Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66809
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา รู้กิจการพานิช-
dc.contributor.authorรุ่งทิพย์ สถิระพจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-03T02:22:54Z-
dc.date.available2020-07-03T02:22:54Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745326712-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66809-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548-
dc.description.abstractวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นและอาจก่อให้เกิดปัญหาในหลายด้าน ทั้งยังมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการขยายกิจการหรือเพิ่มผลผลิต งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นกับผลผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม และเพื่อให้ทราบแนวทางในการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เหมาะสมของแต่ละประเภทอุตสาหกรรม โดยทำการศึกษาและสำรวจข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างที่ผ่านการคัดเลือก 5 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสี อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมเหล็ก แล้วนำมาทำการหาอัตรา การเกิดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต่อผลผลิต พร้อมทั้งวิเคราะห์หารูปแบบความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ ซึ่งที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์พบว่าสามารถแบ่งความสัมพันธ์ต่าง ๆ ออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ (1) มีความสัมพันธ์กันตามสมการถดถอยและสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ได้ (2) มีความสัมพันธ์กันตามสมการถดถอยแต่นำไปใช้ในการพยากรณ์ไม่ได้ (3) ไม่มีความสัมพันธ์กันตามสมการถดถอย และ (4) หาความสัมพันธ์ไม่ได้ โดยแนวโน้มของความสัมพันธ์ส่วนมากได้ชี้ให้เห็นว่าปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมีการแปรผันตรงกับผลผลิต และจากการคาดการณ์ปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมทั้ง 5 ประเภท ผลปรากฎว่าอุตสาหกรรมเหล็กมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสูงสุด รองลงมา คือ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสี ตามลำดับ อย่างไรก็ตามหากมีการดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม ตามแนวทางซึ่งได้นำเสนอในงานวิจัยนี้ นอกจากอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสีที่คาดว่าอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการกับวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสูงกว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับอยู่ประมาณปีละ 46,711 บาทแล้ว อุตสาหกรรมที่เหลือคาดว่าจะมีผลประหยัดรวมเกิดขึ้นประมาณ 21.1 ล้านบาทต่อปี โดยแบ่งเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้ประมาณ 10.8 ล้านบาทต่อปี อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ประมาณ 5.7 ล้านบาทต่อปี อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางประมาณ 0.6 ล้านบาทต่อปี และอุตสาหกรรมเหล็กประมาณ 4.0 ล้านบาทต่อปี-
dc.description.abstractalternativeA numbers of industrial wastes are significantly increased, which may cause several problems including reflected to the decision making of manufactures in relation to increase their production or to expand their businesses. The purposes of this research are to identify the relationship between industrial wastes and productions of selected manufacturers, and to examine the existing management of industrial wastes. Major information has been collected from 5 selective plants: woods, furniture, rubber products, painting and steel factories. To study the relationships, regression and correlation analysis are properly applied here. At 95% of confidence, these relations could be categorized into four groups. First, correlated equation and forecast ability group. Second, correlated equation, but forecast inability group. Third group is uncorrelated equation. Last group, there are no relations between them at all. Furthermore, most of equations indicate that there are positive relations between industrial wastes and production. It is expected that the highest wastes would come from steel plant, following by furniture, woods, rubber products and painting, respectively. However, these manufactures may spend less than the saving amount by applying appropriate management approaches, which have been recommended in this paper. To demonstrate, expect painting plant that may have more expenses than saving amount around 46,711฿, the rest of them may save more than 21 million baht/year computed of 10.8 million baht/year from woods, 5.7 million baht/year from furniture, 0.6 million baht/year from rubber products and around 4.0 million baht/year from steel factory.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการจัดการอุตสาหกรรม -- ไทย-
dc.subjectของเสียจากโรงงาน -- การจัดการ-
dc.subjectIndustrial management -- Thailand-
dc.subjectFactory and trade waste -- Management-
dc.titleการศึกษาการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสำหรับอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ-
dc.title.alternativeStudy of industrial wastes management for any industry-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorJittra.R@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungtip_sa_front_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch1_p.pdf839.17 kBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch2_p.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch3_p.pdf831.61 kBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch4_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch5_p.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch6_p.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch7_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_ch8_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_sa_back_p.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.