Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66157
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.authorไพรวัลย์ โคตรตะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-01T17:30:40Z-
dc.date.available2020-06-01T17:30:40Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741759533-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66157-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลของการใช้โปรนกรมการจัดการกับอาการ ต่ออาการหายใจลำบากของพระภิกษุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ พ ระภิกษุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ อาอุ 35-59ปี ที่มารับการตรวจรักษาที่นผนกผู้ป่วยนอก อายุรกรรม โรงพยาบาลสงฆ์ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 40 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุมก่อนจนครบ 20ราย แล้ว จึงเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลองอีก 20 ราย โดยใหกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคลายคลึงกันในเรื่องระดับความรุนแรงของโรค และประเภทของยาที่ได้รับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยตนเองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดอาการหายใจลำบาก (Visual Analogue Scale) 2. เครื่องมือดำเนินการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยตนเองที่พัฒนามาจากแนวความคิดในการจัดการกับอาการของ Dodd et al (2001) ซึ่งประกอบด้วย 5 กั้นตอนดังนี้ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับอาการหายใจลำบาก 2) การให้ความรู้ในการจัดการกับอาการหายใจลำบาก 3) การพัฒนาทักษะในการจัดการกับอาการหายใจลำบาก 4) ผู้ป่วยปฏิบัติการในการจัดการกับอาการหายใจลำบากด้วยตนเองที่วัด และ 5) การประเมินผลในการจัดการกับอาการหายใจลำบาก โดยมีแผนการสอน และคู่มือการจัดการกับอาการหายใจ ลำบากด้วยตนเองเป็นสื่อที่ใช้ในโปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยตนเอง 3. เครื่องมือกำกับการทคลอง ได้แก่ ตารางการพัฒนาทักษะในการหายใจโดยการห่อปาก โปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยตนเองผ่านการตรวจความตรงตามเนี้อหา (content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน จากนั้นทำการศึกษานำร่อง (pilot study) เพื่อดูความเหมาะสมของโปรแกรมการจัดการกับอาการ โดยนำโปรแกรมการจัดการด้วยตนเองไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการหายใจลำบากของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยตนเองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (X _ก่อนการทดลอง = 58.0 , X_หลังการทดลอง = 34.8, t = 5.078, P < .05) 2. อาการหายใจลำบากภายหลังเข้าร่วมโครงการของกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X _กลุ่มทดลอง = 34.8, X_กลุ่มควบคุม = 54.05, t = 5.078, P < .05)-
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to tested the effect of the Self-Symptom Management Program on Dyspnea of buddhist monks with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). The samples were 40 monks with COPD at out patients department, the Prist hospital. The subjects were devided into a control group and an experimental group. The groups were matched in terms of severity and medication. A control group received routine nursing care, while an experimental group received the five weeks Self-Symptom Management Program together with routine nursing care. The program, based on the Symptom Management Model (Dodd et al, 2001), was comprised of five sessions : a) assessment patient’s symptom experience b) knowledge providing c)skill development d) self-symptom management practice at the temple and e) evaluation. Dyspnea Visual Analogue Scale (DVAS) was used to measure dyspnea perception. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests. The major findings were as follows: 1. At the end of the program, the experimental group reported significantly less dyspnea than they did before receving the intervention ((X _pre = 58.0 , X_post = 34.8, t = 5.078, P < .05) 2. The posttest mean score on dyspnea of the experimental group was significantly lower than that of the control group (X_expcrirocal= 34.8, t=2.696, X_ control = 54.05, t= 2.696, p< .05)-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปอดอุดกั้นen_US
dc.subjectปอด -- โรคen_US
dc.subjectการหายใจลำบากen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen_US
dc.subjectLungs -- Diseases, Obstructiveen_US
dc.subjectLungs -- Diseasesen_US
dc.subjectDyspneaen_US
dc.subjectSelf-care, Healthen_US
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมการจัดการกับอาการด้วยตนเอง ต่ออาการหายใจลำบากของพระภิกษุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeThe effect of using self-symptom management program on dyspnea of Buddhist monks with chronic obstructive pulmonary diseaseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paiwan_ko_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ919.33 kBAdobe PDFView/Open
Paiwan_ko_ch1_p.pdfบทที่ 11.25 MBAdobe PDFView/Open
Paiwan_ko_ch2_p.pdfบทที่ 23.51 MBAdobe PDFView/Open
Paiwan_ko_ch3_p.pdfบทที่ 31.65 MBAdobe PDFView/Open
Paiwan_ko_ch4_p.pdfบทที่ 4803.54 kBAdobe PDFView/Open
Paiwan_ko_ch5_p.pdfบทที่ 51.26 MBAdobe PDFView/Open
Paiwan_ko_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.