Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66239
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจักษ์ อัศวานันท์-
dc.contributor.authorชุติพนธ์ ภักดีบุญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-09T02:27:34Z-
dc.date.available2020-06-09T02:27:34Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741704038-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66239-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractข้อมูลนํ้าท่าในพื้นที่ลุ่มนํ้า เป็นส่วนสำคัญสำหรับการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านกิจกรรมการใช้นํ้า และการเกิดนํ้าท่วม ซึ่งต้องมีวิธีการในการทำนายการเกิดนํ้าท่าจากข้อมูลฝนและลักษณะของลุ่มนํ้า โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมและสอดคล้องคับข้อมูลที่มีอยู่ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบจำลองสำหรับแสดงความสัมพันธ์ของน้ำฝน-น้ำท่าในลุ่มนี้าขนาดเล็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาแบบจำลองที่มีความเหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้งานกับพื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มนํ้ากรณีศึกษาคือลุ่ม นํ้าแม่ตื่นตอนบนมีพื้นที่ประมาณ 503 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ขั้นตอนการศึกษาได้แก่ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบแบบจำลอง และการประยุกต์ใช้งานแบบจำลองในการศึกษาได้แบ่งแบบจำลองที่จะทำการศึกษาเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นการศึกษาแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม HEC-HMS ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของนํ้าฝน-น้ำท่า โดยอาศัยฟังก์ชันของพารามิเตอร์และตัวแปรต่าง ๆ การประมาณค่าพารามิเตอร์จากลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำ ลักษณะที่สอง คือแบบจำลองแทงค์ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของน้ำฝน-น้ำท่าโดยการประมาณค่าพารามิเตอร์จากข้อมูลของน้ำท่า จากการศึกษาแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม HEC-HMS พบว่า แบบจำลองที่มีความเหมาะสมกับข้อมูลและขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำกรณีศึกษา เป็นแบบจำลองซึ่งเป็นการรวมพื้นที่เป็นหน่วยเดียว (Lump system) และใช้สถานีวัดปริมาณฝน 3 สถานีสำหรับคำนวณปริมาณฝนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งแบบจำลองที่จะนำมาประยุกต์ใช้งานนั้น ควรแบ่งข้อมูลเป็นฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยใช้การแบ่งช่วงเวลาการประมวลผลโปรแกรมเท่ากับ 3 ชั่วโมง และใช้กับชุดข้อมูลระยะเวลายาว ผลจากการประยุกต์ใช้งานแบบจำลองจะเหมาะสำหรับการวางแผนด้านการเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ด้านท้ายน้ำได้ ส่วนแบบจำลองแทงค์มีจุดเด่นในด้านการคำนวณอัตราการไหลสูงสุดและมีความ เหมาะสมกับข้อมูลระยะสั้น การใช้งานแบบจำลองควรแบ่งข้อมูลเป็นช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยใช้การแบ่งช่วงเวลาการประมวลผลโปรแกรมเท่ากับ 3 ชั่วโมง ซึ่งการประยุกต์ใช้งานจะมีความเหมาะสมกับกรณีการเกิดอัตราการ ไหลสูงสุดของน้ำท่าอย่างฉับพลัน สำหรับวางแผนการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ ซึ่งแบบจำลองทั้ง 2 ลักษณะนั้นมีความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการคาดการณ์น้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งผลการ ประยุกต์ใช้งานแบบจำลองเพี่อทำนายน้ำท่านั้นจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำต่อไป-
dc.description.abstractalternativeRainfall-runoff relationship in watershed is very important in area development planning , especially for water- use activities and flood analysis. Runoff forecasting requires appropriate method with available data and watershed characteristics. This study involves model representing mathematical relationship of rainfall-runoff in small watershed. The main objective is to seek appropriate model that is applicable to the study area. The upper part of Mae Tun watershed covering the area of approximately 503 sq. km. of Amphur Omkoi in ChiangMai Province is selected as a case study area. Procedure for conducting this study consists of collecting data, analyzing data, testing and verifying the model. Two different mathematical models are considered. The first one is the HEC-HMS model. It determines the relationship of rainfall-runoff by using functions of parameters and variables determined from physical characteristics of the watershed. The other is the Tank model. This model depends completely on the runoff data. From the HEC-HMS model, it is found that the lump system with rainfall data from 3 stations is appropriate model for the runoff calculations according to the given rainfall data and the size of watershed. Under different rainfall intensity, two sets of input data for dry and wet periods are selected. The HEC-HMS model gives good results for long time simulation. This suggests that the model may be used for agricultural planning in the study area. On the other hand, the Tank model gives better results of peak flow rate in the short time simulation. This implication suggests the use of Tank model in flood forecasting. In summary, these two rainfall-runoff model can lead to future land-use development of this study area.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุทกวิทยา -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectพยากรณ์น้ำen_US
dc.subjectพยากรณ์ฝนen_US
dc.subjectน้ำท่าen_US
dc.subjectHydrology -- Mathematical models-
dc.subjectWater forecasting-
dc.subjectRainfall probabilities-
dc.subjectRunoff-
dc.titleแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับแสดงความสัมพันธ์น้ำฝน-น้ำท่า ในลุ่มน้ำขนาดเล็กen_US
dc.title.alternativeMathematical model for rainfall-runoff relationship in a small watersheden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาการคณนาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutiphon_pu_front_p.pdf919.31 kBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch1_p.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch2_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch3_p.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch4_p.pdf899.94 kBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch5_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch6_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_ch7_p.pdf669.64 kBAdobe PDFView/Open
Chutiphon_pu_back_p.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.