Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66249
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกองกาญจน์ ตะเวทีกุล-
dc.contributor.authorปิยนุช รัตนานุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-09T07:04:41Z-
dc.date.available2020-06-09T07:04:41Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740315356-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66249-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเปรียบเทียบบทละครของเชคอฟเรื่อง The Three Sisters และ The Cherry Orchard กับบทละครของชอว์เรื่อง Major Barbara และ Heartbreak House ตามวัตถุประสงค 3 ประการ คือ เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลระหว่างวรรณกรรมข้ามชาติ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบจิตสำนึกทางสังคมของนักเขียนที่ปรากฎในบทละครและเพื่อวิเคราะห์บทละครโดยใช้ความรู้ทางสังคมศาสตร์สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวมาร์กซิสต์ จากการศึกษาพบว่า นักเขียนทั้งสองมีกลวิธีการนำเสนอคล้ายกันก่อนการรับอิทธิพลคือการสร้างตัวละครกลุ่มและการนำเสนอพฤติกรรมภายในของมนุษย์ กลวิธีที่ชอว์รับอิทธิพลจากเชคอฟ ได้แก่ การสร้างโครงเรื่อง การเสนอตัวละครเขลาที่ไม่รู้ปัญหาสังคม การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ และการใช้ภาษาสองนัย ในการประพันธ์เรื่อง Heartbreak House ซึ่งเป็นบทละคร ที่รับอิทธิพลจากเชคอฟ ชอว์ได้พัฒนากลวิธีเหล่านี้ของเชคอฟและยังคงใช้กลวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ของตน เขาเขียนบทละครเรื่องนี้ โดยแสดงตัวตนของผู้ประพันธ์ และนำเสนอน้ำเสียงของเรื่องที่สนุกสนาน ขบขัน ซึ่งต่างจากกลวิธีที่มีชื่อเสียงของเชคอฟ คือการนำเสนอแบบภววิสัยและใช้น้ำเสียงเศร้าหมอง หดหู่ จากการเปรียบเทียบจิตสำนึกทางสังคมของนักเขียนในบทละคร พบว่านักเขียนทั้งสองนำเสนอปัญหาสังคมในช่วงวิกฤตการณ์คล้ายกัน ทั้งความสัมพันธ์อันเหินห่างระหว่างสมาชิกในสังคม ความขัดแย้งในด้านวัฒนธรรมทางความคิด และความเสือมของประเทศ นอกจากนี้ บทละครยังสะท้อนให้เห็นข้อบกพร่องของคนในสังคมในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ ได้แก่ การขาดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก การรับรู้ปัญหาสังคมโดยขาดวิจารณญาณ การไม่ปรับปรุงสังคมโดยการปฏิบัติจริง และการเห็นแก่ประโยชนส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม นักเขียนทั้งสองได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมแก่ผู้อ่าน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมใน สังคม ได้แก่ วัตถุนิยม ค่านิยมด้านศีลธรรม ค่านิยมด้านการศึกษา การตัดสินคนในสังคมตามชนชั้น บทละครของเชคอฟเสนอให้เปลี่ยนแปลงค่านิยมหลายด้านกว่าบทละครของชอว์ โดยได้เสนอให้หาความหมายใหม่ของการทำงาน ความรัก และขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยมทั้งสามด้านจำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมรัสเซียในยุคสมัยใหม่ต่อไป ยิ่งกว่านั้นการศึกษาบทละครโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวมาร์กซิสต์ของโรเบิร์ต คอกซ์ยังทำให้เข้าใจความขัดแย้งในบทละครซึ่งสะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนในสังคมในยุคที่เกิดวิกฤตการณ์ ในบทละครของเชคอฟมีคู่ขัดแย้งหลักคือกลุ่มขุนนางและชนชั้นกลาง ในขณะที่ตัวละครอื่นซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มปัญญาชน คนหนุ่มสาว และชนชั้นล่างก็แสดงปฏิกิริยาเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะต้องการสถานภาพและบทบาททางสังคมที่พวกเขาพอใจ ในบทละครของชอว์พบความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มเสรีนิยม ซึ่งต่างมุ่งหวังที่จะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทนำในสังคมอังกฤษ-
dc.description.abstractalternativeThe comparative study of four major plays in this thesis—The Three Sisters and The Cherry Orchard by Chekhov and Major Barbara and Heartbreak House by Shaw—has three objectives: to explore the influence of literary works of one nation on those of another, to compare the two playwrights' forms of social consciousness presented in the plays and to analyze these works by using a Marxist theory. The study showed that before Shaw was influenced by Chekhov, both writers had had similar techniques of creating group characters and presenting internal human behaviors. Later, Shaw adopted Chekhov’s techniques of plot creation, portrayal of characters ignorant of social problems, symbolization and use of connotative language. In writing Heartbreak House, the play abounding in Chekhovian influence, Shaw improved on Chekhov's techniques while maintaining his own style of writing by presenting the authorial self and opting for a humorous tone. In this respect, Shaw differed from Chekhov who preferred an “objective" dramatic presentation and a melancholy tone. Regarding social consciousness, both playwrights expose similar social problems during times of crisis, namely estranged relationships among social members, ideological conflicts and their countries' decline. Moreover, their plays reflect the fellow citizens' shortcomings, which are ignorance of changes in the outside world, uncritical perceptions of social problems, lack of action to improve one’s society and concern for one’s own benefits rather than the common good. Both playwrights propose that the cures for these social ills lie in the rejection of flawed behavioral patterns and social values including materialism, hard and fast adherence to moral and educational values, judgment of people's worth by their class standings. Chekhov, however, looks at the desired change of social values in a more inclusive manner than Shaw. He suggests that new meanings should be given to work, love and tradition. These “new” values will be necessary for the stabilization of the modem Russian society. In addition, in studying these four plays, Robert Cox’s Political Economy theory can also help explain the conflicts between characters, which mirror the conflicts between different social groups during the period of social crisis. In Chekhov’s plays, the main conflict is that between the middle class and the gentry. The other characters who represent the intelligentsia, the youth and the lower class also react to the changing society to maintain or achieve the social status and roles they want. On the other hand, the conflict in Shaw’s plays shows the incongruity between the conservatives and the liberals. Both sides struggle to be the leading group in the British society.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชคอฟ, แอนตัน, ค.ศ. 1860-1904en_US
dc.subjectชอว์, จอร์จ เบอร์นาร์ด, ค.ศ. 1856-1950en_US
dc.subjectบทละคร -- ประวัติและวิจารณ์en_US
dc.subjectChekhov, Anton Pavlovich, 1860-1904-
dc.subjectShaw, George Bernard, 1856-1950-
dc.subjectDrama -- History and criticism-
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบบทละครสะท้อนสังคมของแอนตัน เชคอฟ กับ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ระหว่างปี ค.ศ. 1900-1920en_US
dc.title.alternativeComparative study of Anton Chekhov's and George Bernard Shaw's social plays, 1900-1920en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวรรณคดีเปรียบเทียบen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKongkarn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanoot_ra_front_p.pdf808.98 kBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_ra_ch1_p.pdf743.53 kBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_ra_ch2_p.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_ra_ch3_p.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_ra_ch4_p.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_ra_ch5_p.pdf751.71 kBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_ra_back_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.