Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65832
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ | - |
dc.contributor.author | อัครภัทร เจริญพาณิชกิจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-18T03:00:38Z | - |
dc.date.available | 2020-05-18T03:00:38Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740310206 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65832 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาเทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับระบบสื่อสารที่มีเวลาประวิงสัมพัทธ์ยาว ซึ่งเป็นสภาวะที่ผู้ใช้บริการมีโอกาสในการเข้าจองช่องสัญญาณได้ เพียงหนึ่งครั้งต่อเฟรม โดยเทคนิคที่นำเสนอสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามความสามารถในการทำงานของระบบ ได้แก่ เทคนิคการจองช่องสัญญาณที่ไม่มีการกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่องสัญญาณและเทคนิคการจองที่สามารถกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่องสัญญาณให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้การประเมินสมรรถนะของเทคนิคที่พัฒนาขึ้นทั้งหมดจะอาศัยการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์เป็นหลัก สำหรับเนื้อหาในส่วนแรกกล่าวถึงเทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ Cascade Fixed Probability (CFP) และ Random Slot Selection (RSS) ที่ไม่มีการกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่องสัญญาณ เทคนิคการจองแบบ CFP นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวคิดจากระบบที่มีเวลาประวิงสัมพัทธ์ตํ่า ซึ่งการเข้าจองของผู้ใช้บริการในแต่ละเฟรมจะต้องพิจารณาช่องการจองทีละช่อง เรียงลำดับจากต้นเฟรมไปยังท้ายเฟรม และจากการทำงานในลักษณะนี้จึงทำให้ช่องสัญญาณจองต้นเฟรมมีโอกาสรองรับปริมาณโหลดสูงกว่าช่องสัญญาณจองท้ายเฟรม ส่งผลให้ระบบไม่สามารถใช้งานช่องสัญญาณจองทุกช่องได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นเพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าววิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอเทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ RSS ขึ้นสองวิธี คือ Uniform (UNI) และ Uniform + Limited Access (UNI + LA) ซึ่งจากผลการทดสอบสมรรถนะพบว่าวิธีการทั้งสองนี้สามารถกระจายการใช้งานช่องการจองให้ สมํ่าเสมอเท่าเทียมกันตลอดทุกช่อง และทำให้สมรรถนะโดยรวมของระบบสูงกว่าเทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ CFP สำหรับเนื้อหาในส่วนที่สอง เป็นการพัฒนาและประยุกต์เทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ RSS ให้สามารถรองรับระบบที่มีทราฟฟิกหรือรูปแบบการให้บริการมากกว่าหนึ่งประเภท เช่น ระบบสื่อสารมัลติมีเดีย ในระบบโครง ข่ายเหล่านี้ การกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่องสัญญาณที่แตกต่างกันจะเป็นประโยชน์สำหรับการรับประกันคุณภาพการบริการตามที่ผู้ใช้ บริการต้องการ โดยเทคนิคการกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่อง สัญญาณที่นำเสนอ แบ่งออกเป็น 4 วิธีคือเทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ Uniform + Divided Slot (UNI+DS) Uniform - Multiple Limited Access (UNI+MLA), Uniform + Divided Slot + Multiple Limited Access (UNI + DS-MLA) และ Partial Uniform + Multiple Limited Access (Partial UNI+MLA) เทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ UNI + DS มีกลไกการทำงานที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน หากแต่โดยทั่วไประบบมักจะไม่สามารถควบคุม ลำดับความสำคัญ ให้สอดคล้องกับความต้องการ ในขณะที่เทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ UNI+MLA และ UNI + DS + MLA และ Partial UNI + MLA นั้น ระบบจะสามารถควบคุมและกำหนดลำดับความสำคัญได้อย่างละเอียดตรงตามความต้องการได้เสมอ อย่างไรก็ดีการปรับค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของระบบจะมีความซับซ้อนกว่า สำหรับสมรรถนะเปรียบเทียบกันระหว่างเทคนิคทั้งสามนั้นขึ้นกับรูปแบบและความต้องการของระบบ อย่างไรก็ดีสมรรถนะของเทคนิคที่นำเสนอนั้นจะสูงกว่าเทคนิคที่นำเสนอในอดีตทั้งในแง่ของค่าวิสัยสามารถและการรับประกันคุณภาพของการให้บริการ | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis presents the development of new channel reservation techniques that offer high efficiency and are suitable for the relatively long delay systems in which each user has only one chance per frame to access the channel. The proposed techniques can be classified into 2 types, the reservation techniques without and with priority, according to the ability of the system. The performance of all proposed techniques are evaluated through mathematical analysis. In the first part, Cascade Fix Probability (CFP) and Random Slot Selection (RSS) without priority determination are introduced. The development of CFP is carried out with an assumption of the relatively short delay systems in which the reseivation of users in each frame must perform sequentially slot by slot. This results in the inability of the system to utilize all slots equally as the reservation at the beginning of frame are more likely to be loaded than the slot at the end of frame. In order to solve this limitation, this thesis also introduces the RSS, namely Uniform (UNI) and Uniform + Limited Access (UNI+LA). The numerical results show that this two schemes are able to consistently distribute the use of all slots and results in the higher system throughput than that of CFP. The second part extends RSS techniques to support the systems with multi-class traffics, for example, multimedia systems. In this kind of network, the settling of different priority is found to be advantageous in guaranteeing QoS. The proposed techniques are called Uniform + Divided Slot (UNI+DS), Uniform - Multiple Limited Access (UNI+MLA), Uniform + Divided Slot + Multiple Limited Access (UNI+DS+MLA) and Partial Uniform + Limited Access (Partial UNI+MLA). The mechanism of UNI + DS scheme is simple and uncomplex. Nevertheless, the system cannot control priority to meet the user's requirement in general. While, UNI + MLA, UNI+DS+MLA, and Partial UNI+MLA schemes are capable of controlling and defining priority to satisfy the QoS requirement. However, the parameter adjustment of these schemes are more complex. The performance of these three techniques are comparable depending on the system ccnfiguration and requirement. However, these techniques are better than the existing technique in both throughput and QoS guarantee. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ระบบโทรคมนาคม -- การควบคุมการเข้าถึง | en_US |
dc.subject | โปรโตคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง | en_US |
dc.title | การพัฒนาเทคนิคการจองช่องสัญญาณสำหรับโพรโทคอลควบคุมการเข้าถึงตัวกลางในระบบที่มีเวลาประวิงสัมพัทธ์ยาว | en_US |
dc.title.alternative | A development of channel reservation techniques for media access control protocol in relatively long delay systems | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมไฟฟ้า | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Lunchakorn.W@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Akkarapat_ch_front_p.pdf | 984.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch1_p.pdf | 715.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch2_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch3_p.pdf | 749.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch4_p.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch5_p.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch6_p.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_ch7_p.pdf | 738.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Akkarapat_ch_back_p.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.