed both knowledge and practices to be successful in agriculture and to reduce expenses besides, the public sector agencies requested that those agriculture wisdom holders helped determine the policy and training for running business firmly. As a result, those trainees could have enough earnings and helped reduce the amount of toxic chemicals to the environment. 2. According to the six case-studies of the knowledge transmission process of agriculture wisdom holders, the transmission process consisted of 6 steps which were learning needs assessment, thinking transformation, curriculum development, knowledge and experience transmission, practice and visiting study and evaluation. Those agriculture wisdom holders had their own techniques of the knowledge transmission such as short training courses, demonstration, lecture, a tour of inspection, practice, discussion, informal learning, and the use of electronic media. For the knowledge transmission with a tour of inspection or practice, there were collaborations among the nearby network of the wisdom holders based on their specialty. Furthermore, the knowledge transmission was also involved with beliefs, local tradition, Buddhism doctrine, companionship, informal setting, self-evaluation, mutual respect, and cooperation.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิบูลย์ เข็มเฉลิมen_US
dc.subjectเสวก มาลาพงษ์en_US
dc.subjectคำเดื่อง ภาษีen_US
dc.subjectสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์en_US
dc.subjectเคียง คงแก้วen_US
dc.subjectชูศักดิ์ หาดพรหมen_US
dc.subjectเกษตรกรรม -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้านen_US
dc.subjectการแพร่กระจายนวัตกรรมen_US
dc.subjectการถ่ายทอดเทคโนโลยีen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectAgriculture -- Study and teachingen_US
dc.subjectLocal wisdomen_US
dc.subjectDiffusion of innovationsen_US
dc.subjectTechnology transferen_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการถ่ายทอดความรู้ในชนบทของครูภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมen_US
dc.title.alternativeDevelopment of the knowledge transmission process in rural areas of agriculture wisdom holdersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRatana.P@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorshspn@mahidol.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongtorn_po_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ855.22 kBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_ch1_p.pdfบทที่ 1835.14 kBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_ch2_p.pdfบทที่ 22.41 MBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_ch3_p.pdfบทที่ 3876.54 kBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_ch4_p.pdfบทที่ 43.54 MBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_ch5_p.pdfบทที่ 5884.01 kBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_ch6_p.pdfบทที่ 6987.92 kBAdobe PDFView/Open
Pongtorn_po_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก6.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.