Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65706
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นารัต เกษตรทัต | - |
dc.contributor.advisor | วรสิน เกตานนท์ | - |
dc.contributor.author | จริยา เจริญยิ่ง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-09T17:09:29Z | - |
dc.date.available | 2020-05-09T17:09:29Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.issn | 9741753519 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65706 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาถึงผลของการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินหลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมโดยเภสัชกร โดยเปรียบเทียบ 1) ผลสำเร็จทางคลินิกระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามดูแลโดยเภสัชกรและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามปกติโดยไม่มีเภสัชกรติดตามดูแล ตัวชี้วัดได้แก่ การควบคุมค่า INR การเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติและการเกิดภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด 2) ความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินและการดูแลปฏิบัติตนของผู้ป่วยขณะใช้ยานี้ 3) ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีต่อการให้บริการโดย เภสัชกร ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำนวน 243 คน ซึ่งมารับบริการที่คลินิกศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2546 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2547 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมจำนวน 121 คน ได้รับบริการจากโรงพยาบาลตามปกติ กลุ่มศึกษาจำนวน122 คน ได้รับบริการเพิ่มจากเภสัชกร ติดตามผลการรักษารวม 3 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มศึกษาจำนวนร้อยละ 54.9, 63.9 และ 78.7 กลุ่มควบคุมร้อยละ 51.2, 52.1 เละ 55.4 มีค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา (2.0-3.0)ในการติดตามผลครั้งที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ โดยกลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนผู้ป่วยที่มีค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พบภาวะเลือดออกผิดปกติในกลุ่มศึกษา 9, 8 และ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุม 8, 10 และ 3 ครั้งตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p>0.05) ภาวะเลือดออกผิดปกติชนิดรุนแรง ได้แก่ เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในปัสสาวะ พบในกลุ่มศึกษา 2 ครั้ง กลุ่มควบคุม 3 ครั้ง ภาวะเลือดออกที่ไม่รุนแรงที่พบในทั้งสองกลุ่ม เช่น จํ้าเลือดตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น พบภาวะลิ่มเลือดหลุดอุคหลอดเลือดในกลุ่มควบคุม 3, 3 และ 1 ครั้ง ตามลำดับ แต่ไม่พบว่าเกิดในกลุ่มศึกษา พบอาการที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด ในกลุ่มศึกษา 1, 3 และ 1 ครั้ง กลุ่มควบคุม 4, 4 และ 4 ครั้ง ตามลำดับแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบผลของการให้ความรู้และความร่วมมือในการใช้ยา พบว่ากลุ่มศึกษามีระดับความรู้เพิ่มขึ้นทุกหมวด และมีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้น โดยแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองประเด็น (p<0.05) ผู้ป่วยที่ได้รับบริการจากเภสัชกรมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี (4.39±0.34) เมื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.82±0.27) โดยร้อยละ 100.00 เห็นว่าการให้บริการโดยเภสัชกรสามารถช่วยทำให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และควรนำโครงการนี้มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษานี้แสคงว่าเภสัชกรสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลสำเร็จทางคลินิก สามารถควบคุมระดับการรักษาของยาวาร์ฟารินให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความรู้และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to determine the results of pharmacist's monitoring service in prosthetic heart valve patients treated with warfarin including comparison of 1) clinical outcome (INR, abnormal bleeding and thromboembolism) between the patients who received pharmacist's monitoring service and patients who received non - pharmacist' s service 2) knowledge of warfarin and patient self-management during warfarin treatment 3) patient compliance. Another objective was to study patients' satisfaction as well as professionals’ satisfaction on the pharmacist's service. The study was performed in 243 prosthetic heart valve patients at cardiovascular surgery clinic in Pramongkutklao Hospital during 1 June 2003 to 29 February 2004. They were divided into two groups, a control group with 121 patients who received non-pharmacist' s service and a study group with 122 patients who received pharmacist' s service. Both groups were followed up for 3 consecutive clinic visits. Data from first, second and third visit showed 54.9%, 63.9% and 78.7% of study group and 51.2%, 52.1 % and 55.4% of control group respectively having INR level within the therapeutic range (2.0-3.0). The mean percentage number of patients who had therapeutic range of INR of the study group was statistically significant higher than control group (p<0.05). Abnormal bleeding was found 9, 8 and 2 times in study group and 8,10 and 3 times in control group which were not statistically different (p>0.05) in both group. Major bleeding like gastrointestinal bleeding, hematuria were found 2 times in the study group and 3 times in control group. Minor bleeding like ecchymosis, gingival bleeding etc. were found in both groups. Thromboembolism were found in control group 3, 3 and 1 times respectively while none in study group. Signs and symptoms that may be prone of thromboembolism were found 1,3 and 1 times in the study group and 4, 4 and 4 times in control group respectively, however there was no statistically different (p>0.05). Comparison on the effect of patient-educating service and patient compliance showed the increasing of knowledge's level in all categories and more compliance in the study group (p<0.05). Patients who received pharmacist's service had high level of satisfaction (4.39.0.34). Professionals' satisfaction showed a very high level and 100.0% of them agreed that pharmacist' s service could help increasing the effectiveness of warfarin treatment and this service should be performed continually. The results suggest that pharmacist can help patients obtaining clinical outcome, controlling warfarin in therapeutic range and increasing patient’s knowledge and compliance. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า | en_US |
dc.subject | วาร์ฟาริน | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วย -- การดูแล | en_US |
dc.subject | ลิ้นหัวใจเทียม | en_US |
dc.subject | ลิ้นหัวใจ -- ศัลยกรรม | en_US |
dc.subject | Pramongkutklao Hospital | en_US |
dc.subject | Warfarin | en_US |
dc.subject | Care of the sick | en_US |
dc.subject | Heart valve prosthesis | en_US |
dc.subject | Heart valves -- Surgery | en_US |
dc.title | การติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินหลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า | en_US |
dc.title.alternative | Warfarin monitoring in patients with prosthetic heart valve at Pramongkutklao Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Narat.K@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jariya_ch_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 854.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jariya_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 774.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jariya_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jariya_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jariya_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Jariya_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 943.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Jariya_ch_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.