Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66037
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์-
dc.contributor.authorสุรสีห์ ส่งทานินทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-27T07:14:37Z-
dc.date.available2020-05-27T07:14:37Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741752377-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66037-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจัยทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านความรู้ ปัจจัยทางด้านเจตคติ ปัจจัยทางด้านการปฏิบัติ ปัจจัยทางด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ ปัจจัยทางด้านโรงเรียน ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ปัจจัยทางด้านสุขภาพ และปัจจัยทางด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6จำนวน 1,200 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 1,025 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85.42 ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความ สัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน รวมทั้งวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.84 ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมนันทนาการประเภทดูโทรทัศน์ ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นเกมคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต ออกกำลังกายนอกเหนือชั่วโมงเรียนพลศึกษา 1-2 วันต่อสัปดาห์ร้อยละ 60.87 และใช้เวลา 30 นาทีในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ร้อยละ 34.24 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ประกอบด้วย ความรู้ เจตคติ ครอบครัวและสภาพเศรษฐกิจ โรงเรียน จิตวิทยา สุขภาพ และสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยด้านเจตคติ ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 40.1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้ Z(พฤติกรรมการออกกำลังกาย) = .38Z(ปัจจัยด้านจิตวิทยา) + .16Z(ปัจจัยด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก) + .13Z(ปัจจัยด้านเจตคติต่อการออกกำลังกาย) +.11Z(ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ) +.07Z(ปัจจัยด้านสุขภาพ)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this investigation were to study the factors knowledge, attitude, education, family status, psychology, individual’s health, and access to exercising facility and relationships of different variables that affect exercise behavior of upper secondary school students. The questionnaires which sent to the students in Thailand (except Bangkok). Out of 1,200 questionnaires sent, 1025 were returned (85.42%). The data were analyzed in terms of percentages, standard deviation, correlation by using the Pearson's Product Moment Correlation and Stepwise multiple regression analysis. The results were as follows : 1. Majority of upper secondary school students (64.84%) spent leisure activities for recreation as to watch television, listen to music, read book and play internet or computer’s game. They exercised 1-2 days per week (60.87%) and averaged 30 minutes per session (34.24%) 2. Factors which were positively related to exercise behavior were knowledge, attitude, family status, school, psychology, individual’s health, and exercising facility (p<.01). 3. The significant variables that could predict to exercise behavior at the .01 were psychology, exercising facility, attitude, family status and individual’s health (40.10%), respectively by multiple regression procedure as follows : Z(exercise behavior) = .38Z(psychology) + .16Z(exercising facility) + .13Z(attitude) +.11Z(family status) +.07Z(individual’s health)-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการออกกำลังกายen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectExerciseen_US
dc.subjectHigh school studentsen_US
dc.subjectHealth behavioren_US
dc.titleการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeStudy of factors affecting exercise behaviors of upper secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasee_so_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ826.36 kBAdobe PDFView/Open
Surasee_so_ch1_p.pdfบทที่ 1946.41 kBAdobe PDFView/Open
Surasee_so_ch2_p.pdfบทที่ 21.72 MBAdobe PDFView/Open
Surasee_so_ch3_p.pdfบทที่ 3753.21 kBAdobe PDFView/Open
Surasee_so_ch4_p.pdfบทที่ 41.32 MBAdobe PDFView/Open
Surasee_so_ch5_p.pdfบทที่ 5789.14 kBAdobe PDFView/Open
Surasee_so_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.