Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต รัตนธรรมสกุล-
dc.contributor.authorทัศนะ ศิริเตียวศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-30T19:33:08Z-
dc.date.available2020-05-30T19:33:08Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9741764642-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66086-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์กระบวนการยูเอเอสมี-อีจีเอสมี สำหรับบำบัดน้ำเสียจากศูนย์การค้าที่มีปริมาณของแข็งแขวนลอยค่อนข้างสูง แบ่งการทดลองเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ศึกษาความเหมาะสมในการใช้ระบบยูเอเอลบีเป็นระบบบำบัดขั้นต้นในกระบวนการยูเอเอสบี-อีจีเอสบี โดยจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดชีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ของกระบวนการอีจีเอสบีกับกระบวนการยูเอเอสบี-อีจีเอสบีควบคุมให้ระบบยูเอเอสบีและระบบอีจีเอสบีมีความเร็วไหลขึ้น 0.8 และ 4 ม./ชม. คงที่ตลอดการทดลอง ช่วงที่ 2 ศึกษาผลของความเร็วไหลขึ้นในระบบอีจีเอสมีต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยูเอสมี-อีจีเอสมี โดยจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี บีโอดี ของแข็งแขวนลอย ของกระบวนการยูเอเอสบี- อีจีเอสบี ที่มีความเร็วไหลขึ้นใน ระบบอีจีเอสบีเป็น 4, 6 และ 8 ม./ชม. ควบคุมให้ระบบยูเอเอสบีมีความเร็วไหลขึ้น 0.8 ม./ซม. คงที่ตลอดการทดลอง น้ำเสียที่ใช้ในงานวิจัยเป็นน้ำเสียจริงจากกลุ่มอาคารศูนย์การค้ามาบุญครอง มีค่าซีโอดีอยู่ในช่วง 400-700 มก./ล. อัตราการป้อนน้ำเสียเข้าสู่กระบวนการเท่ากับ 46 ล./วัน คิดเป็นภาระบรรทุกสารอินทรีย์ในระบบยูเอเอสบีและระบบอีจีเอสบี เท่ากับ 5 และ 2 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ (คิดเป็นเวลากักน้ำเสียในระบบยูเอเอสบีและระบบอีจีเอสบี เท่ากับ 3 และ 2 ชม. ตามลำดับ) ผลการทดลองช่วงที่ 1 พบว่า กระบวนการยูเอเอสมี-อีจีเอสบี มีประสิทธิภาพในการกำจัดชีโอดี บีโอดี และของแข็งแขวนลอยสูงกว่ากระบวนการอีจีเอสบี กล่าวคือ ประสิทธิภาพการกำจัดชีโอดี มีโอดี และของแข็งแขวนลอยของกระบวนการยูเอเอสบี-อีจีเอสบี เท่ากับ 90.5, 90.7 และ 92.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าซีโอดี บีโอดี และของแข็ง แขวนลอยในน้ำทิ้ง เท่ากับ 53, 31 และ 17 มก./ล. ตามลำดับ ขณะที่ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี มีโอดี และของแข็งแขวนลอยของกระบวนการอีจีเอสบี เท่ากับ 78.5, 79.4 และ 65.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าซีโอดี บีโอดี และของแข็งแขวนลอยในน้ำทิ้ง เท่ากับ 119, 68 และ77มก./ล. ตามลำดับ ผลการทดลองช่วงที่ 2 พบว่า เมื่อเพิ่มความเร็วไหลขึ้นในระบบอีจีเอสบี ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีบีโอดี ของกระบวนการยูเอเอสบี - อีจีเอสบีจะเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยจะลดลง กล่าวคือ เมื่อความเร็วไหลขึ้นในระบบอีจีเอสบีเป็น 4, 6 และ 8 ม./ชม. กระบวนการยูเอเอสบี - อีจีเอสบี จะมีประสิทธิภาพการ กำจัดซีโอดี เท่ากับ 90.5, 91.6 และ 92.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าซีโอดีในน้ำทิ้ง เท่ากับ 53, 48 และ 45 มก./ล.ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี เท่ากับ 90.7, 91.8 และ 92.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าบีโอดีในน้ำทิ้งเท่ากับ 31, 27 และ 25 มก./ล. ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอย เท่ากับ 92.2, 91.4 และ 89.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ค่าของแข็งแขวนลอยในน้ำทิ้งเท่ากับ 17, 20 และ 24 มก./ล. ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThis research was done to know the feasibility to apply UASB-EGSB process for treatment of department store wastewater that had high SS. The research was divided into two experiments. The first experiment investigated the appropriateness of employing UASB as pre-treatment system in UASB-EGSB process. Efficiencies of EGSB system alone in terms of COD, BOD and SS removal was compared to those of UASB-EGSB process. The upflow velocity of UASB and EGSB system were kept at 0.8 and 4 m/hr, respectively. The second experiment was carried out to know the effect of variation of upflow velocity to 4, 6 and 8 m/hr in EGSB system on the performance of UASB-EGSB process in terms of COD, BOD and SS removal. The wastewater used in this research was wastewater from the MBK building having COD of 400-700 mg/l. The average feed flow rate for UASB-EGSB process was 46 l/day. The applied organic loading rate to the process were 5 and 2 kg.COD/m3-day for UASB and EGSB system, respectively. (HRTs for UASB and EGSB systems were 3 and 2 hours, respectively.) The results from the first experiment indicated that the efficiencies of UASB-EGSB process were higher than those of EGSB process in terms of COD, BOD and SS removal. The efficiencies of UASB-EGSB process for removal COD, BOD and SS were 90.5, 90.7 and 92.2 %, respectively. And the effluent had 53mg. COD/l, 31 mg.BOD/l and 17 mg.SS/l. The efficiencies of EGSB process for removal COD, BOD and SS were 78.5, 79.4 and 65.9 %, respectively. And the effluent had 119 mg.COD/l, 68 mg.BOD/l and 77 mg.SS/l. The results from the second experiment indicated that the increasing upflow velocity in EGSB system increase COD and BOD removal efficiencies. But decrease the SS removal efficiency. The upflow velocity of EGSB system at 4, 6 and 8 m/hr gave removal efficiencies in terms of COD to be 90.5, 91.6 and 92.2%, respectively; in terms of BOD to be 90.7, 91.8 and 92.5%, respectively; in terms of SS to be 92.2, 91.4 and 89.7%, respectively. The effluent COD were 53, 48 and 45 mg/l, respectively. The effluent BOD were 311 27 and 25 mg/l, respectively. The effluent SS were 17, 20 and 24 mg/l, respectively.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศูนย์การค้าen_US
dc.subjectน้ำเสียชุมชนen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจนen_US
dc.subjectน้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- วิธีทางชีวภาพen_US
dc.subjectShopping centersen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Anaerobic treatmenten_US
dc.subjectWater-Purification -- Biological treatmenten_US
dc.titleการประยุกต์กระบวนการยูเอเอสบี-อีจีเอสบี ในการบำบัดน้ำเสียจากศูนย์การค้าen_US
dc.title.alternativeApplication of UASB-EGSB process for department store wastewater treatmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChavalit.R@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thassana_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.16 MBAdobe PDFView/Open
Thassana_si_ch1_p.pdfบทที่ 1705.11 kBAdobe PDFView/Open
Thassana_si_ch2_p.pdfบทที่ 22.28 MBAdobe PDFView/Open
Thassana_si_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Thassana_si_ch4_p.pdfบทที่ 46.25 MBAdobe PDFView/Open
Thassana_si_ch5_p.pdfบทที่ 5692.94 kBAdobe PDFView/Open
Thassana_si_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.