Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66242
Title: พลวัตของระบบ : ผลของไซโลลดความชื้นข้าวเปลือกต่อการค้าข้าวของเกษตรกร
Other Titles: System dynamics : effect of paddy drying silo on farmers rice trading
Authors: พิลดา หวังพานิช
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: พลวัตของระบบ
ข้าว
ไซโล
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพลวัตของระบบจำลองพฤติกรรมการค้าข้าวเปลือกนาปรังของเกษตรกร อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เมื่อมีไซโลลดความชื้นข้าวเปลือก (Paddy Drying Silo) และศึกษาผลของไซโลลดความชื้นข้าวเปลือกต่อการค้าข้าวของเกษตรกร ข้อมูลที่ใช่ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจาก 2 แหล่งคือ แหล่งปฐมภูมิซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรหมู่ 12 ตำบลศีรษะกระบือ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 21 คน และบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน และแหล่งทุติยภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากสถิติข้อมูลซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รวบรวมไว้ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของระบบ หาความสัมพันธ์ทางโครงสร้างของระบบและสร้างแบบจำลองพลวัตของระบบลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรม Powersim Constructor Version 2.51 และวิเคราะห์พฤติกรรมของระบบโดยใช้กราฟความสัมพันธ์อธิบายพฤติกรรมการค้าข้าวของเกษตรกรเมื่อมีไซโลลดความชื้นข้าวเปลือกในช่วงเดือนมีนาคม 2542 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองพลวัตของระบบที่สร้างขึ้นใช้อธิบายพฤติกรรมการค้าข้าวของเกษตรกรเมื่อมีไซโลลดความชื้นข้าวเปลือกได้โดยสามารถประมาณการรายได้สุทธิจากการขายข้าวเปลือก เมื่อใช้บริการไซโลลดความชื้น กล่าวคือเกษตรกรที่ใช้บริการอบลดความชื้นข้าวเปลือกและเก็บในไซโลไม่เกิน 18 สัปดาห์และไม่เกิน 4 สัปดาห์ มีรายได้สุทธิมากกว่าเกษตรกรที่ขายข้าวเปลือกทันทีหลังการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรมีรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่เกิน 226.39 บาทต่อตัน และ 45.91 บาทต่อตันตามลำดับ และเกษตรกรที่ใช้บริการอบลดความชื้นข้าวเปลือกแล้วขายจะมีรายได้สุทธิตํ่ากว่าเกษตรกรที่ขายข้าวเปลือกทันทีหลังการเก็บเกี่ยว และพบว่าเมื่อค่าบริการอบลดความชื้นข้าวเปลือกเฉลี่ย 200 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกที่ใช้บริการไซโลลดความชื้นมีปริมาณเฉลี่ย 5.4355 ตัน ถึง 9.0068 ตันต่อสัปดาห์ จากการวิเคราะห์แบบจำลองพลวัตของระบบโดยการปรับค่าบริการอบลดความชื้นและราคาข้าวเปลือกนาปรัง 15% พบว่าค่าบริการอบลดความชื้นข้าวเปลือกไม่ควรเกิน 80 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นอัตราที่ทำให้รายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นมากพอที่จะจูงใจเกษตรกรใช้บริการไซโลลดความชื้นข้าวเปลือก และเกษตรกรที่สามารถเก็บข้าวเปลือกเพื่อรอราคาได้มากที่สุด 4 สัปดาห์ ควรใช้บริการอบลดความชื้นข้าวเปลือกแล้วเก็บในไซโลเมื่อราคาข้าวเปลือกนาปรัง 15% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% ส่วนเกษตรกรที่สามารถเก็บข้าวเปลือกเพื่อรอราคาได้มากที่สุด 18 สัปดาห์ ควรใช้บริการอบลดความชื้นข้าวเปลือกแล้วเก็บในไซโลเมื่อราคาข้าวเปลือกนาปรัง 15% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.5%
Other Abstract: The purposes of this study are to construct a system dynamics model on the behaviors of rice trade pertaining to farmers of Ongkharak District, Nakornnayok Province when the paddy drying silo is available and to study the effects of paddy drying silo on farmer’s rice paddy trade. The collection of information for this study derived from 2 sources consisted of 1) Primary Information : Interviews with 21 farmers and 20 concerned persons of Village No.12 1 Sisakrabue Sub-District, Ongkharak District, Nakornnayok Province, 2) Secondary Information : statistical information database collected by concerned public offices. The collection of information from said two sources was analyzed in findinging for factors affecting the system behaviors, structural correlation, and used for a construction of a dynamics system simulation by Powersim Construction Version 2.51 Software, which analyzed the system behaviors using correlation graphs to explain the behaviors of farmer rice trading when paddy drying silo is available during the period from March 1999 to February 2001. This study found that the construction of dynamics system model constructed was capable of explaining the behaviors of farmer rice trading, capable of giving a net estimated income on the sale of the rice paddy when the paddy drying silo service is provided. For an instance farmers using the paddy drying silo service with hold on or storage period of not excessive to 18 weeks and 4 weeks were with net income revenue more than farmers who sold their rice paddy immediately right after the harvest, by which the farmers were with increased average net income revenue of not exceeding Baht 226.39 and 45.91 per ton respectively. And it’s found that when the service free of paddy dryer is about Baht 200 per ton 1 the quantity of paddy undergoing the paddy drying silo ranged from 5.4355 - 9.0068 per tons per week. Through the analysis of the system dynamics model by adjusting the service fee on the paddy dryer and the price of 15% paddy. It was found that the service fee of paddy dryer service should not exceed Baht 80 per ton, which was the rate which can generate a sufficiently net income revenue to persuade farmers to use paddy drying silo service. And farmers who can hold on to the paddy for the best sale for maximum of 4 weeks should use the service of paddy drying silo until the price of 15% paddy increases at least 3% minimum. And farmers who can hold on to the paddy for the best sale for maximum of 18 weeks should use the service of paddy drying silo until the price of 15% paddy increases at least 1.5% minimum.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66242
ISBN: 9741308183
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pilada_wa_front_p.pdf868.72 kBAdobe PDFView/Open
Pilada_wa_ch1_p.pdf725.38 kBAdobe PDFView/Open
Pilada_wa_ch2_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Pilada_wa_ch3_p.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Pilada_wa_ch4_p.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Pilada_wa_ch5_p.pdf801.26 kBAdobe PDFView/Open
Pilada_wa_back_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.