Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66161
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorเพ็ญภัคร พื้นผา, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-01T18:57:20Z-
dc.date.available2020-06-01T18:57:20Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9741763573-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66161-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ ประการแรก เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างสังกัด และภูมิภาค ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประการที่สาม เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ประการที่สี่ เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นที่ 2 ที่มาจากสังกัด และภูมิภาค ที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทุติยภูมิจากการวิจัยและประเมินผลร่วมกับนานาชาติครั้งที่ 3 วิจัยซํ้า (TIMSS - R) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 5,831 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 ตัวแปร ซึ่งเป็นตัวแปรชุดเดียวกันทั้งในระดับนักเรียน (within level) และระดับโรงเรียน (between level) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติชั้นสูงโดยการวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับ และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับกับการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างสังกัด และภูมิภาคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามลำดับ และนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใด้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ 2. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องให้ค่า X2 = 4.619, df = 2, p = .0975, RMSEA = .015, CFI = .997, TL1 = .973, SRMR ในระดับนักเรียน = .008, SRMR ในระดับโรงเรียน = .000 ตัวแปรด้นในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับนักเรียนได้ร้อยละ 3.4 และตัวแปรต้นในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนได้ร้อยละ 59.2 3. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาระหว่างสังกัด มีความแปรเปลี่ยนรูปแบบของโมเดล โดยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่สังกัดกรมสามัญศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโมเดลไม่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และโมเดลที่ดีที่สุดของ 3 สังกัด มีรูปแบบโมเดลเหมือนกัน 4. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาระหว่างภูมิภาค มีความแปรเปลี่ยนรูปแบบของโมเดล โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใด้โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่กรุงเทพมหานครและภาคกลางโมเดลไม่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และโมเดลที่ดีที่สุดของ 5 ภูมิภาคมีรูปแบบโมเดลเหมือนกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were 1) to compare the mathematics achievement between the districts and regions 2) to study factors causally related to and affecting mathematics achievement 3) to develop the multilevel-causal model validity and 4) to test the multilevel causal model invariance of schools deriving from different districts and regions. The obtained data come from the secondary source conduct by The Third International Mathematics and Science Study Repeat (TIMSS-R) and the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). The samples consisted of 5,831 8th grades students from academic year 1998. Five variables were employed for the study, which were the same series of variables at the within level and between level. The analyses use the approaches of descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, One Way Analysis of variance, multilevel causal model analysis and multi - group analysis as well as combination of multilevel causal model and multi-group analyses. The major findings were as follows: 1. Mathematics achievement between districts and regions had statistical significant difference at .01 level : students from schools under the supervision of the Office of Private Education commission receive higher score of mathematics achievement than those from schools under the supervision of the Department of General Education ‘s mathematics the Office of the National Primary Education Commission, respectively. Students in Bangkok receive higher score of students in northern, central, southern and northeastern region respectively. 2. The multilevel causal model of mathematics achievement of 8th grade students validly match the empirical data. The outcomes of quantitative study are : Chi - square = 4.619, df= 2 , p-value = .0975, RMSEA = .015, CFI = .997, TLI = .973, SRMR of within level = .008, SRMR of between level = .000 . The independent variables of within level can explain the variance of mathematics achievement at 3.4 percent and The independent variables of between level can explain the variance of mathematics achievement at 59.2 percent. The best model among schools under the supervision of the three organizations is in the same group. 3. The multilevel causal model between education at district had variance of model form. The multilevel causal model of mathematics achievement of the Office of Private Education commission was valid and fit to the empirical data. But The multilevel causal model of the Office of the National Primary Education Commission and The multilevel causal model of the Department of General Education were not valid and fit to the empirical data. 4. The multilevel causal model of mathematics achievement of 8th grade student among regions had variance of model from. The multilevel causal model of students in Bangkok and Central region were not in accordance with empirical data. However, The multilevel causal model of northern region, southern region and northeastern region match empirical data. The best model among regions is in the same category.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectการวิเคราะห์พหุระดับen_US
dc.subjectMathematics -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectMultilevel analysisen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2en_US
dc.title.alternativeA development of the multilevel causal model of mathematics achievement of mathayom suksa 2 studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.Ru@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpak_ph_front_P.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Penpak_ph_ch1_P.pdfบทที่ 11.23 MBAdobe PDFView/Open
Penpak_ph_ch2_P.pdfบทที่ 24.17 MBAdobe PDFView/Open
Penpak_ph_ch3_P.pdfบทที่ 31.22 MBAdobe PDFView/Open
Penpak_ph_ch4_P.pdfบทที่ 43.93 MBAdobe PDFView/Open
Penpak_ph_ch5_P.pdfบทที่ 51.65 MBAdobe PDFView/Open
Penpak_ph_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.