Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6619
Title: การศึกษาแบบการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ : รายงานการวิจัย
Other Titles: A study of learning styles of non-formal education undergraduate students, Faculty of Education Chulalongkorn University
Authors: อาชัญญา รัตนอุบล
Email: Archanya.R@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน -- นิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาแบบการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแบบการเรียนรู้ของแคนฟิล (Canfield) ในด้านเงื่อนไขการเรียนรู้ ด้านเนื้อหา ด้านวิธีการเรียนรู้ และด้านความคาดหวังของผู้เรียน และเพื่อเปรียบเทียบแบบการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านของนิสิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน จำแนกตามวิชาเอกที่เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ซึ่งดัดแปลงจาก Canfiled's Learning Styles Inventory ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นนิสิตตั้งแต่ปี 1-ปี 4 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนประจำปี ปีการศึกษา 2538 จำนวนทั้งหมด 76 คน จำแนกเป็นวิชาเอกต่าง ๆ 4 วิชาเอก คือ เทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา และภาษาอังกฤษ โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ สามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลได้จำนวน 72 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.74 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านเงื่อนไขนิสิตส่วนใหญ่ชอบแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับการมีสัมพันธภาพและรองลงมาได้แก่การมีสัมฤทธิ์ผล 2. ด้านเนื้อหา นิสิตส่วนใหญ่ชอบแบบการเรียนรู้เกี่ยงกับคนและรองลงมาเกี่ยวกับสัญลักษณ์ 3. ด้านวิธีการเรียนรู้ นิสิตส่วนใหญ่ชอบแบบการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการแสดงสัญลักษณ์ และรองลงมาเกี่ยวกับการได้รับประสบการณ์ตรง และ 4. ด้านความคาดหวังของผู้เรียนนิสิตส่วนใหญ่ขอบแบบการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับดีหรือระดับสูงกว่า คะแนนเฉลี่ย (B) และรองลงมาได้แก่ระดับพอใจ หรือระดับคะแนนเฉลี่ย (C) และระดับเยี่ยมหรือระดับสูงสุด (A) และยังพบว่านิสิตส่วนใหญ่ชอบแบบการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับไม่เป็นที่พอใจหรือระดับต่ำว่าคะแนนเฉลี่ย (D) น้อยมาก นอกจากนี้ยังพบว่านิสิตที่เรียนวิชาเอกแตกต่างกันใช้แบบการเรียนรู้ด้านเงื่อนไขเกี่ยวกับการมีสัมพันธภาพ การกำหนดโครงสร้างและการแข่งขัน ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข ภาษาและคน ด้านวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับการฟัง และการอ่าน ด้านความคาดหวังเกี่ยวกับการได้รับคะแนนระดับเยี่ยมหรือระดับสูงสุด (A) การได้รับคะแนนพอใจหรือระดับคะแนนเฉลี่ย (C) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตที่เรียนวิชาเอกแตกต่างกันใช้แบบการเรียนรู้ด้านเงื่อนไขเกี่ยวกับการมีสัมฤทธิ์ผล ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับสัญลักษณ์ ด้านวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับการแสดงสัญลักษณ์ และการได้รับประสบการณ์ตรงด้านความคาดหวังเกี่ยวกับการได้รับคะแนนระดับไม่เป็นที่พอใจหรือระดับต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย (D) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: A study of Learning Styles of Non-Formal Education Undergraduate Students, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The purposes of this study were to investigate learning styles of Non-Formal education undergraduate students, Faculty of Education, Chulalongkorn University according to Canfield's learning styles in four aspects of condition, content, mode of learning and expectation and to compare these four aspects of learning styles by students majors. The questionnaires adapting from Canfield's learning styles inventory were used to collect data from 76 Non-formal education students in the 1995 educational year of four majors: Technology, Computer, Psychology and English. The results were: The undergraduate students, mostly preferred learning styles of the condition aspect related to affiliation, and secondly was related to achievement. For the content aspect, students mostly preferred people dimensions, and secondly was related to inanimate. For the mode of learning aspect, students mostly preferred iconic, and secondly was related to direct experience. For the expectation aspect, students mostly preferred level of above average or good, and secondly was level of average or satisfactory and outstanding or superior. Mostly students least preferred level of below average or unsatisfactory. In addition, this study found no difference in learning styles among different students' in some aspects. Theses were condition aspect related to affiliation, structure and eminence, content aspect related to numeric, qualitative and people dimension, mode of learning related to listening and reading method and expectation aspect related to level of above average or good and level of average or satisfactory. The differences of learning styles of some aspects among different students' majors were found. There were the condition aspect related to achievement, content aspect related to inanimate, mode of learning related to iconic and expectation aspect related to the level of below average or unsatisfactory.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6619
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Archanya(Learning).pdf9.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.