Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66000
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ | - |
dc.contributor.advisor | ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | ประยูร บุญใช้ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-25T06:27:38Z | - |
dc.date.available | 2020-05-25T06:27:38Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740310613 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66000 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาของปักศึกษาในสถาบันราชภัฎ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาระหว่างนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกับนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ 4) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา 5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาระหว่างนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกับนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นที่สองเป็นการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนและ เอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการแก้ปัญหาโดยมีผู้สอนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้า เป็นขั้นให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้เห็นปัญหา ขั้นขยายความ เป็นขั้นระบุปัญหาให้ชัดเจนและดำเนิน การแก้ปัญหา และขั้นแสดงผลผลิต เป็นขั้นเสนอผลการคิดและความรู้ที่ได้จากการแก้ปัญหา ในขณะดำเนินกระบวนการเรียนการสอนผู้สอนจะให้การช่วยเหลือผู้เรียนใน้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้หลัก 3 ประการ คือ ช่วยผู้เรียนให้เกิดความตั้งใจและการตอบสนอง ตระหนักในคุณค่าของการเรียนรู้ และมีความสามารถเชื่อมโยง รวมตั้งประสบการณ์การเรียนรู้เสริม 7 ประการ คือ ช่วยผู้เรียนให้มีการกำกับตนเอง มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เชื่อมั่นในสมรรถนะ มีความเป็นปัจเจกบุคคล มีการวางแผน เกิดความรู้สึกท้าทาย และมีการปรับเปลี่ยนตนเอง 2. เมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางไปทดลองใช้พบว่า 2.1 นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางได้คะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ถุงกว่าร้อยละ 60 2.2 นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักศึกษาที่เรียนโดยใช้การสอบแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาตํ่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ตํ่ากว่าร้อยละ 70 2.4 นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสูงกว่านักศึกษาที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were ; 1) to develop an instructional model based on mediated learning experience approach for enhancing problem solving ability and course learning achievement of students in Rajabhat Institutes 2) to study the effects of using the instructional model on problem solving ability and course learning achievement and 3) to compare problem solving ability and course learning achievement of students between one group learning through the developed model and the other learning through the traditional instruction. The research procedures comprised of 2 steps. First, developing the instructional model and supplementary materials and second, testing the developed model. The results of this research were as follows : 1. The instructional model consisted of 5 elements : principles, objectives, contents, instructional processes, and evaluation. The instructional model specifically focused on student-centered learning. The students constructed the knowledge through problem solving process with the teacher’s mediation. The instructional processes involved 3 main steps : the input; information was gathered in order to solve a problem, the elaboration ; information was processed and the output ; the response was communicated. In the instructional processes, the teacher was a mediator using ten criteria of mediation namely 1) intentionally and reciprocity 2) meaning 3) transcendence 4) self-regulation 5) goal planning 6 ) sharing 7) individuation 8) competence 9) challenge and 10) self-change. 2. When the instructional model based on mediated learning experience approach was implemented with students in Rajabhat Institutes, the findings revealed that : 2.1 The average score of problem solving ability of the students learning through the developed model was higher than 60 percent which was the criterion score. 2.2 The problem solving ability of the students learning through the developed model was higher than those learning through the traditional instruction at the .01 level of significance. 2.3 The average score of course learning achievement of the students learning through the developed model was lower than 70 percent which was the criterion score. 2.4 The course learning achievement of the students learning through the developed model was higher than those learning through the traditional instruction, but not statistically significant. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ระบบการเรียนการสอน | en_US |
dc.subject | การแก้ปัญหา | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | ความคิดและการคิด | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้ (จิตวิทยา) | en_US |
dc.subject | Instructional systems | - |
dc.subject | Problem solving | - |
dc.subject | Academic achievement | - |
dc.subject | Thought and thinking | - |
dc.subject | Learning, Psychology of | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดประสบการณ์ การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ของนักศึกษาในสถาบันราชภัฏ | en_US |
dc.title.alternative | Development of instructional model based on mediated learning experience approach for enhancing problem solving ability and course learning achievement of students in Rajabhat Institutes | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pimpan.d@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | prasan@kbu.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayoon_bo_front_p.pdf | 827.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayoon_bo_ch1_p.pdf | 949.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayoon_bo_ch2_p.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayoon_bo_ch3_p.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayoon_bo_ch4_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayoon_bo_ch5_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prayoon_bo_back_p.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.