Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66839
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา บวรกิติวงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | อาชัญญา รัตนอุบล | - |
dc.contributor.author | สามารถ กมขุนทด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-03T07:02:45Z | - |
dc.date.available | 2020-07-03T07:02:45Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741734433 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66839 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องแนวทางOperations researchการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาผู้เรียนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ (2) ศึกษาบริบทที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำให้เกิดความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาให้เกิดความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาผู้เรียนของผู้ปกครองและชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยเข้าไปทำงานร่วมกับครู ผู้ปกครองและชุมชนในฐานะครูคนหนึ่งและใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากนั้นจึงใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกระตุ้นและส่งเสริมให้ทุกฝ่ายเกิดความตระหนักและเข้ามาร่วมมือกันหาแนววทางพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปกครองและชุมชนให้การ ยอมรับและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในทุก ๆ ด้านแต่ในทางปฏิบัติโรงเรียนยังมีการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาผู้เรียนไม่มากนัก โดยผู้ปกครองและชุมชนเป็นฝ่ายรอคอยตอบสนองการร้องขอจากทางโรงเรียน 2. บริบทที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อการพัฒนา ผู้เรียน (1) บริบทที่เอื้อประกอบด้วย ผู้บริหารและครูมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน ผู้ บริหารและครูมีความตั้งใจและทุ่มเทในการทำงานและผลงานทางวิชาการของโรงเรียนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ผู้ปกครรองและชุมชนให้การยอมรับและมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับโรงเรียนและพร้อมที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาผู้เรียน ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการศึกษา ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้เป็นจำนวนมาก รวมถึงสภาพความพร้อมด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมของชุมชน (2) บริบทที่เป็นอุปสรรคประกอบด้วย ผู้บริหารและครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อพัฒนาผู้เรียน ผู้บริหารและครูไม่มีเวลาเนื่องจากมีภาระงานมาก ผู้ปกครองและชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจรวมทั้งขาดโอกาสในการเข้ามาแสดงบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนและการสนับสนุนที่ไม่ทันท่วงทีของหน่วยงานในชุมชน 3.การศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียนพบ ว่าผู้บริหารมีบทบาทสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน แนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนควรเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้ผู้บริหารเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน หลังจากนั้นจึงให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วน ของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียนแก่ผู้บริหารและครูแล้วขยายเครือข่ายลงสู่คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองในระดับชั้นเรียนและในระดับชุมชนจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่ยั่งยืนได้ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study were : (1) to study the characteristic of parent and community partnership for developing learners of Bandchuad Anusorn School (2) to study favorable and unfavorable conditions for establishment of parent and community partnership for developing learners of Bandchuad Anusoen School and (3) to prepare guidelines for development of parent and community partnership for developing learners of students of Bandchuad Anusorn School. The researcher has used the qualitative techniques to collect data and, then applied the process of participatory action research to urge all related parties to realize the problem and to jointly provide guidelines for such partnership development. According to the study, it is found that: 1.Parents and the community have their positive attitudes towards cooperation with the school and being prepared for their partnership therein; however, they lacked the knowledge and opportunities to get invocated in the working process. Parents and the community are just waiting for requests from the school. 2.About favorable conditions, with regards to the school, it is found that the school administrator had his vision and leadership and was generally accepted by all concerns. Positive thinking of the schoolteachers and administrator brought the mutual trust. With regards to the parents’ cooperation and community, they were prepared and had positive attitudes towards co- working with the school and they have accepted the schoolteachers. About unfavorable Conditions, with regards to the school status, it is found that the schoolteachers and administrators were inexperienced in developing the partnership for developing learners and was overloaded with work burdens. Moreover, the school also lacked teachers to coordinate with parents and the community in particular. With regards to the parents and community. it is found that they dared not to express their educational points of view and had some problems relating to limitations of time and knowledge on their educational roles. The community’s committee neither played its initiative role nor gave proper recommendations. 3.The guidelines for partnership development should begin by encouraging the school administrators to have positive attitudes towards parents and the community, and by providing them the guidelines for sustainable partnership development. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและครู | - |
dc.subject | ชุมชนกับโรงเรียน | - |
dc.subject | บ้านกับโรงเรียน | - |
dc.subject | วิจัยปฏิบัติการ | - |
dc.subject | Parent-teacher relationships | - |
dc.subject | Community and school | - |
dc.subject | Home and school | - |
dc.subject | Operations research | - |
dc.title | แนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ | - |
dc.title.alternative | Guidelines for development of parent and community partnership for developing learners using participatory action research : a case study of Bangchuad Anusorn School | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Suchada.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Archanya.R@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samart_ko_front_p.pdf | 977.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_ch1_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_ch2_p.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_ch3_p.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_ch4_p.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_ch5_p.pdf | 6.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_ch6_p.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samart_ko_back_p.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.