Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66126
Title: ผู้นำศาสนาอิสลามกับขบวนการทางสังคม
Other Titles: Islamic leaders and social movements
Authors: สุไรนี สายนุ้ย
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Advisor's Email: Amara.P@chula.ac.th
Subjects: อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์, 2438-2497
ขบวนการสังคม--ไทย (ภาคใต้)
ผู้นำศาสนาอิสลาม--ไทย (ภาคใต้)
Muslim religious leaders--Thailand, Southern
Social movements--Thailand, Southern
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาชีวประวัติผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2 ท่านคือ หะยีสุหลง บินอับดุลกาเดร์ และดร.อิสมาอีสลุตฟี จะปะกียา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. เพื่อศึกษาชีวประวัติของผู้นำศาสนา และเพื่อทราบถึงบทบาทหน้าที่ วิถีชีวิต แนวคิดและอุดมการณ์ของผู้นำศาสนา 3. เพื่อศึกษาขบวนการทางสังคมของผู้นำศาสนา และแนวทางในการปฏิบัติการเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม ตลอดไปจนถึงการวิเคราะห์รูปแบบของของขบวนการทางสังคมและแนวคิดสันติภาพ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะการเป็นผู้นำศาสนาของบุคคลทั้งสองท่าน คือ การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว การเรียนรู้ศาสนา และแนวคิดในการฟื้นฟูอิสลาม ในแง่ของขบวนการทางสังคมผู้นำทั้งสองท่านใช้หลักการ “ญิฮาด” ในศาสนาอิสลาม เป็นพลังขับเคลื่อนโดยผ่านรูปแบบ “การดะวะห์” “ตับลีก” และ“การศึกษา” แบบบูรณาการระหว่างศาสนาและการศึกษาด้านสามัญ โดยทั้งหมด รวมเรียกว่า “ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลาม” นอกจากหลักการนี้แล้ว หะยีสุหลง บินอับดุลกาเดร์ ได้สร้างขบวนการอีกลักษณะหนึ่งควบคู่ไปด้วยคือ “ขบวนการทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มคนต่าง ๆ” (The Rights Movement) เพื่อเรียกร้องสิทธิทางการเมืองอันถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งขบวนการทางสังคมของหะยีสุหลงจึงมีลักษณะเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ในขณะที่การเคลื่อนไหวของดร.อิสมาอีลลุตฟีนั้นไม่ถือเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ รูปแบบและลักษณะของการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้นมิได้มีข้อบ่งชี้ว่าผู้นำศาสนาทั้ง 2 ท่านใช้ความรุนแรง ในทางตรงกันข้ามทั้งสองท่านสนับสนุนการใช้สันติภาพในการแก้ไขความขัดแย้งและใช้แนวคิดสันติภาพในการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยตลอด
Other Abstract: This thesis focuses on biographic studies of two Islamic leaders in southern Thailand, i.e. Haji Sulong bin Abdulqader and Dr. Ismaellutfi Japakeeya. The objectives are: 1. To study the history of the problem in southern Thailand. 2. To study the biographies of two religious leaders to understand their way of life, role and ideology. 3. To study the role of the two religious leaders in the social movements, the operation, the pattern of the social movements, the adoption of the concept. The research found that factors which encouraged the leadership of the two Islamic religious leaders are : socialization in the family, religious learning, and the practice of Islamization. In term of social movements, both religious leaders use religious concept of jihad, dakwah and tabliq. In addition, they also integrate religious and secular studies in the Islamization process. Haji Sulong bin Abdulqader, also adopted a parallel movement, the Rights Movement, calling for political rights which is the primary human rights. Thus, Haji Sulong's social movement is the “New Social Movement”. On the other hand, Dr. Ismaellutfi’s social movement is not the “New Social Movement”. The pattern and the characteristic of both social movements adopt nonviolence concept.
Description: วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66126
ISBN: 9741765371
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surainee_sa_front_p.pdf847.42 kBAdobe PDFView/Open
Surainee_sa_ch1_p.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Surainee_sa_ch2_p.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Surainee_sa_ch3_p.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Surainee_sa_ch4_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Surainee_sa_ch5_p.pdf782.8 kBAdobe PDFView/Open
Surainee_sa_back_p.pdf998.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.